คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65 ทวิ (9)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายจากการโอนขายกิจการและการชดใช้หนี้ การหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี
โจทก์โอนขายกิจการโดยมีข้อสัญญาว่า โจทก์ต้องชดใช้หนี้ของลูกหนี้การค้าทั่วไปที่โอนไปแล้วเรียกเก็บเงินไม่ได้ให้ผู้รับโอน การที่โจทก์ออกใบลดหนี้ของลูกหนี้การค้าทั่วไปที่สงสัยว่าจะสูญให้ผู้รับโอน จึงเป็นการปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญา มิใช่การจำหน่ายหนี้สูญ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการคำนวณกำไรสุทธิได้
รายจ่ายลดค่าเช่าซื้อที่โอนขาย เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นหนี้ค้างชำระ และหนี้ที่จะถึงกำหนดในอนาคตเป็นการคิดส่วนลดเป็นการเหมาเพราะโจทก์เลิกกิจการ ส่วนลดนี้จึงเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้
ส่วนลดสำหรับหนี้ที่เรียกเก็บไม่ได้ที่โจทก์ต้องชดใช้เป็นการปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญา จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์จ่ายไปเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: ค่าบริการจัดการ vs. ค่าบริการเพิ่ม (Incentive Fee) และการตีราคาหุ้นสูญหาย
การคำนวณกำไรสุทธิ ในรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520 โจทก์หักค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งเป็นเงินค่าธรรมเนียมการบริหารงานให้แก่บริษัทที่รับบริหารงานให้โจทก์ เป็นเงิน 3,798,000 บาทเจ้าพนักงานประเมินให้ถือเป็นรายจ่ายได้เพียง 300,000 บาทแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดและมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มและเงินเพิ่มอีกรวม78,210.44 บาทนั้นเมื่อโจทก์ได้ยื่นฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งจึงไม่ชอบที่จะพิจารณาในคดีนี้อีก
การที่ใบหุ้นสูญหายหาทำให้สิทธิในการเป็นผู้ถือหุ้นระงับหรือหมดไปไม่ สิทธิในหุ้นของโจทก์มีอย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนี้โจทก์จะตีราคาหุ้นสำหรับใบหุ้นที่หายแล้วลงจำหน่ายเป็นหนี้สูญเพื่อคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (9) หาได้ไม่
ค่าบริการเพิ่ม (INCENTIVEFEE) ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่บริษัทที่รับบริหารงานให้โจทก์โดยมีข้อตกลงกันว่า โจทก์จะต้องจ่ายให้เป็นเงินจำนวนเท่ากับเงินที่โจทก์มีพอ หลังจากที่ได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 30 ของทุนที่จดทะเบียนแล้วอันเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(19) จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี กรณีค่าบริการจัดการและค่าบริการเพิ่ม (Incentive Fee) ที่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
การคำนวณกำไรสุทธิ ในรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520 โจทก์หักค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งเป็นเงินค่าธรรมเนียมการบริหารงานให้แก่บริษัทที่รับบริหารงานให้โจทก์ เป็นเงิน 3,798,000 บาท เจ้าพนักงานประเมินให้ถือเป็นรายจ่ายได้เพียง 300,000 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดและมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มและเงิน เพิ่มอีกรวม 78,210.44 บาท นั้นเมื่อโจทก์ได้ยื่นฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งจึงไม่ชอบที่จะพิจารณาในคดีนี้อีก
การที่ใบหุ้นสูญหายหาทำให้สิทธิในการเป็นผู้ถือหุ้นระงับหรือหมดไปไม่ สิทธิในหุ้นของโจทก์มีอย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้นดังนี้โจทก์จะตีราคาหุ้นสำหรับใบหุ้นที่หายแล้วลงจำหน่ายเป็น หนี้สูญเพื่อคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (9) หาได้ไม่
ค่าบริการเพิ่ม (INCENTIVE FEE) ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่บริษัทที่รับบริหารงานให้โจทก์โดยมีข้อตกลงกันว่า โจทก์จะต้องจ่ายให้เป็นเงินจำนวนเท่ากับเงินที่โจทก์มีพอ หลังจากที่ได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 30 ของทุนที่จดทะเบียนแล้วอันเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (19) จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำนวนเงินที่โจทก์ตัดเป็นรายจ่ายในการจัดตั้งบริษัทโจทก์ฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทดังโจทก์อ้าง ถือว่าเป็นรายจ่ายที่โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18)
โจทก์นำค่าเช่าปี 2508 และ 2509 มาลงจ่ายในปี 2510เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถลงจ่ายในปีนั้นๆ ได้ มิใช่เพิ่งพบในปี 2510 ว่ายังมิได้จ่าย รายจ่ายค่าเช่าดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายซึ่งควรจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น และมิใช่กรณีที่ผู้จ่ายไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นได้ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิปี 2510 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9)
โจทก์ขายทรัพย์สินไปแล้วจ่ายเงินให้บริษัท ซ. ไปจำนวนหนึ่ง การจ่ายนี้เพื่อให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง มิใช่เป็นค่าทรัพย์สินของบริษัท ซ. ดังโจทก์นำสืบ รายจ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(15)
โจทก์ตัดหนี้สูญโดยมิได้ฟ้องร้องหรือตั้งอนุญาตโตตุลาการตามข้อเสนอของลูกหนี้ ทั้งส่อแสดงว่าเป็นการสมยอมกันลดกำไรสุทธิของโจทก์เพื่อให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง ถือว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติการโดยสมควร เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก่อนการตัดหนี้สูญดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ(9) โจทก์จึงนำหนี้สูญนั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมิได้
โจทก์ได้ตัดบัญชีทรัพย์สินถังสองใบออกไปและถือราคาถังสองใบนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิด้วยแล้ว เมื่อความจริงโจทก์ยังมิได้ขายถังสองใบไป การตัดบัญชีถังสองใบย่อมมีผลทำให้การคำนวณกำไรสุทธิลดลงตามราคาถังสองใบนั้น จึงต้องห้ามมิให้ถือราคาถังนั้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(17)
โจทก์นำรายการที่ต้องห้ามมิให้หักเป็นรายจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายหลายรายการเป็นเงินจำนวนมาก บางรายการโจทก์อ้างข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนความจริงขึ้นโต้แย้ง มิใช่เพียงตีความกฎหมายไม่ตรงกับเจ้าพนักงานประเมิน พฤติการณ์ส่อแสดงว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จึงไม่มีเหตุงดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
of 2