คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา สุทธิบดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลสมควร, การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ, และฟ้องซ้ำ
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์และขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในขณะที่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นครั้งที่สองโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าส่วนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งโดยมูลเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ถูกจำเลยเลิกจ้างและเรียกร้องในทำนองเดียวกันกับคดีนี้ ก็เป็นการเรียกร้องที่สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ครั้งแรก แม้คดีทั้งสองจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้กับมูลคดีที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นมูลคดีที่มิได้เกิดขึ้นในคราวเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทก็แตกต่างกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย และการค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงการที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยก็ได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยดังกล่าวก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, เหตุผลอันสมควร, การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์และขอให้จ่ายค่าจ้างซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในขณะที่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นครั้งที่สองโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ส่วนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งโดยมูลเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ถูกจำเลยเลิกจ้างและเรียกร้องในทำนองเดียวกันกับคดีนี้ ก็เป็นการเรียกร้องที่สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ครั้งแรกแม้คดีทั้งสองจะถึงที่สุดแล้ว แต่ทั้งสองคดีมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในคราวเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทก็แตกต่างกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลยแต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและการค้าชำระเงินทดรองยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว และแม้จำเลยจะมีคำสั่งรับโจทก์กลับเข้าทำงานและมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกันก็เป็นเพียงวิธีการที่จำเลยจำต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานก่อนเท่านั้น มิใช่เป็นการกระทำเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน แม้เป็นการกระทำต่อบัญชีของตนเอง มิถือว่าร้ายแรงเพียงพอต่อการเลิกจ้าง
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และนาง ส. มารดาโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารของจำเลยที่ 1 โดยกำหนดเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินว่าคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว แต่คงมีเฉพาะโจทก์เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย จึงน่าเชื่อว่าในทางปฏิบัติคงมีเฉพาะโจทก์เท่านั้นที่ทำหน้าที่ในการสั่งจ่ายถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำการที่โจทก์ไม่ได้นำสมุดคู่ฝากสำหรับบัญชีเงินฝากประจำมาดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของจำเลยที่ 1 นั้น เนื่องจากโจทก์เกรงว่านาง ส. จะทราบเรื่องที่โจทก์ถอนเงินจำนวน 200,000 บาทไป จึงทำให้โจทก์ต้องสร้างหลักฐานตัวเลขขึ้น 200,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่ 321-1-01428-7 แล้วโอนมาเข้าบัญชีเงินฝากประจำเพื่อให้ตัวเลขจำนวนเงินในสมุดคู่ฝากของบัญชีเงินฝากประจำคงเดิม การกระทำของโจทก์ดังกล่าวแม้จะเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่ก็เป็นการกระทำต่อบัญชีเงินฝากของโจทก์และมารดาโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิในการถอนเงินตามบัญชีดังกล่าวได้อยู่แล้ว โจทก์มิได้ปลอมแปลงลายมือชื่อของผู้ใด การกระทำของโจทก์ไม่เกิดผลกระทบต่อลูกค้าอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 และเงินสดของจำเลยที่ 1 ก็มิได้สูญหาย อีกทั้งข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะฟังว่าโจทก์ได้กระทำความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่ 1 กรณีร้ายแรงการที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ไม่ใช่การเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตาม มาตรา 67

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเพิกถอนการเลิกจ้างภายหลังพบเหตุฝ่าฝืนสัญญา
