คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการยื่นอุทธรณ์จากความบกพร่องของทนาย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์มาแล้ว 3 ครั้ง เป็นเวลาเกือบ 4 เดือน แต่ทนายโจทก์กลับเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าว มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานที่เป็นทนายความ ข้ออ้างของทนายโจทก์ที่ว่ารถยนต์ของทนายโจทก์เสียในระหว่างทางและการจราจรติดขัด ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้ และขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งจึงเกิดจากความบกพร่องของทนายโจทก์เอง มิใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งซึ่งโจทก์อยู่ในขณะนั้นตามมาตรา 10 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องเช็คและการยื่นฟ้องข้ามเขตศาล: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยื่นคำฟ้องข้ามเขตศาลโดยมีเหตุสุดวิสัยไม่ทำให้ขาดอายุความ
อายุความฟ้องร้องผู้สั่งจ่ายเช็คมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ดังนั้น เช็คลงวันที่ 5 สิงหาคม2540 ย่อมครบกำหนดอายุความในวันที่ 5 สิงหาคม 2541 ปรากฏว่าในวันครบกำหนดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ว่า โจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเขตศาลเหนือคดีแต่เงินที่เสมียนทนายเตรียมไปไม่พอกับค่าธรรมเนียม เสมียนทนายจึงนำคำฟ้องกลับมาที่จังหวัดขอนแก่นและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อเวลา 16 นาฬิกา อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถกลับไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ทัน จึงขออนุญาตยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องว่า "รับไว้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วนเพื่อพิจารณาต่อไป" คำสั่งดังกล่าวเท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 แม้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นจะมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ แต่การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งรับคำร้องและให้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนนั้น ย่อมถือได้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนการที่ศาลจังหวัดขอนแก่นจะส่งคำฟ้องไปให้ศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาสั่งในภายหลังก็เป็นขั้นตอนปฏิบัติของศาลมิได้เกี่ยวกับคู่ความ แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็หามีผลทำให้คดีของโจทก์ที่ยื่นฟ้องภายในกำหนดอายุความกลับกลายเป็นคดีที่ขาดอายุความไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยขัดขวางการยื่นฟ้องภายในอายุความ ศาลฎีกาตัดสินให้รับคำฟ้องได้
ในวันครบกำหนดอายุความโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ว่า โจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเขตศาลเหนือคดี แต่เงินที่เตรียมไปไม่พอกับค่าธรรมเนียมจึงนำคำฟ้องกลับมาที่จังหวัดขอนแก่นและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อเวลา 16 นาฬิกา ทำให้โจทก์ไม่สามารถกลับไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ทัน จึงขออนุญาตยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อให้ศาลจังหวัดขอนแก่นรับคำฟ้องไว้ดำเนินการต่อไป ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องว่ารับไว้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 แม้ศาลจังหวัดขอนแก่นจะมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง แต่การสั่งรับคำร้องและให้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนนั้น ย่อมถือได้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็ไม่มีผลทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีโดยมีเหตุสุดวิสัยและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่ผิดระเบียบ
ตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์อ้างว่า ทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากรถยนต์ที่ใช้เดินทางกลับจากการทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่เสียกะทันหันและอยู่ไกลร้านซ่อมรถไม่สามารถซ่อมรถได้ทันทนายโจทก์จึงไปที่ศาลจังหวัดฝาง เมื่อเวลาประมาณ 14 นาฬิกา เพื่อยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดฝางในขณะนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 และเป็นอำนาจของศาลจังหวัดฝางที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของทนายโจทก์ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้อง
ศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายโจทก์ว่าจัดการให้ แม้จะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแต่ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้โดยปริยายถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้นที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสารศาลชั้นต้นจึงชอบที่สั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี กรณีศาลรับคำร้องขอเลื่อนคดีไว้แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของทนายความโจทก์อ้างว่า ไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากรถยนต์ที่ใช้เดินทางกลับจากการทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่เสียกะทันหันและอยู่ไกลร้านซ่อมรถ ไม่สามารถซ่อมรถได้ทัน จึงไปที่ศาลจังหวัดฝางเมื่อเวลาประมาณ 14 นาฬิกา เพื่อยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กรณีตามคำร้องจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดฝางในขณะนั้นตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 