พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และตั๋วสัญญาใช้เงิน การผิดสัญญาและดอกเบี้ยทบต้น
++ เรื่อง ยืม ค้ำประกัน จำนอง ตั๋วเงิน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องมีเจ้าหนี้และลูกหนี้ทั้งสองฝ่าย ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่ขัดแย้งกับหลักการดังกล่าวไม่สมบูรณ์
สัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 เป็นสัญญาซึ่งบุคคล2 คน ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างบุคคลทั้งสองนั้นตามบัญชีหนี้ที่ได้จัดทำขึ้น บุคคลทั้งสองดังกล่าวต่างฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกันหากฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้น มิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัด เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวหาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่ การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชี ก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยให้การว่า โจทก์อาจจะได้ใช้เล่ห์ฉ้อฉลแสดงตัวเลขจำนวนเงินเกินความเป็นจริงอย่างมากมายจนอาจถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นผู้หลงเชื่อเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างร้ายแรง อาจเป็นไปได้หรือไม่ที่จำเลยได้ตกเป็นเหยื่อรายหนึ่งของพนักงานธนาคารผู้ทุจริต จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้น มิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัด เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวหาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่ การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชี ก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยให้การว่า โจทก์อาจจะได้ใช้เล่ห์ฉ้อฉลแสดงตัวเลขจำนวนเงินเกินความเป็นจริงอย่างมากมายจนอาจถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นผู้หลงเชื่อเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างร้ายแรง อาจเป็นไปได้หรือไม่ที่จำเลยได้ตกเป็นเหยื่อรายหนึ่งของพนักงานธนาคารผู้ทุจริต จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิตไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นมิชอบ
สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 เป็นสัญญาซึ่งบุคคล 2 คน ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างบุคคลทั้งสองนั้นตามบัญชีหนี้ที่ได้จัดทำขึ้น บุคคลทั้งสองดังกล่าวต่างฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน หากฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้ โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้นมิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัดเพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียว หาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการและมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้ โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้นมิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัดเพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียว หาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการและมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิตไม่ใช่สัญญาเดินสะพัด โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 เป็นสัญญาซึ่งบุคคล 2 คน ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างบุคคลทั้งสองนั้นตามบัญชีหนี้ที่ได้จัดทำขึ้น บุคคลทั้งสองดังกล่าวต่างฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน หากฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้น มิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัด เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวหาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่ การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยแม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจังและตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชี ก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยให้การว่า โจทก์อาจจะได้ใช้เล่ห์ฉ้อฉลแสดงตัวเลขจำนวนเงินเกินความเป็นจริงอย่างมากมายจนอาจถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นผู้หลงเชื่อเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างร้ายแรงอาจเป็นไปได้หรือไม่ที่จำเลยได้ตกเป็นเหยื่อรายหนึ่งของพนักงานธนาคารผู้ทุจริต จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าวเท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้น มิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัด เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวหาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่ การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยแม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจังและตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชี ก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยให้การว่า โจทก์อาจจะได้ใช้เล่ห์ฉ้อฉลแสดงตัวเลขจำนวนเงินเกินความเป็นจริงอย่างมากมายจนอาจถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นผู้หลงเชื่อเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างร้ายแรงอาจเป็นไปได้หรือไม่ที่จำเลยได้ตกเป็นเหยื่อรายหนึ่งของพนักงานธนาคารผู้ทุจริต จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าวเท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: ข้อตกลงเกินวงเงินจำนองเป็นโมฆะ, ดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีค้า
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินประกันหนี้ ของจำเลยที่ 1 โดยกำหนดวงเงินไว้ 710,000 บาท 1,120,000 บาท และ 870,000 บาท ตามลำดับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมีความรับผิดชอบตามสัญญาจำนองในต้นเงินดังกล่าว ส่วนข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่กำหนดว่าจำนวนเงินต้น ตามสัญญาไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองจะบังคับจำนองสำหรับต้นเงิน ที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์ รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้นั้น เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะ ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตาม สัญญาจำนองไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอนหรือไม่มีจำนวนขั้นสูงสุดทีได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนองจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เฉพาะกรณีดอกเบี้ยหรือ หนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินเท่านั้น สัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้นับแต่ วันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาจำนอง ตั้งแต่เมื่อใด คงได้ความตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และ ไถ่ถอนจำนองว่า ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2539 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 4,441,139.09 บาท ซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ไว้ โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีทบต้นตั้งแต่วันดังกล่าวในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีจนถึงวันที่สิ้นสุดคำบอกกล่าวและหักทอนบัญชีได้ หลังจากนั้นต้องคิดดอกเบี้ยอัตราเดิมแบบไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต่ออายุ โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นเกินสิทธิ
ข้อความในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า เมื่อถึงกำหนด12 เดือน คือ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 และไม่มี การต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือกำหนดเวลา กันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงให้มีการต่อสัญญานี้ต่อไปอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปนั้น หมายความเพียงว่าหลังจากครบกำหนดในสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญาเป็นหนังสือจึงจะเป็น การตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน วันครบกำหนดชำระหนี้คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533แต่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือนดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่13 พฤศจิกายน 2533 ยังไม่ครบ 1 เดือน โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยได้แบบไม่ทบต้น เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 โจทก์ชอบที่จะหักเงินจาก บัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้ให้โจทก์ ทั้งตามรายการบัญชีไม่ปรากฏรายการวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 คงปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์1,100,010.68 บาท ดังนั้น ยอกเงินดังกล่าวจึงเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น อัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ไปจนกว่าจำเลยที่ 1จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงินจากบัญชีเงินฝากประจำ ของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระ โดยหักออกชดใช้ เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อนที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้ง ที่มีการนำเงินเข้าบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้น, เจตนาของคู่สัญญา, และการเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้อง
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลย ที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็น หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยาย ในคำฟ้อง ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่า หากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ให้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญา บัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535 แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้งดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่ หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็ มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และ จำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์ จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชี กันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกิน 15%, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 21ต่อปี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อสัญญากู้เงินได้มีการตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 และยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 1 ปีทบเข้ากับต้นเงินและให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงในสัญญากู้เงินต่อไปด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงในสัญญาและคิดดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 1 ปี ทบต้นได้ต่อไปจนกว่าจะชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้นการที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นดอกเบี้ยที่ทบนั้นจึงกลายเป็นเงินต้นไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ, สิทธิในการคิดดอกเบี้ยทบต้น, และค่าเบี้ยประกันตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับ มิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป