พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ แม้ไม่คัดลอกคำพิพากษาทั้งหมด การปรับดอกเบี้ยและค่าเบี้ยประกันภัยตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับมิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้ คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ย ในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสำคัญที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่า จำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้า กับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลง ดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดิ่งที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ทราบ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิก
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ให้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยยินยอมให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ จำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้และให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการคิดดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ แต่ข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อน เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละเท่าใดแล้วจึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี ตามข้อสัญญาเดิม โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยการประกาศหนังสือพิมพ์ระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่พร้อมดอกเบี้ยให้นำมาชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2535ซึ่งโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 16ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดที่โจทก์ทวงถาม สัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6457/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นฝ่าฝืนกฎหมาย, อายุความจำนอง, สิทธิบังคับจำนอง
ตามคำขอกู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โจทก์ได้ระบุวัตถุประสงค์จะขอกู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากจำเลยจำนวน 984,000 บาท โดยขอนำที่ดินจำนองเป็นประกัน กำหนดชำระคืนภายใน 120 เดือน เดือนละ 16,400 บาทซึ่งต่อมาก็มีการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลย โดยโจทก์จำนองที่ดิน เป็นประกันจึงเป็นเรื่องสัญญากู้ยืมเงินธรรมดา แม้ตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระบุข้อความว่า ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ยอมส่งเงินดอกเบี้ยทุก ๆ เดือนเสมอไป ถ้าผิดนัดชำระดอกเบี้ยยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างทบเข้าในบัญชีของผู้จำนองด้วย ก็เห็นได้ว่า โจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบหนี้ในทางบัญชีเดินสะพัดได้ ส่วนบัญชีที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทำบัญชีเพื่อประสงค์จะทราบว่าโจทก์กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด หาใช่บัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัดไม่ เมื่อบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความว่า ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจึงจะนำมาทบเข้ากับต้นเงิน แล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น กรณีต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงิน ข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายข้างต้นตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
หนี้กู้ยืมที่สัญญาจำนองประกันอยู่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 แต่กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
หนี้กู้ยืมที่สัญญาจำนองประกันอยู่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 แต่กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7908/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและข้อตกลงทบยอดเงินต้นดอกเบี้ยค้างชำระ
การบอกกล่าวบังคับจำนอง กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างไร การที่นาย ว.บอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับแต่ส่งไม่ได้ เนื่องจากหาที่อยู่จำเลยไม่พบ จึงได้ประกาศแจ้งบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทราบ แม้การที่โจทก์มอบอำนาจให้นาย ว.บอกกล่าวบังคับจำนองมิได้ทำเป็นหนังสือ แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองของนาย ว.ได้กระทำในนามโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาง บ. ดำเนินคดีกับจำเลยถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบัน การบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยทราบตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อตกลงที่จำเลยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน1 ปี มาทบกับยอดเงินกู้เป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้ว ดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นเงินต้น ไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ข้อตกลงที่จำเลยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน1 ปี มาทบกับยอดเงินกู้เป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้ว ดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นเงินต้น ไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาขายลดเช็ค: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องและขอบเขตการฟ้องร้อง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงที่ธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าเป็นเพียงให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ตกลงอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดเท่านั้นส่วนจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าธนาคารโจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นโดยจำเลยที่1ไม่รู้เห็นยินยอม การรับสภาพหนี้เป็นเพียงการยอมรับสภาพความรับผิดในมูลหนี้เดิมหาได้เป็นเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่ โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายแม้จำเลยที่1จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฎจากคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาในช่วงเวลาบางตอนจำเลยที่1ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้จำเลยที่1จึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกร้องจำนวนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมาโดยคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญาทั้งจำเลยที่1เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากหลายครั้งมีผลให้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นจากยอดหนี้คงเหลือแต่ละคราวเปลี่ยนแปลงไปกรณีเช่นนี้ต่างไม่มีหน้าที่จะคำนวณยอดหนี้ที่ถูกต้องให้โจทก์ใหม่ต่างจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ส่วนนี้เสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีส่วนนี้มายื่นฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสูงกว่าที่ตกลง, การรับสภาพหนี้ไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ, ศาลฎีกายืนตามพิพากษา
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงที่ธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าเป็นเพียงให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ตกลงอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดเท่านั้น ส่วนจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ในอัตราเท่าใด ต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า ธนาคารโจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นโดยจำเลยที่ 1 ไม่รู้เห็นยินยอม การรับสภาพหนี้เป็นเพียงการยอมรับสภาพความรับผิดในมูลหนี้เดิมหาได้เป็นเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่ โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องว่า คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญา ข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฎจากคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาในช่วงเวลาบางตอน จำเลยที่ 1 ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้ เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยที่ 1 จึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกร้องจำนวนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมาโดยคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญา ทั้งจำเลยที่ 1 เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากหลายครั้ง มีผลให้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นจากยอดหนี้คงเหลือแต่ละคราวเปลี่ยนแปลงไป กรณีเช่นนี้ต่างไม่มีหน้าที่จะคำนวณยอดหนี้ที่ถูกต้องให้โจทก์ใหม่ ต่างจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ส่วนนี้เสีย โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีส่วนนี้มายื่นฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การรับสภาพหนี้, เช็ค, ประเด็นข้อต่อสู้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงที่ธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าเป็นเพียงให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ตกลงอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดเท่านั้นส่วนจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าธนาคารโจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นโดยจำเลยที่1ไม่รู้เห็นยินยอม การรับสภาพหนี้เป็นเพียงการยอมรับสภาพความรับผิดในมูลหนี้เดิมหาได้เป็นเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่ โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายแม้จำเลยที่1จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฎจากคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาในช่วงเวลาบางตอนจำเลยที่1ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้จำเลยที่1จึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกร้องจำนวนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมาโดยคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญาทั้งจำเลยที่1เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากหลายครั้งมีผลให้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นจากยอดหนี้คงเหลือแต่ละคราวเปลี่ยนแปลงไปกรณีเช่นนี้ต่างไม่มีหน้าที่จะคำนวณยอดหนี้ที่ถูกต้องให้โจทก์ใหม่ต่างจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ส่วนนี้เสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีส่วนนี้มายื่นฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ธนาคารมีสิทธิปรับดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. โดยไม่ต้องขอความยินยอมผู้กู้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดีหรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่างๆก็ดีผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อนแต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วนตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อนแม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ12.5ต่อปีโจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ12.5ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แม้มีข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยเดิม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า หากตามประเพณีการค้า ซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอนำาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควร ตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วน ตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อน แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12.5 ต่อปี โจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ 12.5 ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและหลักประกันทางสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังครบกำหนดสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันโดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้นไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3 นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกันแสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น