คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 655

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทบดอกเบี้ยเข้าต้นเงิน: ความถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655
โจทก์ จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยยอมตกลงไว้ในสัญญากู้ด้วยว่ายอมให้ทบจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระครบหนึ่งปีเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากัน ข้อตกลงดังกล่าวสมบูรณ์หาเป็นโมฆะไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้: การเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อยอดหนี้ถึงวงเงินจำนอง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน400,000 บาทในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนองต่อดอกเบี้ยทบต้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน 400,000 บาท ในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายหลักทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด, และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในศาลฎีกา
กรณีที่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ2 ปี ต้องเป็นกรณีที่พ่อค้าผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้เป็นช่างฝีมือหรือบุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรม ฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของทำของ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นอันเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ส่งมอบของหรือผลงานให้ลูกหนี้แล้วเรียกร้องเอาค่าสิ่งของหรือราคาของผลงานที่ได้ส่งมอบ
โจทก์จำเลยตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดและมอบให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์แทนเป็นเรื่องที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของจำเลยโดยได้ค่าธรรมเนียมตอบแทนหาได้มีการส่งมอบสิ่งของหรือผลงานให้จำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นได้ ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา655 วรรค 2 เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่า โจทก์ จำเลยได้ตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ โดยไม่ต้องนำสืบถึงประเพณีการค้าดังกล่าวอีก
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายหลักทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้า, และข้อห้ามฎีกาเรื่องใหม่
กรณีที่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 165 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ต้องเป็นกรณีที่พ่อค้า ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้เป็นช่างฝีมือ หรือบุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรม ฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ ทำของ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นอันเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ส่งมอบของหรือผลงานให้ลูกหนี้แล้วเรียกร้องเอาค่าสิ่งของหรือราคาของผลงานที่ได้ส่งมอบ
โจทก์จำเลยตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดและมอบให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์แทนเป็นเรื่องที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของจำเลยโดยได้ค่าธรรมเนียมตอบแทน หาได้มีการส่งมอบสิ่งของหรือผลงานให้จำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1)
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นได้ ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรค 2 เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่า โจทก์ จำเลย ได้ตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ โดยไม่ต้องนำสืบถึงประเพณีการค้าดังกล่าวอีก
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายหลักทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้น, และข้อจำกัดการยกข้อต่อสู้ใหม่ในศาลฎีกา
กรณีที่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา165(1)ซึ่งมีอายุความ2ปีต้องเป็นกรณีที่พ่อค้าผู้ประกอบหัตถกรรมผู้เป็นช่างฝีมือหรือบุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรมฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของทำของหรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นอันเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ส่งมอบของหรือผลงานให้ลูกหนี้แล้วเรียกร้องเอาค่าสิ่งของหรือราคาของผลงานที่ได้ส่งมอบ โจทก์จำเลยตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดและมอบให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์แทนเป็นเรื่องที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของจำเลยโดยได้ค่าธรรมเนียมตอบแทนหาได้มีการส่งมอบสิ่งของหรือผลงานให้จำเลยแต่อย่างใดกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นได้ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา655วรรค2เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในกรณีนี้ได้โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้โดยไม่ต้องนำสืบถึงประเพณีการค้าดังกล่าวอีก ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้สูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยเป็น 15% ต่อปี
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ในจำนวนเงินที่เป็นหนี้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี โดยจะชำระดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ทุกๆ 3 เดือน นับแต่วันทำหนังสือสัญญานี้เป็นต้นไป สำหรับต้นเงินกู้นั้นจะผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์เป็นงวดๆ โดยชำระ 3 เดือนต่อครั้ง ตามตารางชำระเงินต้นแนบท้ายสัญญากู้ หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าว ผู้กู้ย่อมเสียเบี้ยปรับให้แก่ธนาคารโจทก์อีกในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ในจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่คงค้างทั้งหมดนับแต่วันละเมิดสัญญาจนกว่าจะชำระเงินเสร็จสิ้น ดังนี้เห็นได้ว่าสัญญากู้รายนี้ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 9 ต่อปีอยู่แล้ว การที่ได้กำหนดเบี้ยปรับในกรณีผู้กู้ผิดนัดไว้ว่าให้ผู้กู้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 6 ของจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดรวมกัน ย่อมเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน สมควรลดลงเป็นให้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ6 รวมเป็นร้อยละ 15 ต่อปีโดยไม่ทบต้น โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จำเลยที่ 3 ผู้เดียวอุทธรณ์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนและลดให้ แม้จำเลยที่1 ที่ 2 ที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ย่อมได้รับผลอันเป็นคุณจากข้อวินิจฉัยส่วนนี้ด้วย เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยเหลือ 15% ต่อปี
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ในจำนวนเงินที่เป็นหนี้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี โดยจะชำระดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ทุกๆ 3 เดือน นับแต่วันทำหนังสือสัญญานี้เป็นต้น ไปสำหรับต้นเงินกู้นั้นจะผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ โดยชำระ 3 เดือนต่อครั้ง ตามตารางชำระเงินต้นแนบท้ายสัญญากู้ หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าว ผู้กู้ย่อมเสียเบี้ยปรับให้แก่ธนาคารโจทก์อีกในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ในจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่คงค้างทั้งหมดนับแต่วันละเมิดสัญญาจนกว่าจะชำระเงินเสร็จสิ้น ดังนี้เห็นได้ว่าสัญญากู้รายนี้ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 9 ต่อปีอยู่แล้ว การที่ได้กำหนดเบี้ยปรับในกรณีผู้กู้ผิดนัดไว้ว่า ให้ผู้กู้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 6 ของจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดรวมกัน ย่อมเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน สมควรลดลงเป็นให้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 6 รวมเป็นร้อยละ 15 ต่อปีโดยไม่ทบต้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จำเลยที่ 3 ผู้เดียวอุทธรณ์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนและลดให้ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ย่อมได้รับผลอันเป็นคุณจากข้อวินิจฉัยส่วนนี้ด้วย เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดและเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมายและสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มี เงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงิน ส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยใน อัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชี หนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระ แต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่ และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็น บัญชีเดินสะพัด หรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523) จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิด ตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใดปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชี ให้ไปซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้องเพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัด-เบิกเกินบัญชี: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญาและกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มีเงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระแต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็นบัญชีเดินสะพัดหรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523)
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิดตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใด ปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไป ซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้อง เพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
of 15