พบผลลัพธ์ทั้งหมด 144 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สิ้นสุดหรือไม่? ดอกเบี้ยทบต้นคิดได้ถึงวันพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ลูกหนี้ที่ 1 ทำหนังสือเบิกเงินเกินบัญชีกับเจ้าหนี้ผู้รับชำระหนี้ กำหนดชำระเงินคืนภายใน 6 เดือน ต่อมาลูกหนี้ที่ 1ขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2519 แม้ลูกหนี้ที่ 1 และเจ้าหนี้จะตกลงยืดอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายมาเพียงวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่อาจ ถือได้แน่นอนว่าสัญญาจะสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว เพราะไม่มีข้อตกลงว่า เมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลานั้นให้สัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อไปปรากฏว่า ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชี ตามพฤติการณ์ของคู่สัญญาถือว่ามีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกโดยปริยาย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 1 อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงหาสิ้นสุดลงในวันที่ 13 มกราคม 2519 ไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจน ถึงวันศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกเงินเกินบัญชี ธนาคารต้องตกลงกับลูกค้าก่อน หากไม่มีข้อตกลงคิดดอกเบี้ยได้แค่ร้อยละ 7.5
การที่จำเลยจะเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิคำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีของธนาคาร โจทก์จำเลยจะต้องมีการตกลงกันเสียก่อน เมื่อโจทก์สืบพยานฟังไม่ได้แน่ชัดว่ามีข้อตกลงกันเช่นนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามระเบียบการรับฝากเงินของโจทก์และเมื่อไม่ได้กำหนดดอกเบี้ยไว้เป็นการแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
ลูกหนี้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ ต้องคิดเป็นเงินชำระดอกเบี้ยก่อนเหลือนั้นเป็นการชำระต้นเงิน
ลูกหนี้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ ต้องคิดเป็นเงินชำระดอกเบี้ยก่อนเหลือนั้นเป็นการชำระต้นเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา
กู้เงิน 500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน ทำเป็นสัญญาขายฝาก 400,000 บาท ทำเป็นสัญญากู้ 120,000บาท สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพราง ต้องบังคับตามสัญญากู้โดยใช้สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ ผู้ซื้อฝากฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 120,000 บาท ผู้ขายฝากฟ้องแย้งเรียกที่ดินคืนได้ ดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 จึงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน เช็คคืนเงินไม่ได้ สิทธิเรียกร้องหนี้ และดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย
จำเลยกู้เงินโจทก์ 60,000 บาท ออกเช็คให้โจทก์ไว้โจทก์โอนเช็คต่อไปจนถึง ว. ว. เบิกเงินไม่ได้ จำเลยทำหนังสือกู้ให้โจทก์ไว้ 84,000 บาท รวมกับหนี้ที่จำเลยรับโอนจาก ท. ลูกหนี้โจทก์ ต่อมา ว. ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยดังนี้โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามเช็คสัญญากู้ที่จำเลยทำให้โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้จำนวนนี้ ส่วนอีก 20,000 บาท ซึ่งจำเลยรับโอนจาก ท. ลูกหนี้โจทก์นั้น จำเลยต้องชำระแก่โจทก์แต่ดอกเบี้ยอีก 4,000 บาท นั้นเป็นอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนดอกเบี้ยเป็นโมฆะโจทก์คงเรียกจากจำเลยได้เพียง 20,000 บาท กับดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันฟ้อง
หนี้ตามสัญญากู้ 84,000 บาท เป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลดเป็นให้จำเลยใช้ 20,000 บาท ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ฎีกาด้วย
หนี้ตามสัญญากู้ 84,000 บาท เป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลดเป็นให้จำเลยใช้ 20,000 บาท ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังลูกหนี้เสียชีวิต: สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดตามลูกหนี้, คิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้ธรรมดา
ธนาคารเจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสองนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ว่าเป็นการคิดกันตามประเพณีการค้าขายในเมื่อมีบัญชีเดินสะพัดต่อกันเท่านั้น และกิจการในสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ตาย สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมต้องระงับสิ้นสุดลงหลังจากลูกหนี้ตายแล้ว เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปหาได้ไม่ ถึงแม้ต่อมาผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ผู้ตายได้ทำหนังสือรับต่อธนาคารเจ้าหนี้ว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ธนาคารจริง ยอมให้คิดดอกเบี้ยกันตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดิมของลูกหนี้ก็ตาม ก็หามีผลทำให้ธนาคารเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ไม่ เพราะขัดกับมาตรา 655 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อลูกหนี้เสียชีวิต สัญญาใหม่ไม่มีผล
ธนาคารเจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสองนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ว่าเป็นการคิดกันตามประเพณีการค้าขายในเมื่อมีบัญชีเดินสะพัดต่อกันเท่านั้น และกิจการในสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ตาย สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมต้องระงับสิ้นสุดลงหลังจากลูกหนี้ตายแล้ว เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปหาได้ไม่ ถึงแม้ต่อมาผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ผู้ตายได้ทำหนังสือรับต่อธนาคารเจ้าหนี้ว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ธนาคารจริง ยอมให้คิดดอกเบี้ยกันตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดิมของลูกหนี้ก็ตาม ก็หามีผลทำให้ธนาคารเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ไม่ เพราะขัดกับมาตรา 655 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา และการพิสูจน์การชำระหนี้ด้วยพยานบุคคล
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้ แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกินใบรับนั้นเสียดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาท เป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตราและคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654,655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาทนั้น ยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาท เป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตราและคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654,655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาทนั้น ยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินอัตราและทบต้นเป็นโมฆะ ส่วนที่สมบูรณ์บังคับได้
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกับใบรับนั้นเสีย ดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินให้โจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาทเป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตรา และคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, 655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาท นั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
จำเลยกู้เงินให้โจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาทเป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตรา และคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, 655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาท นั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดต่ออายุโดยปริยาย & ดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา 1 ปี 6 เดือน แต่หลังจากนั้นคู่สัญญายังติดต่อให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ถือว่าเลิกกันเมื่อเจ้าหนี้บอกกล่าวบังคับจำนอง เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยทบต้นหลังจากนั้นอีกไม่ได้
คำสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลสั่งในคำพิพากษาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาในฟ้อง
คำสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลสั่งในคำพิพากษาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัด: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นยังคงมีอยู่จนกว่าจะมีการเลิกสัญญา
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชี และเบิกเงินเกินบัญชีโดยใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้ง เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดแม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้นจะมีกำหนดระยะเวลาแต่ก็ไม่มีข้อสัญญาระบุว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที เมื่อยังมิได้มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามสัญญา จนกว่าจะมีการเลิกสัญญาและหักทอนบัญชีกันแล้ว
จำเลยมิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้มาตั้งแต่ศาลชั้นต้น จะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
จำเลยมิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้มาตั้งแต่ศาลชั้นต้น จะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้