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่จริงและเป็นเจตนาของนายจ้างที่จะเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวถือไม่ได้ว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยสำคัญผิด และแม้นายจ้างจะพบเหตุอื่นในภายหลังก็ไม่สามารถอ้างเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้กลฉ้อฉลให้นายจ้างเลิกจ้าง ฉะนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานอุทธรณ์ว่าโจทก์ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นการฉ้อฉลนายจ้างให้สำคัญผิดเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์แล้วสัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์จึงสิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป บริษัท ด. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีก แม้ภายหลังบริษัท ด. จะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง ก็จะยกมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและเหตุผลอื่นภายหลัง การเพิกถอนการเลิกจ้างทำไม่ได้เมื่อความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่จริงและเป็นเจตนาของนายจ้างที่จะเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว ถือไม่ได้ว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยสำคัญผิด และแม้นายจ้างจะพบเหตุอื่น (ความผิดของโจทก์) ในภายหลังก็ไม่สามารถอ้างเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้กลฉ้อฉลให้นายจ้างเลิกจ้าง ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นการฉ้อฉลนายจ้างให้สำคัญผิด จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์สิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยบริษัท ค. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีกแม้ภายหลังบริษัท ด. นายจ้างจะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง บริษัท ด. นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้ เพราะความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์ได้สิ้นสุดไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเลิกจ้างสองภาษา: เจตนาของคู่กรณี และขอบเขตการต่อสู้คดีค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยทำหนังสือเลิกจ้างเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยในฉบับเดียวกัน แม้จำเลยจะเป็นบริษัทต่างประเทศ แต่จำเลยก็ประกอบกิจการในประเทศไทยและโจทก์หรือลูกจ้างอื่น ๆ ของจำเลยก็เป็นคนไทย ฉะนั้นเมื่อมิได้มีข้อความระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในกรณีที่ข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษและข้อความที่เป็นภาษาไทยแตกต่างกันให้ใช้ข้อความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก จึงต้องถือว่าเป็นกรณีที่มิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับและต้องถือตามข้อความที่เป็นภาษาไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14
ข้อความภาษาไทยระบุถึงเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงาน ขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายและประสิทธิภาพในการทำงานของโจทก์ไม่เป็นที่ยอมรับของจำเลย สาเหตุที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวมิใช่สาเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ฉะนั้น จำเลยจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หาได้ไม่ตามมาตรา 17 วรรคสาม
ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หมายถึงจำเลยจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้นแม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในคำให้การขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเลิกจ้างสองภาษา: เจตนาของคู่สัญญาและสิทธิการได้รับค่าชดเชย
หนังสือเลิกจ้างของบริษัทจำเลยจัดทำขึ้นเป็นสองภาษาคือภาษาอังกฤษและภาษาไทยในฉบับเดียวกัน แม้จำเลยจะเป็นบริษัทต่างประเทศแต่ก็ประกอบกิจการในประเทศไทย และโจทก์กับลูกจ้างอื่น ๆ ของจำเลยก็เป็นคนไทย ดังนั้น แม้หนังสือดังกล่าวจะไม่มีการระบุไว้ชัดแจ้งว่า หากข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษกับข้อความที่เป็นภาษาไทยแตกต่างกันให้ใช้ข้อความภาษาอังกฤษเป็นหลัก กรณีจึงต้องถือว่ามิอาจหยั่งทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับ จึงต้องถือตามข้อความที่เป็นภาษาไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 14 เมื่อข้อความภาษาไทยระบุถึงเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานขาดความรับผิดชอบและประสิทธิภาพในการทำงานของโจทก์ไม่เป็นที่ยอมรับของจำเลย อันมิใช่สาเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยจะยกเหตุตามมาตราดังกล่าวมาอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ในภายหลังหาได้ไม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ที่ระบุกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง หากมิได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิก นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น หมายถึง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้หากมิได้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วย ฉะนั้น แม้ในหนังสือเลิกจ้างจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่การงานและขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย จำเลยก็สามารถยกเหตุการณ์การกระทำผิดอื่น ๆของโจทก์ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีความผิดทางอาญาจากการเดินโพยสลากกินรวบ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างของผู้คัดค้าน มอบเงินให้ อ. ไปล่อซื้อสลากกินรวบจากผู้คัดค้าน เป็นเพียงวิธีการแสวงหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำผิดของผู้คัดค้าน มิใช่การป้ายสียัดเยียดความผิดให้ผู้คัดค้าน เพราะหาก ผู้คัดค้านมิได้เป็นผู้เดินโพยฝ่ายเจ้ามือเมื่อ อ. ไปขอซื้อสลากกินรวบจากผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ต้องปฏิเสธไม่ขาย สลากกินรวบให้ ความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการล่อซื้อดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้เงินที่ใช้ซื้อสลากกินรวบจะเป็นเงินที่ใช้ล่อซื้อ เมื่อผู้คัดค้านรับเงินดังกล่าวไว้ในการขายสลากกินรวบ การกระทำของผู้คัดค้านก็เป็นความผิดฐานเล่นการพนันสลากกินรวบแล้ว
ผู้เดินโพยสลากกินรวบคือตัวแทนของเจ้ามือรับกินรับใช้ในการขายสลากกินรวบให้แก่ผู้ซื้อสลากกินรวบ ผู้เดินโพยจะได้ค่าตอบแทนจากการขายสลากกินรวบ ผู้เดินโพยจึงมีความผิดฐานเล่นการพนันสลากกินรวบ และความผิดดังกล่าวมีบทลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 12 การกระทำของผู้คัดค้านจึงฟังได้ว่าเป็นความผิดทางอาญาโดยไม่ต้องมีคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาก่อน
ตามพ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างแล้วนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ เมื่อผู้ร้อง(นายจ้าง)ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างและกรรมการลูกจ้างได้ ก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง การที่ผู้ร้องจะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าชดเชยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องมีคำสั่งเลิกจ้างแล้ว ไม่สมควรจะมีคำสั่งเรื่องค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรรมการแรงงาน กรณีเล่นการพนันในที่ทำงาน และการพิจารณาค่าชดเชย
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านมีความมุ่งหมายที่จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางที่ว่าผู้คัดค้านเล่นการพนันสลากกินรวบโดยเป็นผู้เดินโพยฝ่ายเจ้ามือ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างของผู้คัดค้านมอบเงินให้แก่ผู้อื่นไปล่อซื้อสลากกินรวบจากผู้คัดค้านเป็นเพียงวิธีการแสดงหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์การกระทำความผิดของผู้คัดค้านเท่านั้น มิใช่เป็นการป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้แก่ผู้คัดค้าน วิธีการล่อซื้อดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งผู้เดินโพยสลากกินรวบก็คือตัวแทนของเจ้ามือรับกินรับใช้ในการขายสลากกินรวบให้แก่ผู้ซื้อสลากกินรวบนั่นเอง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นความผิดทางอาญาแล้วโดยไม่จำต้องมีคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างแล้วนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ ดังนั้นเมื่อผู้ร้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านไว้แล้ว ก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่งการที่ผู้ร้องจะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าชดเชยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องมีคำสั่งเลิกจ้างแล้ว ไม่สมควรที่ศาลแรงงานกลางจะพึงมีคำสั่งไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นจึงต้องยกคำขอของผู้ร้องข้อนี้เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงค่าปรับในสัญญาจ้างแรงงาน และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ข้อตกลงที่ลูกจ้างจะชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับให้แก่นายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นข้อตกลงในทางแพ่งโดยทั่วไปซึ่งนายจ้างและลูกจ้างสามารถทำข้อตกลงดังกล่าวได้ และค่าปรับก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเบี้ยปรับคือเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า หากสูงเกินส่วนศาลก็ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายพร้อมค่าปรับจำนวน 5 เท่า ของราคาทรัพย์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
แม้สัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทุกประการก็ตาม แต่ความรับผิดดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหมาย จ. 3 เท่านั้น ส่วนข้อตกลงตามหนังสือแนบท้ายสัญญาจ้างหมาย จ. 4 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้ค่าปรับอีกส่วนหนึ่งจำนวน 5 เท่าของค่าเสียหายแก่โจทก์ เพิ่งจัดทำขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 แล้ว โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อให้ความยินยอมด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับจำนวน 5 เท่า แก่โจทก์
of 205