คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา สุทธิบดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและผิดสัญญาจ้าง กรณีเหตุเกิดก่อน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มีผลใช้บังคับ
เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มีผลใช้บังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดดังกล่าวต้องบังคับตามอายุความของ ป.พ.พ. ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม การพิจารณาว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ จึงต้องบังคับตามหลักเกณฑ์ของ ป.พ.พ. มิใช่หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้แคชเชียร์เช็คของโจทก์สูญหายและโจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3877/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและตรวจค้นเคหสถานโดยไม่ปรากฏหมายค้น และการรับฟังคำสารภาพโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 8 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 13 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 8 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 8 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 12 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 8 ปี แม้ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขทั้งบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่เป็นการแก้ไขบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาในข้อ 2.2 กับข้อ 2.8 ว่า หากจ่าสิบตำรวจ ส. เห็นเหตุการณ์ขณะที่สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด จากจำเลยจริง เหตุใดจึงไม่แสดงตัวและเข้าจับกุมเอง เป็นการผิดวิสัยของเจ้าหน้าที่ทั่วไป จึงไม่ควรแก่การเชื่อถือ และข้อ 2.5 ว่า พยานโจทก์เบิกความธนบัตรจริงจำนวน 2,000 บาท ที่ใช้ล่อซื้อได้คืนให้แก่เจ้าของไปแล้วจะเป็นจริงตามคำเบิกความนี้หรือไม่ ไม่มีผู้ใดทราบ การรับฟังพยานบุคคลควรรับฟังด้วยความระมัดระวัง แต่กฎหมายระบุให้ศาลรับฟังเฉพาะต้นฉบับเท่านั้น จึงยังมีเหตุที่น่าระแวงสงสัยนั้น เป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ให้แก่สายลับโดยจำเลยไปนำมาจากในบ้าน ซึ่งร้อยตำรวจเอก ช. กับพวกซุ่มดูพฤติการณ์ดังกล่าวอยู่ จึงมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ในบ้านอันเป็นเคหสถาน เมื่อร้อยตำรวจเอก ช. ได้แสดงตัวโดยแสดงบัตรเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ แก่จำเลยแล้ว ร้อยตำรวจเอก ช. จึงมีอำนาจเข้าไปในบ้านจำเลยเพื่อตรวจค้น รวมทั้งมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ มาตรา 14 โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับของศาล
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและสอบสวนต่างก็ปฏิบัติไปตามหน้าที่ของตน ไม่มีเหตุผลใดที่กลั่นแกล้งจำเลยอันเป็นการเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดังนี้ เชื่อว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไปโดยไม่ได้ถูกขู่ดังจำเลยฎีกา ข้ออ้างของจำเลยเป็นคำกล่าวอ้างลอย ๆ ทั้งเป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การจับกุมและสอบสวนจำเลยชอบแล้ว
เมทแอมเฟตามีนจำนวน 400 เม็ด บรรจุถุงพลาสติกพันด้วยเทปถูกซุกซ่อนในเพดานห้องนอนจำเลย อันเป็นที่มิดชิดยากแก่การค้นพบ ยากแก่การที่บุคคลอื่นจะนำมาซุกซ่อนไว้โดยจำเลยไม่รู้เห็น หากบุตรจำเลยไม่ชี้บอก ร้อยตำรวจเอก ช. อาจตรวจหาไม่พบเพราะเพดานห้องนอนจำเลยสูง การเก็บและตรวจพบทำได้ยาก เมื่อฟังประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ในทันทีแล้ว กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยเป็นเจ้าของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 400 เม็ดจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะ ไม่ถือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้พบเห็นชู้ขณะนอนหลับ
แม้จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต. มีสิทธิป้องกันมิให้หญิงอื่นมามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีของตน แต่ขณะจำเลยพบโจทก์ร่วมนั้น โจทก์ร่วมกำลังนอนหลับอยู่กับ ต. เท่านั้น มิได้กำลังร่วมประเวณีกัน พฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันจำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของจำเลยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่โจทก์ร่วมเข้าไปนอนหลับอยู่กับ ต. สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่เตียงนอนในฟาร์มเลี้ยงไก่ของ ต. เช่นนี้นับได้ว่าเป็นการกระทำที่ข่มเหงจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยพบเห็นโดยบังเอิญมิได้คาดคิดมาก่อนและไม่สามารถอดกลั้นโทสะไว้ได้ ใช้มีดฟันศีรษะโจทก์ร่วมไปในทันทีทันใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อ. มาตรา 72 หาใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากตำแหน่งงานที่เปลี่ยนแปลง แม้เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันยังคงรับผิด
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนสัญญาจ้างแรงงาน แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันได้ยอมรับผิดโดยไม่ได้จำกัดว่าจำเลยที่ 1 จะได้ทำงานในตำแหน่งใด และโดยปกติในการทำงานลูกจ้างย่อมมีโอกาสก้าวหน้าเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกัน อีกทั้งสัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ มิได้มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยช่างเทคนิคและจำเลยที่ 2 จะรับผิดชอบขณะที่จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้น แม้ต่อมาตำแหน่งของจำเลยที่ 1 จะเปลี่ยนเป็นพนักงานขายซึ่งอาจมีผลเป็นการเพิ่มภาระการเสี่ยงภัยให้จำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันมีต่อโจทก์ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.แรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเงินบำเหน็จ – การกระทำผิดวินัยร้ายแรงเป็นเหตุตัดสิทธิ – ข้อบังคับบริษัทชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานฯ จะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จต้องยื่นคำขอรับเงินบำเหน็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พนักงานผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จถึงแก่ความตายหรือนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากงานแล้วแต่กรณีก็ตาม แต่สิทธิเรียกเงินบำเหน็จนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปี หาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 193/11 โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี จำเลยจะยกข้อบังคับของจำเลยข้างต้นขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่ แต่การที่โจทก์อนุญาตให้รถร่วมทำการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย เป็นการจงใจปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยโดยชัดแจ้ง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเมื่อโจทก์เก็บเงินค่าจ้างขนส่งจากผู้ว่าจ้างได้แล้วไม่นำฝากเข้าบัญชีของจำเลยกลับนำเงินดังกล่าวไปฝากเข้าบัญชีภริยาของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะไม่จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลยที่ว่า พนักงานไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงชีพหรือบำเหน็จถ้าถูกออกจากงานเพราะกระทำความผิดทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของจำเลย เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง ข้อบังคับดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้และเป็นเงื่อนไขที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันจำเลยกับพนักงานของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้บริษัทผู้ถือหุ้นขาดทุน แต่จำเลยยังมีกำไรและงานยังไม่ลดลง
จำเลยเป็นบริษัทจำกัดที่ชำระมูลค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว บริษัทที่ถือหุ้นของจำเลยจะประกอบกิจการขาดทุนก็ไม่มีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของจำเลย แม้ผลประกอบการของจำเลยจะมีกำไรสุทธิน้อยลง แต่ก็ยังคงมีกำไรอยู่ ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่างานของจำเลยได้ลดน้อยลงมากหรือประสบกับการขาดทุนจนถึงขนาดต้องลดรายจ่ายและลดจำนวนพนักงานเพื่อพยุงฐานะของจำเลยให้อยู่รอด การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้บริษัทมีกำไร แต่ไม่มีเหตุผลความจำเป็นทางธุรกิจ
จำเลยเป็นบริษัทจำกัดที่ชำระมูลค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว บริษัทที่ถือหุ้นของจำเลยจะประกอบกิจการขาดทุนก็ไม่มีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของจำเลย แม้ผลประกอบการของจำเลยจะมีกำไรสุทธิน้อยลง แต่ก็ยังมีกำไรอยู่ ไม่ปรากฏว่างานของจำเลยลดน้อยลงมากหรือประสบการขาดทุนจนถึงขนาดต้องลดรายจ่ายและลดจำนวนพนักงานเพื่อพยุงฐานะจำเลยให้อยู่รอด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดงานงดจ้างชอบด้วยกฎหมายเมื่อเจรจาข้อเรียกร้องไม่เป็นผล แม้มีการลงชื่อในบันทึกข้อตกลงบางส่วน
การที่สหภาพแรงงานฟาร์-อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ต่อโจทก์(นายจ้าง)หลายข้อ แต่ผู้แทนโจทก์ยินยอมตกลงตามข้อเรียกร้องเพียง 2 ข้อ ตามที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยในครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้แทนสหภาพแรงงานฟาร์-อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ มิได้ยอมรับ ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการเจรจาตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอื่น ๆ ที่เหลือต่อไปอีก ฉะนั้น การเจรจาตกลงกันในวันที่ 28 มีนาคม 2544 จึงสิ้นสุด โดยที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ผู้แทนโจทก์ไม่ไปเจรจาตามนัด และไม่มีการเจรจาตกลงกันในวันดังกล่าว การที่ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟาร์ - อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ ไปลงชื่อในบันทึกข้อตกลงตามที่ผู้แทนโจทก์ได้ตกลงไว้ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 นั้น ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงที่สิ้นผลไปแล้ว กลับมามีผลได้อีก จึงต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานตามข้อเรียกร้องดังกล่าวยังเป็นข้อที่ตกลงกันไม่ได้ การใช้สิทธิแจ้งปิดงานงดจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิปิดงานต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการเจรจาตกลงยังไม่สำเร็จ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
โจทก์และสหภาพแรงงาน ฟ. ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ในเรื่องการใช้สิทธิปิดงานพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจึงดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ตกลงกัน การที่ผู้แทนโจทก์ได้ยินยอมตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฟ. จำนวน 2 ข้อ ในการไกล่เกลี่ยในครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 นั้น เป็นเพียงการสนองรับข้อเสนออันเป็นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฟ. เพียงบางข้อเท่านั้น การยินยอมตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการเสนอข้อเรียกร้องใหม่แต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟ. ไม่ยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการเจรจาตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอื่นๆ ที่เหลือต่อไปอีก ฉะนั้นการเจรจาตกลงกันในวันที่ 28 มีนาคม 2544 จึงสิ้นสุดโดยไม่สามารถตกลงกันได้ ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ผู้แทนโจทก์ก็ไม่ได้ไปเจรจาตามนัด จึงไม่มีการเจรจาตกลงกันในวันดังกล่าว การที่ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟ. ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงตามที่ผู้แทนโจทก์ได้ยินยอมตกลงไว้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 ในภายหลังนั้น ก็ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงของฝ่ายโจทก์ซึ่งสิ้นผลไปแล้วกลับมามีผลผูกพันฝ่ายโจทก์ได้อีก ฉะนั้น จึงต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานตามข้อเรียกร้องดังกล่าวยังเป็นข้อที่ตกลงกันไม่ได้ การใช้สิทธิแจ้งปิดงานงดจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 34 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงาน
of 205