คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 655

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เงินที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินข้อ 2 ระบุไว้ความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะส่งชำระดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน ไม่ให้ผิดนัด ถ้าผิดนัดยอมให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้น ถือเป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยเข้าแล้วนี้ต่อไปทุกคราว ตามอัตราและกำหนดชำระที่กล่าวแล้ว นั้น เป็นข้อตกลงที่ให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเดือนใด ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งก่อนข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ตกเป็นโมฆะ โจทก์ผู้ให้กู้มีวัตถุประสงค์รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงินสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เป็นสัญญากู้เงินกันตามธรรมดา โดยจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบกันแม้โจทก์จะทำทะเบียนสัญญากู้เงินไว้ทะเบียนดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพียงเพื่อประสงค์จะทราบว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแล้วเพียงใด กับยังค้างชำระอีกเท่าใด มิใช่เป็นการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้คิดดอกเบี้ยทบต้นขัดต่อกฎหมาย แม้มีข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้เงินข้อ 2 ระบุไว้ความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะส่งชำระดอกเบี้ยภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน ไม่ให้ผิดนัด ถ้าผิดนัดยอมให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้น ถือเป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยเข้าแล้วนี้ต่อไปทุกคราว ตามอัตราและกำหนดชำระที่กล่าวแล้ว นั้น เป็นข้อตกลงที่ให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเดือนใด ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่งก่อน ข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ผู้ให้กู้มีวัตถุประสงค์รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เป็นสัญญากู้เงินกันตามธรรมดาโดยจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบกันแม้โจทก์จะทำทะเบียนสัญญากู้เงินไว้ทะเบียนดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพียงเพื่อประสงค์จะทราบว่า จำเลยที่ 1กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด มิใช่เป็นการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความดอกเบี้ย, สิทธิเรียกร้องหนี้, การต่ออายุสัญญา, สัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัด เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือในระหว่างที่สัญญายังดำเนินอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีและมีการผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไปหาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่ ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยาย โจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522) จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียกร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมากหากโจทก์ยอม ลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้น จำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความ, และความรับผิดของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัด เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ ในระหว่างที่สัญญายังดำเนินอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีและมีการผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไป หาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่ เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่
ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญา ต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยายโจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522)
จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียบร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมาก หากโจทก์ยอมลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้ เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้รวมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้นจำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามข้อตกลงและกฎหมาย
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ และฝากเงินในวันเดียวกัน หลังจากนั้นจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีและนำเงินฝากเข้าบัญชีหลายครั้ง โดยโจทก์จะคิดหักยอดเงินในบัญชีทุกครั้ง หากจำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินกว่าเงินที่มีอยู่ในบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากเงินที่เป็นหนี้ตามประเพณีของธนาคาร ดังนี้ เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่ผูกมัดจำเลย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส.ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่สมบูรณ์
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาทรวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส. ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486-1487/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากปุ๋ยและการจ่ายปุ๋ยผิดพลาด จำเลยต้องรับผิดคืนปุ๋ยหรือชดใช้ราคา
โจทก์ซื้อปุ๋ยจากจำเลย จำเลยส่งมอบปุ๋ยให้โจทก์ตรวจรับตามจำนวนและคุณภาพถูกต้องแล้ว การที่จำเลยเก็บรักษาปุ๋ยไว้ ณ โกดังของจำเลยเพื่อรอจ่ายให้แก่ผู้รับตามใบสั่งจ่ายปุ๋ยของโจทก์เป็นคราว ๆ จนกว่าจะครบจำนวน ถือได้ว่าจำเลยรับฝากปุ๋ยของโจทก์ไว้ จำเลยจะต้องคืนปุ๋ยให้แก่โจทก์หรือจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งถือใบสั่งจ่ายของโจทก์ตามข้อตกลง การที่จำเลยจ่ายปุ๋ยให้แก่ผู้ถือใบสั่งจ่ายปุ๋ยซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายและตราของโจทก์ที่ประทับเป็นของปลอม ถือได้ว่าจำเลยจ่ายปุ๋ยให้แก่ผู้อื่นผิดไปจากข้อตกลง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486-1487/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากปุ๋ยและการจ่ายปุ๋ยผิดพลาด จำเลยต้องรับผิดคืนปุ๋ยหรือชดใช้ราคา
โจทก์ซื้อปุ๋ยจากจำเลย จำเลยส่งมอบปุ๋ยให้โจทก์ตรวจรับตามจำนวนและคุณภาพถูกต้องแล้ว การที่จำเลยเก็บรักษาปุ๋ยไว้ ณ โกดังของจำเลยเพื่อรอจ่ายให้แก่ผู้รับตามใบสั่งจ่ายปุ๋ยของโจทก์เป็นคราว ๆ จนกว่าจะครบจำนวน ถือได้ว่าจำเลยรับฝากปุ๋ยของโจทก์ไว้ จำเลยจะต้องคืนปุ๋ยให้แก่โจทก์หรือจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งถือใบสั่งจ่ายของโจทก์ตามข้อตกลง การที่จำเลยจ่ายปุ๋ยให้แก่ผู้ถือใบสั่งจ่ายปุ๋ยซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายและตราของโจทก์ที่ประทับเป็นของปลอม ถือได้ว่าจำเลยจ่ายปุ๋ยให้แก่ผู้อื่นผิดไปจากข้อตกลง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน/จำนอง
โจทก์ให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งเพื่อหักกลบลบหนี้กัน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือมิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่
of 15