พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว คิดดอกเบี้ยธรรมดา, ผู้ค้ำประกัน/จำนองรับผิดเฉพาะวงเงินที่ระบุ
โจทก์ให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งเพื่อหักกลบลบหนี้กัน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่ต่ออายุ และเจตนาเลิกสัญญาระหว่างคู่กรณี
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการต่ออายุสัญญาทั้งสี่ครั้งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนในวันสุดท้ายของอายุสัญญาทุกครั้งเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยมิได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีอีก พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นว่าเจตนาได้ว่า หากไม่มีการต่ออายุสัญญาออกไป ก็ให้ถือว่าให้เลิกสัญญากันเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาโดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก จึงต้องหักทอนบัญชีเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่ต่ออายุ การคิดดอกเบี้ยทบต้นจำกัดเฉพาะระยะเวลาสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการต่ออายุสัญญาทั้งสี่ครั้งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนในวันสุดท้ายของอายุสัญญาทุกครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยมิได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีอีก พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นว่าเจตนาได้ว่า หากไม่มีการต่ออายุสัญญาออกไป ก็ให้ถือว่าให้เลิกสัญญากันเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาโดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก จึงต้องหักทอนบัญชีเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ: สิทธิของธนาคารจะสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยไม่ได้เบิกเงินหรือนำเงินฝากเพิ่มเติม
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารโจทก์ในวงเงิน 150,000 บาท โดยจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนใดค้างชำระยอมให้โจทก์ทบต้นเข้ากับจำนวนเงินกู้ที่ค้างชำระแล้วคิดดอกเบี้ยในเดือนต่อไปได้ตามสัญญา เมื่อพ้นกำหนดชำระเงินต้นในวันที่ 5 มีนาคม 2520 จำเลยไม่ยอมชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนองรวมเป็นเงิน 210,189.07 บาท และเมื่อคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญาโดยไม่ทบต้นนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้ถึงวันฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 232,189.69 บาท จึงขอให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินตามฟ้องต่อโจทก์ ดังนี้แสดงว่าจำเลยเข้าใจในข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับธนาคารโจทก์ได้สิ้นสุดลง จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ สิทธิของธนาคารโจทก์ในอันที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่ค้างชำระตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป
หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับธนาคารโจทก์ได้สิ้นสุดลง จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ สิทธิของธนาคารโจทก์ในอันที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่ค้างชำระตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด, การเลิกสัญญา, และข้อตกลงตามประเพณีการค้า
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยมิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ต้องถือว่าได้มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในระยะเวลาที่โจทก์แจ้งไปยังจำเลยให้จัดการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งในระหว่างนั้นจำเลยก็มิได้สั่งจ่ายเงินอีก
ตามประเพณีการค้าธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ข้อตกลงไม่เป็นโมฆะ ปัญหาว่าข้อนี้เป็นโมฆะหรือไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามประเพณีการค้าธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ข้อตกลงไม่เป็นโมฆะ ปัญหาว่าข้อนี้เป็นโมฆะหรือไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี: สัญญาเดิมมีผลบังคับใช้ ธนาคารเพิ่มดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งจำเลยไม่มีสิทธิ
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 12 ครึ่งต่อปีนับแต่จำเลยเริ่มเบิกเงินเกินบัญชี พร้อมกันนั้นจำเลยได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย ในสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 14ต่อปี ดังนี้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ประธานส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปีเสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสัญญาอุปกรณ์เพียงใดต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12 ครึ่งตลอดมา ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้จากอัตราเดิมร้อยละ 14 ต่อปีเป็นร้อยละ 15ต่อปี เป็นเพียงให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธานเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การที่โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 12 ครึ่ง มาเป็นร้อยละ 14 ต่อปีโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยทราบและตกลงด้วยนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นโดยพลการหลังมีข้อตกลงเดิม และผลของการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
จำเลยมีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 12 ครึ่งต่อปีนับแต่จำเลยเริ่มเบิกเงินเกินบัญชี พร้อมกันนั้นจำเลยได้ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย ในสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 14ต่อปี ดังนี้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ประธานส่วนหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ แม้ในสัญญาจำนองจำเลยจะตกลงเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปี ก็มิใช่ว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ร้อยละ 14 ต่อปีเสมอไป จำเลยจะรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ตามสัญญาอุปกรณ์เพียงใดต้องดูข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12 ครึ่งตลอดมา ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้จากอัตราเดิมร้อยละ 14 ต่อปีเป็นร้อยละ 15ต่อปี เป็นเพียงให้ธนาคารโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์จำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ประธานเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การที่โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 12 ครึ่ง มาเป็นร้อยละ 14 ต่อปีโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยทราบและตกลงด้วยนั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและบอกกล่าวบังคับจำนองกับจำเลย สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าว การที่จำเลยขอให้โจทก์ยกเลิกหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง และขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปนับแต่วันครบตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์นั้น เป็นเพียงคำเสนอขอให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไป ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บัญชีเดินสะพัดของจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่โจทก์เพียงแต่รับหนังสือดังกล่าวของจำเลยไว้โดยไม่ได้ตอบสนองคำเสนอของจำเลย จึงหาทำให้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเดินสะพัดต่อไปไม่ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีอีกหลายครั้ง แต่ไม่มีสิทธิจะเบิกเงินจากโจทก์ได้อีกการนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น เพราะมีแต่การหักทอนบัญชีหนี้บางส่วนของจำเลยลงฝ่ายเดียว หาได้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปไม่
โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลย แต่โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นแล้วแจ้งยอดจำนวนหนี้ให้จำเลยทราบจำเลยได้รับสภาพหนี้ตามจำนวนที่โจทก์แจ้งไปนั้น หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่จำเลยรับสภาพหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ไว้ไม่ เพราะการรับสารภาพหนี้จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีหนี้ต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาตามสัญญากู้ไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2. ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5. ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้น แต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะ เพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเอง
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2 ว่าผู้กู้ ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5 ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้นแต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะเพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดหรือไม่: การต่ออายุโดยปริยายและสิทธิคิดดอกเบี้ย
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ กำหนดชำระเงินคืนภายใน 6 เดือน ต่อมาลูกหนี้ที่ 1 ขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2519 แม้ลูกหนี้ที่ 1 และเจ้าหนี้จะตกลงยืดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายมาเพียงวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่อาจถือได้แน่นอนว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว เพราะไม่มีข้อตกลงว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลานั้นให้สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชี ตามพฤติการณ์ของคู่สัญญาถือว่ามีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกปริยาย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 1 อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงหาสิ้นสุดในวันที่ 13 มกราคม 2519 ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้