พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี ต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี
ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสาม ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลส่งคำร้องพร้อมสำนวนความไปให้ผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาต่อไป คดีนี้โจทก์เพียงแต่ยื่นอุทธรณ์ โดยหาได้ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้อนุญาตให้อุทธรณ์ ทั้งผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ หาได้มีข้อความใดแสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13882/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายาเสพติด: การไม่ยื่นคำร้องขอรับฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คดีนี้โจทก์ฟ้องและศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่ง จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วย่อมเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ฎีกาในส่วนคำขอท้ายฟ้องให้ริบของกลางเพียงอย่างเดียว แต่มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้รับฎีกาไว้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12795/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกัน ยักยอกทรัพย์-ทำลายเอกสาร ศาลฎีกาชี้การบรรยายฟ้องต้องระบุวันเวลาชัดเจน
แม้ในฟ้องข้อ (ก) โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไป ต่างวันต่างเวลากัน รวม 262 ครั้ง และฟ้องข้อ (ข) โจทก์บรรยายรวมกันมาว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องต่อไปว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารบันทึกการขายสินค้าประจำวัน (กระดาษเจอร์นอล) ของผู้เสียหาย จำนวน 262 แผ่น ต่างวันต่างเวลากัน จำนวน 262 ครั้ง ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลากระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ในข้อ (ก) และข้อ (ข) ว่า เมื่อระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม 2547 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยง โดยมิได้ระบุว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันยักยอกและเอาไปเสียซึ่งเอกสารในแต่ละครั้ง วันเวลาใดให้ชัดแจ้ง ส่วนวันเวลาที่โจทก์อ้างตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องนั้น เป็นเพียงวันเวลาที่แสดงว่าโจทก์ร่วมตรวจพบการทุจริตของพนักงานเก็บเงินในบริษัทโจทก์ร่วมเมื่อใด จะถือเอาวันเวลาตามเอกสารดังกล่าวมาประกอบกันเพื่อให้เข้าใจเอาเองว่ามีการกระทำผิดข้อหาร่วมกันยักยอกในแต่ละครั้งเกิดขึ้นตามวันเวลาดังกล่าวหาได้ไม่ จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12497/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินโดยการครอบครอง ไม่ผูกพันจำเลยในการส่งมอบเอกสาร นำไปสู่การไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการครอบครอง มิใช่ได้มาโดยนิติกรรมจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10448/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดด้วยการแพร่ข่าวเท็จใส่ร้ายโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการเงิน
ข้อความทั้งหมดตามบทความสรุปว่า โจทก์ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่กำกับดูแลกรมศาสนา ทำงานไม่เป็น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกาย ท่าดีทีเหลว โอบอุ้มพระธัมมชโยเนื่องจากรับเงินสินบนจากพระธัมมชโย 150,000,000 บาท เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วมีลักษณะเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ซึ่งจำเลยทั้งสามก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่ลักษณะของการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอข้อเท็จจริงโดยสุจริตหรือติชมด้วยความเป็นธรรม จำเลยทั้งสามจึงกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9812/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจแก้ไขถ้อยคำผิดพลาดได้ หากไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับดุลพินิจในการกำหนดโทษของจำเลยที่ 1 ในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี สำหรับความผิดฐานดังกล่าว กรณีจึงเป็นความผิดหลงหรืออีกนัยหนึ่งเขียนคำพิพากษาในส่วนที่กำหนดโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวผิดพลาดไป ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยมิได้เป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 ทั้ง ป.วิ.อ. ได้บัญญัติวิธีพิจารณาในกรณีแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดไว้แล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 143 มาใช้บังคับกับกรณีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8488/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต่างประเทศซื้อทรัพย์จากการบังคับคดีได้ตามกฎหมายเฉพาะ แม้มีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์
แม้โจทก์จะเป็นธนาคารที่ก่อตั้งและจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็มีสาขาในประเทศไทยโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ จึงเป็นธนาคารพาณิชย์ตามความหมายของมาตรา 4 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 และได้รับยกเว้นให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่จำนองไว้แก่ธนาคารสาขาของโจทก์ในประเทศไทยจากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลได้ ตามมาตรา 12 (4) ข แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทโดยการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เพราะการที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ธนาคารเจ้าหนี้สามารถซื้อทรัพย์ของลูกหนี้ได้ก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ของลูกหนี้ มิให้เจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีสัญชาติไทยหรือต่างด้าวต้องได้รับความเสียหายจากการที่ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมเช่นเจ้าหนี้ทั่วไป ทั้งยังเป็นหลักประกันสำหรับความเสมอภาคของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการประกอบธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างเสรี แต่อย่างไรก็ตามโจทก์มีหน้าที่จะต้องจัดการกับที่ดินดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการเอาชำระหนี้ที่ค้างเท่านั้น ไม่อาจนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้ เนื่องจากโจทก์ยังคงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้แก่บุคคลต่างด้าว การที่โจทก์จะสามารถถือกรรมสิทธิ์ต่อไปหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ซื้อมาดังกล่าวได้แค่ไหนเพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องจะไปว่ากล่าวกันตามกฎหมายต่างหาก แต่สำหรับจำเลยทั้งสองในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีหน้าที่โดยสุจริตที่จะต้องชำระหนี้หรือถูกบังคับชำระหนี้ที่ก่อขึ้น ไม่อาจยกประมวลกฎหมายที่ดินขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธการชำระหนี้และการถูกบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและค่าตอบแทนความถี่วิทยุ: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความหากเกิน 2 ปี แต่ค่าเสียหายจากเครื่องหายมีอายุความ 10 ปี
