พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการสอบถามจำเลยก่อนแต่งทนาย และผลต่อการดำเนินคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยโดยยังไม่ได้สอบถามเรื่องทนายความเสียก่อน แม้กระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173 แต่ในวันสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยได้แต่งทนายความเข้ามาว่าต่างให้และทนายความของจำเลยยังแก้ต่างให้จำเลยทุกนัดจนเสร็จคดี จำเลยจึงมีทนายความดำเนินคดีให้แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่ากับคดีใหม่: การยอมรับของจำเลยถือเป็นความเข้าใจในคำพิพากษาเดิม
ขณะที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการโดยมิได้ให้การถึงคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ถือได้ว่าจำเลยได้รับว่าเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกและรอการลงโทษไว้จริงตามฟ้องด้วย ประกอบกับจำเลยยอมรับในอุทธรณ์ว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นบวกโทษจำคุกในคดีก่อนเข้ากับคดีนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3640/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่าในคดีปัจจุบัน และการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณต่อจำเลย
แม้ขณะที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการโดยมิได้ให้การถึงคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีก่อนที่โจทก์ขอให้บวกโทษก็ตาม ก็ถือได้ว่า จำเลยได้รับว่าเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกและรอการลงโทษไว้จริงตามฟ้องด้วย ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและบวกโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 เข้ากับคดีนี้แล้ว จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษและกล่าวถึงเรื่องที่จำเลยถูกจับไปดำเนินคดีตามสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 ของศาลชั้นต้นอันเป็นการยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงบวกโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 642/2542 เข้ากับคดีนี้ได้
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯมาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทสำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษ ซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯมาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมมาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทสำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาตรา 67 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะมีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษ ซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐานเพียงพอลงโทษคดียาเสพติด แม้กฎหมายกำหนดโทษสูง ศาลต้องฟังพยานหลักฐานก่อน
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ไม่จำต้องได้ความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพียงแต่ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงก็เป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลจะลงโทษจำเลยโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้นเพราะเป็นกรณีที่โจทก์เพียงแต่นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นเป็นเค้ามูลเพื่อประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, การสืบพยานนอกฟ้อง, และการใช้คำให้การในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานหนี้
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องดังกล่าวทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ในคดีแพ่ง มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่อาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานการกู้ยืมจากคำให้การในคดีอาญา: รับฟังได้หากลงลายมือชื่อสมัครใจ
จำเลยได้ให้การและเบิกความในคดีอาญาโดยสมัครใจว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมนี้ได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3435/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแรงงาน, สัญญาค้ำประกัน, และการรับฟังพยานหลักฐาน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่นำส่งแก่โจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ด้วย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีนี้มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
หนังสือที่ระบุว่าเป็นสัญญาค้ำประกันมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อโจทก์อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่สัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 17 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
หนังสือที่ระบุว่าเป็นสัญญาค้ำประกันมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อโจทก์อยู่ด้วย จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่สัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 104และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 17 จึงไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควร แม้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจึงชอบธรรม
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 กำหนดข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับไว้ใน (1) ถึง (5) แต่ก็มิได้หมายความว่า นอกจากข้อยกเว้นดังกล่าวแล้วนายจ้างไม่อาจเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเพราะเหตุอื่น ๆ ได้อีก หากนายจ้างมีเหตุผลที่จำเป็นไม่ว่าจะเกิดจากนายจ้างหรือลูกจ้าง นายจ้างก็ย่อมมีสิทธิที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ปรากฏว่าผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นลูกจ้างโจทก์ตามสัญญาจ้างชั่วคราวอันเป็นนโยบายช่วยเหลือบุตรและญาติเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีลูกจ้างในโครงการประมาณ 500คน เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้าง โจทก์บรรจุลูกจ้างดังกล่าวเป็นพนักงานประจำประมาณ350 คน และโจทก์ตั้งคณะทำงานโดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อบรรจุลูกจ้างที่เหลือ แต่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีเหตุผลและความชอบธรรมที่จะเลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดได้ นอกจากนี้โจทก์ยังเลิกจ้างลูกจ้างคนอื่น ๆ ที่ไม่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดจึงมิใช่เป็นเพราะสาเหตุจากการที่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภา หรือเพราะเหตุที่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น ไม่ถือว่าโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้งเลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ด แต่เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลและจำเป็นมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุผลอันสมควร แม้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานก็ไม่อาจอ้างขัดขวางได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 ที่มีข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับไว้ใน (1) ถึง (5) ได้นั้น มิได้หมายความว่านอกจากข้อยกเว้นดังกล่าวแล้วนายจ้างไม่อาจเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเพราะเหตุอื่น ๆ ได้อีก ดังนั้นหากนายจ้างมีเหตุผลที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นเหตุผลของฝ่ายนายจ้างหรือเหตุผลที่เกิดจากลูกจ้าง นายจ้างก็ย่อมมีสิทธิที่จะเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวได้
ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นลูกจ้างคุรุสภาโจทก์ตามสัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวตามนโยบายช่วยเหลือบุตรและญาติเจ้าหน้าที่ เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างแล้วโจทก์ได้บรรจุเป็นพนักงานประจำประมาณ 350 คน คงเหลืออยู่ประมาณ 150 คน รวมทั้งผู้กล่าวหาทั้งเจ็ด ต่อมาคณะกรรมการของโจทก์ได้ร่วมประชุมกับสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภากำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อบรรจุลูกจ้างส่วนที่เหลือ ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โจทก์จึงมีเหตุผลและความชอบธรรมที่จะเลิกจ้างได้ตามหลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และโจทก์ยังได้เลิกจ้างลูกจ้างคนอื่น ๆ ที่ไม่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดมิใช่เป็นเพราะสาเหตุจากการที่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาหรือเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้งเลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ด จึงมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123
ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นลูกจ้างคุรุสภาโจทก์ตามสัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวตามนโยบายช่วยเหลือบุตรและญาติเจ้าหน้าที่ เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างแล้วโจทก์ได้บรรจุเป็นพนักงานประจำประมาณ 350 คน คงเหลืออยู่ประมาณ 150 คน รวมทั้งผู้กล่าวหาทั้งเจ็ด ต่อมาคณะกรรมการของโจทก์ได้ร่วมประชุมกับสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภากำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อบรรจุลูกจ้างส่วนที่เหลือ ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โจทก์จึงมีเหตุผลและความชอบธรรมที่จะเลิกจ้างได้ตามหลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และโจทก์ยังได้เลิกจ้างลูกจ้างคนอื่น ๆ ที่ไม่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดมิใช่เป็นเพราะสาเหตุจากการที่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาหรือเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้งเลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ด จึงมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: คำร้องของจำเลยเฉพาะราย ไม่ถือเป็นคำร้องแทนกันทั้งหมด
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องและลงชื่อท้ายคำร้องเพียงผู้เดียวเท่านั้น คำร้องดังกล่าวจึงเป็นคำร้องของจำเลยที่ 1โดยเฉพาะ จะแปลความว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ด้วยหาได้ไม่ ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เข้าใจผิดคิดว่าการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หมายถึงจำเลยทุกคนนั้น ก็มิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด และเหตุที่อ้างก็มิใช่เหตุสุดวิสัยอันจะมีคำขอภายหลังสิ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 กรณีจึงไม่มีเหตุจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้