10 ได้ และในความตอนท้ายของมาตรา 10 นี้ บัญญัติให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นอำนาจของศาลจังหวัดฝางที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของทนายความโจทก์ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้อง ปรากฏว่าศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายความโจทก์ดังกล่าวว่า จัดการให้ ดังนี้ เห็นว่า แม้คำสั่งของศาลจังหวัดฝางจะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ แต่คำสั่งที่ว่า จัดการให้ ก็ย่อมมีความหายเป็นการจัดการให้ตามคำร้อง กล่าวคือ ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้ตามคำร้องโดยปริยาย ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น ที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงย่อมมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ข้อเท็จจริงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายความโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสาร ศาลชั้นต้นจึงสมควรสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย, คำสั่งศาลที่คลาดเคลื่อน, และการขยายเวลา
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 10
จำเลยยื่นคำให้การพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การที่ศาลภาษีอากรกลางเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง ป.วิ.พ. จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใด จึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบต่อศาลจังหวัดนราธิวาสจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีภากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย-คำสั่งศาลที่ขัดแย้ง-ผลกระทบต่อการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 10 การที่จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 10 จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้
แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การผ่านศาลจังหวัดนราธิวาสมาก่อนแล้วครั้งหนึ่งและศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใดนั้นจึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – อุบัติเหตุทางรถยนต์ทำให้ไม่สามารถยื่นภายในกำหนดได้ ศาลอนุญาตให้ยื่นต่อศาลในเขตที่อยู่
ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลา 8 นาฬิกา รถยนต์ที่ทนายจำเลยขับไปกระทบก้อนหิน ทำให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตกไม่สามารถซ่อมให้เสร็จในวันที่ครบกำหนดอุทธรณ์หรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น การที่ทนายจำเลยไปคนเดียวและรถของทนายจำเลยมีราคาสองล้านบาท ทั้งไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถจึงไม่อาจทิ้งรถไว้ได้ ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทนายจำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้ ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – การขยายเวลา และการยื่นคำร้องต่อศาลอื่น
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนี้ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 หากไม่อาจยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นได้โดยเหตุสุดวิสัย จำเลยจะยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลซึ่งตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ทนายจำเลยได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) และทนายจำเลยได้ ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไป 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาขอขยายวันที่ 29 กันยายน 2541 แต่ศาลชั้นต้น ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนี้ไปเพียงวันที่ 28 กันยายน 2541 ซึ่งในวันที่ 28 กันยายน 2541 ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลาประมาณ 8 นาฬิกา ปรากฏว่ารถยนต์ของทนายจำเลยขับไปชนก้อนหินขนาดใหญ่ เป็นเหตุให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตก ช่างไม่สามารถทำการซ่อมให้เสร็จในวันเดียวกันหรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น เป็นเหตุให้ทนายจำเลยกลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีไม่ทัน ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นศาลที่ทนายจำเลยอยู่ภายในเขตศาล เนื่องจากทนายจำเลยไปคนเดียวและรถยนต์ ของทนายจำเลยมีราคาประมาณสองล้านบาทและไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถ จึงไม่อาจทิ้งรถยนต์ไว้ที่อู่ซ่อมรถ เมื่อมีเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจที่จะกลับไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) ได้ทัน ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อันเป็นเหตุสุดวิสัย ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง (สงขลา) และสิทธิการเลื่อนการพิจารณาคดี
เมื่อยังไม่มี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสงขลาขึ้นตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 7ศาลแรงงานกลางจึงมีเขตอำนาจในท้องที่จังหวัดสงขลาด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ซึ่งตามมาตรา 60นี้บัญญัติว่า เมื่อศาลแรงงานกลาง (สงขลา) สั่งรับคดีไว้พิจารณาแล้วให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น ศาลแรงงานกลาง(สงขลา) จึงเป็นศาลแรงงานกลางที่ออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่จังหวัดสงขลาดังนั้น ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาต่อศาลแรงงานกลางได้ โดยไม่จำต้องอ้างเหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 10
of 4