คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา สุทธิบดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่จำเลยต้องมีสิทธิในบ้านพิพาท การเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ตายไม่ทำให้ได้สิทธิในทรัพย์สิน
คดีสืบเนื่องมาจาก ก. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. ให้ออกจากบ้านพิพาท ในระหว่างพิจารณา บ. ถึงแก่กรรม ศาลอนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองบ้านพิพาทเข้าเป็นคู่ความแทน บ. แม้ต่อมาศาลฎีกาจะยกฟ้องคดีดังกล่าวและผลแห่งคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ แต่ไม่ได้ทำให้โจทก์ได้สิทธิในบ้านพิพาทแทน บ. โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะคือ บ. มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแทน บ. ในระหว่างพิจารณาเท่านั้น โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิในบ้านพิพาทนอกเหนือจากการที่โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนที่ บ. อย่างไร โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์นำสืบว่า ก่อน บ. ถึงแก่กรรม บ. ได้ยกบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ด้วยวาจา โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรื่องนี้ไว้ แม้ศาลชั้นต้นจะให้โจทก์นำสืบประเด็นดังกล่าวและศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นนี้ไว้ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นเรื่องนำสืบนอกฟ้องและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาและอำนาจตัดค่าจ้างทำให้ขาดคุณสมบัติสมาชิกสหภาพแรงงาน
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกงบประมาณและการเงินระดับ 8 มีอำนาจในการตัดค่าจ้างหรือลดค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของโจทก์ตามระเบียบและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543และเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกและกรรมการของสหภาพแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 51 วรรคสอง และมาตรา 56 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สำนักงานสาขาประกันภัย ไม่ถือเป็นภูมิลำเนาของบริษัทในการฟ้องร้อง
สำนักงานสาขาอุดรธานีของบริษัทจำเลยที่ 3 เป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 3 แต่ไม่ปรากฏว่าสำนักงานสาขาอุดรธานีของจำเลยที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 คงได้ความเพียงว่าโจทก์ได้ไปติดต่อให้สำนักงานสาขาอุดรธานีชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้นซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุละเมิดแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาอุดรธานีของจำเลยที่ 3 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 ในส่วนกิจการอันได้กระทำเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดอุดรธานี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องจำเลยต่างภูมิลำเนา กรณีสำนักงานสาขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญา
เหตุคดีนี้เกิดในเขตศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดอุทัยธานี จำเลยที่ 2 เจ้าของรถยนต์และนายจ้างของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนจำเลยที่ 3 บริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แม้สำนักงานสาขาอุดรธานีของจำเลยที่ 3 จะเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 3 แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า สำนักงานสาขาอุดรธานีของจำเลยที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 อย่างใด คงได้ความเพียงว่าโจทก์ได้ไปติดต่อให้สำนักงานสาขาอุดรธานีชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้นซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุละเมิดแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาอุดรธานีของจำเลยที่ 3 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 ในส่วนกิจการอันได้กระทำเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลชั้นต้น ( ศาลจังหวัดอุดรธานี) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5248/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพตามฟ้องรวมถึงการยอมรับประวัติโทษจำคุกเดิม ศาลบวกโทษเดิมได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2079/2542 ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ภายในกำหนดระยะเวลารอการลงโทษดังกล่าวจำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีก เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จำเลยฟัง จำเลยก็ได้ให้การว่า "ได้ทราบคำฟ้องตลอดแล้ว ข้าพเจ้าจำเลยขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง" คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องดังกล่าวจึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องด้วย ศาลชั้นต้นจึงนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้คดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5248/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพตามฟ้องรวมถึงการยอมรับประวัติอาชญากรรมเดิม และการบวกโทษจำคุกรอการลงโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2079/2542 ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ภายในกำหนดระยะเวลารอการลงโทษดังกล่าวจำเลยกระทำความผิดคดีนี้อีกขอให้บวกโทษเข้ากับโทษของจำเลยคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จำเลยฟัง จำเลยได้ให้การว่า ได้ทราบคำฟ้องตลอดแล้ว ข้าพเจ้าจำเลยขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องดังกล่าวจึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องด้วย ศาลชั้นต้นจึงนำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำคุกในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายให้เบาลงแล้วรวมโทษจำคุกกับฐานอื่นเป็นจำคุก 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยไม่ได้ระบุว่าให้นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษคดีนี้ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าในที่สุดแล้วศาลลงโทษจำคุก จำนวนเท่าใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดเจนขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ข้อสำคัญคือการออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
การพิจารณาคดีตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ต้องให้ได้ความว่า จำเลยกระทำการครบถ้วนตามองค์ประกอบความผิดที่กฎหมายบัญญัติ กล่าวคือได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนปัญหาว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงินแล้วมีการชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ศาล จะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยในคดีเรื่องนั้นกระทำความผิดหรือไม่ เว้นแต่เป็นการเบิกความว่า ได้ใช้เงินตามเช็ค ให้แก่ผู้ทรงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือทวงถามว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ซึ่งทำให้คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 ดังนี้ การที่จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีที่โจทก์ถูกฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คไม่เคยชำระเงินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คเลย จึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเบิกความ ต่อศาลดังกล่าวก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จ ตาม ป.อ. มาตรา 177 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีเช็ค: ข้อสำคัญคือการออกเช็คเพื่อชำระหนี้จริง ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่การชำระหลังปฏิเสธ
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534ขึ้นอยู่กับการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แล้วธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ส่วนปัญหาว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมีการชำระเงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คมากน้อยเพียงใด มิใช่ข้อสำคัญในคดี เพราะไม่ใช่เหตุผลที่ศาลจะนำไปวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นการเบิกความว่า ได้ใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือทวงถามว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นซึ่งทำให้คดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความว่า หลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ผู้ออกเช็คไม่เคยชำระเงินให้แก่จำเลยจึงมิใช่ข้อสำคัญในคดี แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำการตามฟ้องก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน การครอบครองประโยชน์ใช้สอย และสิทธิยึดหน่วงบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาท โดยมีข้อตกลงว่าจะไปจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนให้โจทก์เมื่อจำเลยนำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้ว จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองโจทก์ชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนและจำเลยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วแม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียน แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ โจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงย่อมมีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 193/27 และ 241 แม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน 10 ปี คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยไปแบ่งแยกที่ดินด้านทิศใต้ส่วนที่โจทก์ครอบครอง แล้วโอนให้โจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ ก็เป็นเพียงประมาณการเท่านั้นเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ช่างรังวัดสอบเขตและทำแผนที่พิพาทตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยโจทก์และจำเลยเป็นผู้นำชี้ซึ่งช่างรังวัดที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ครอบครองได้เนื้อที่27 ไร่ 1 งาน 42 ตารางวา ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามเนื้อที่ซึ่งปรากฏในแผนที่พิพาทได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการสอบถามจำเลยก่อนแต่งทนาย และผลต่อการดำเนินคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยโดยยังไม่ได้สอบถามเรื่องทนายความเสียก่อน แม้กระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173 แต่ในวันสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยได้แต่งทนายความเข้ามาว่าต่างให้และทนายความของจำเลยยังแก้ต่างให้จำเลยทุกนัดจนเสร็จคดี จำเลยจึงมีทนายความดำเนินคดีให้แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
of 205