กรมไปรษณีย์โทรเลขโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ แต่การที่โจทก์จัดให้มีบริการเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ โดยผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พร้อมทั้งต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ รวมทั้งต้องชำระค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีไม่ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ภายในกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้วิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)
สิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ ค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีไม่ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ซึ่งเป็นเบี้ยปรับและเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์อันเนื่องมาจากจำเลยไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์คืนแก่โจทก์ อาศัยเหตุมาจากการที่จำเลยไม่ยอมส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ที่เช่าคืนโจทก์เมื่อสัญญาเช่าใช้เลิกกัน ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเลิกสัญญา ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 มิใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียกค่าเช่า เมี่อค่าเสียหายในส่วนนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์คืนโจทก์ผู้ให้เช่าได้เนื่องจากเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์สูญหายไป สัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ที่สูญหายย่อมเป็นอันระงับไปนับแต่วันที่สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในลักษณะเป็นค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์
สิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ ค่าตอบแทนเพิ่มในกรณีไม่ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ซึ่งเป็นเบี้ยปรับและเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์อันเนื่องมาจากจำเลยไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์คืนแก่โจทก์ อาศัยเหตุมาจากการที่จำเลยไม่ยอมส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ที่เช่าคืนโจทก์เมื่อสัญญาเช่าใช้เลิกกัน ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเลิกสัญญา ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 มิใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียกค่าเช่า เมี่อค่าเสียหายในส่วนนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยไม่สามารถส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์คืนโจทก์ผู้ให้เช่าได้เนื่องจากเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์สูญหายไป สัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ที่สูญหายย่อมเป็นอันระงับไปนับแต่วันที่สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในลักษณะเป็นค่าขาดประโยชน์ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช่าทรัพย์สินและค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุตามสัญญาเช่า
แม้โจทก์จะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่การที่โจทก์จัดให้มีบริการเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ โดยผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์พร้อมทั้งต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่ภายในกำหนด ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้วิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ส่วนค่าตอบแทนรวมทั้งค่าตอบแทนเพิ่มที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยผู้ใช้ความถี่วิทยุก็มีลักษณะทำนองเดียวกับค่าเช่า เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์และเรียกค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุตามสัญญาเช่าใช้ทั้ง 4 ฉบับ เกินกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์สามารถทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์และค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุดังกล่าวจึงขาดอายุความ และเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุอันเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ ค่าตอบแทนเพิ่มซึ่งเป็นเบี้ยปรับและเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26 สำหรับค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์อันเนื่องมาจากจำเลยไม่ส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์คืนแก่โจทก์เมื่อสัญญาเลิกกันนั้น เห็นว่า ค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นการเรียกร้องโดยอาศัยเหตุมาจากการที่จำเลยไม่ยอมส่งมอบเครื่องวิทยุคมนาคมพร้อมอุปกรณ์ที่เช่าคืนโจทก์เมื่อสัญญาเช่าใช้เลิกกัน อันถือเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการเลิกสัญญา ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หาใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียกค่าเช่าตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาไม่ ซึ่งค่าเสียหายในส่วนนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจนถึงวันฟ้องยังไม่เกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์ในส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารจ่ายเช็คผิดพลาดจากเงินของตนเอง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะในห้องทำงานซึ่งเป็นห้องส่วนตัว มีกระจกโดยรอบ ปกติไม่มีผู้ใดเข้าไป ผู้ที่ลักเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปคือลูกจ้างในร้านของโจทก์เองถือได้ว่าโจทก์ได้เก็บรักษาเช็คพิพาทดังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำแล้ว ส่วนการที่โจทก์เคยมอบหมายให้บุคคลอื่นกรอกข้อความในเช็คแทนนั้น ก็หาใช่เป็นข้อที่แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่เก็บเช็คพิพาทไว้ให้ดีไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออันจะถือว่าเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆ ไป เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เองขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็คแต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆ ไป เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เองขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็คแต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์