คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา สุทธิบดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการเลิกจ้างหลังเริ่มกระบวนการฟื้นฟูกิจการ จำเลยยังต้องรับผิดชอบ
คดีนี้ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและตั้งผู้ทำแผน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2543 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลย ส่วนโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543 เรียกค่าจ้างที่ค้าง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจากจำเลยสืบเนื่องมาจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 หนี้ตามคำฟ้องของโจทก์อันเกิดจากการถูกจำเลยเลิกจ้างดังกล่าว จึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าวหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน แต่ก่อนที่ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบด้วยแผน เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหนี้ส่วนนี้ได้กำหนดไว้ในแผนเป็นอย่างอื่น โจทก์ย่อมสามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งได้โดยอยู่ภายใต้ข้อบังคับของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) (5) และมาตรา 90/13 และแม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ แต่มูลหนี้คดีนี้มิได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงมิใช่หนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/75
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันพยายามฆ่าและทำร้ายร่างกายโดยใช้อาวุธปืนและมีด โดยมีเจตนาและร่วมกระทำความผิด
พยานโจทก์ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงและใช้มีดฟันผู้เสียหายทั้งสี่ เบิกความมีรายละเอียดรวมทั้งอธิบายสาเหตุที่มีเรื่องทะเลาะวิวาท และเหตุการณ์ขณะผู้เสียหายที่ 1 ถูกยิง ผู้ที่ยิง ผู้ที่ร่วมในเหตุการณ์ โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสาม ว่ากระทำอะไรบ้างตรงกันในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ พยานโจทก์อยู่หมู่บ้านเดียวกับจำเลยทั้งสามรู้จักกันมานานแล้ว โดยเฉพาะผู้เสียหายที่ 3 รู้จักจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก จำเลยทั้งสามเบิกความรับว่า ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกัน จึงไม่มีข้อระแวงสงสัยว่าพยานโจทก์จะเบิกความปรักปรำใส่ร้ายจำเลยทั้งสาม และตามแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุระบุว่า มีรอยเลือดตกอยู่เป็นจำนวนมากที่หน้าร้านอาหาร ห่างหน้าร้านเพียง 2 เมตร ที่หน้าร้านมีหลอดไฟฟ้าติดตั้งอยู่ 1 หลอด และจุดที่พบปลอกกระสุนปืนแม้จะมีหลายจุด แต่มีอยู่ 2 ปลอกที่พบบริเวณหน้าร้านใกล้กับบริเวณที่มีรอยเลือด แสดงว่าเหตุเกิดบริเวณหน้าร้านอาหาร เชื่อว่ามีแสงสว่างมองเห็นได้ พยานโจทก์จึงสามารถมองเห็นและจำจำเลยทั้งสามได้โดยไม่ผิดพลาด พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคง การอ้างฐานที่อยู่ของจำเลยทั้งสามไม่มีน้ำหนักเพียงพอจะหักล้างได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้อาวุธปืนและมีด ยิงและฟันผู้เสียหายทั้งสี่
ปืนเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงสามารถทำอันตรายต่อชีวิตได้ จำเลยที่ 1 ยิงผู้เสียหายที่ 1 บริเวณอวัยวะสำคัญ แสดงว่ามีเจตนาฆ่า แต่แพทย์รักษาไว้ทันท่วงที จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมมาในที่เกิดเหตุในลักษณะพร้อมจะเข้าร่วมกระทำความผิดและได้เข้าร่วมกระทำความผิด โดยจำเลยที่ 3 ส่งอาวุธปืนให้จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้มีดฟันที่ศีรษะผู้เสียหายที่ 2 ในขณะเข้าช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นตัวการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งซื้อพัสดุเพื่อเลี่ยงวิธีสอบราคาถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ และเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบโจทก์ว่าด้วยการพัสดุ ข้อ 16 กำหนดว่า "การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจะจ้างในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เพื่อให้อำนาจอนุมัติการซื้อการจ้างเปลี่ยนไปจะกระทำมิได้" การที่นาย ม. ได้แบ่งการจัดซื้อจากใบสั่งของฝ่ายต่างๆในบริษัทแยกเป็นการจัดซื้อแต่ละใบไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อจะได้ทำการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษไม่ต้องใช้วิธีสอบราคา จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2547 ข้อ 16 และเป็นกรณีที่ร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิเลิกจ้างนาย ม. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (4) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคท้าย และ ป.พ.พ. มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16007/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การจ่ายค่าอาหารหรือหยุดชดเชยไม่สามารถใช้แทนได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 62, 63 บัญญัติให้นายจ้างปฏิบัติในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดโดยเคร่งครัดตามอัตราที่กำหนดไว้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาเพื่อคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องค่าแรงงาน จึงกำหนดอัตราค่าแรงงานไว้มิให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ถือว่าเป็นบทบังคับเด็ดขาด ซึ่งจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยจ่ายค่าอาหาร ค่าจ้างโดยคำนวณจากยอดขายสินค้า และจัดให้ลูกจ้างหยุดชดเชยในวันอื่น โดยไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่อาจใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16007/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดนายจ้างต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การจ่ายค่าอาหารหรือหยุดชดเชยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 62 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 หรือมาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราดังต่อไปนี้ (1) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย" และมาตรา 63 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย" ดังนั้น การที่จำเลยให้ลูกจ้างและโจทก์ทำงานในวันหยุด โดยจ่ายค่าอาหาร ค่าจ้างโดยคำนวณจากยอดขายสินค้า และจัดให้ลูกจ้างหยุดชดเชยในวันอื่น โดยไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15904/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะการทำงานในตำแหน่งเดิมที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์มีข้อความระบุว่าตามที่โจทก์รับจำเลยที่ 1 ไว้เป็นพนักงานในตำแหน่ง PASSENGER SERVICE หากจำเลยที่ 1 กระทำการใดเป็นการเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่าด้วยประการใดๆ จำเลยที่ 2 จะขอรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ตามความเป็นจริง เป็นกรณี จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายสำหรับการทำงานในตำแหน่ง PASSENGER SERVICE จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมชำระหนี้กรณีจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในขณะจำเลยที่ 1 ทำงานในตำแหน่ง PASSENGER SERVICE เท่านั้น
ตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์มีอำนาจอนุมัติบัตรโดยสารเครื่องบินราคาพิเศษหรือบัตรโดยสารไม่คิดราคา โจทก์ย้ายตำแหน่งจำเลยที่ 1 ไปทำหน้าที่เลขานุการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์ มีหน้าที่ส่งคำสั่งอนุมัติไปให้เจ้าหน้าที่พิมพ์คำสั่งออกบัตรโดยสารราคาพิเศษ หรือรับบัตรโดยสารมาก่อนแล้วให้ผู้โดยสารมารับบัตรและชำระราคาที่จำเลยที่ 1 (จำเลยที่ 1 รับชำระราคาไว้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์) เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 สามารถกระทำการทั้งในหน้าที่ตามระเบียบและฝ่าฝืนระเบียบ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันมากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาหรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานในขณะทำหน้าที่เลขานุการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสฝ่ายการพาณิชย์ ไม่ใช่ในขณะทำงานตำแหน่ง PASSENGER SERVICE จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12603/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดฉ้อโกง แม้โจทก์มิได้อ้างมาตรา 341 โดยตรง ศาลลงโทษตามมาตรา 343 ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 โดยไม่ได้อ้าง ป.อ. มาตรา 341 แต่ความผิดฐานดังกล่าวก็เป็นการกระทำที่มีองค์ประกอบมาจากความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรกได้ ไม่เป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10583/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารสิทธิปลอมและการกระทำความผิดหลายกรรม ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อย ไม่รับฎีกา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก,90 ลงโทษจำเลยตามมาตรา 264 วรรคแรก จำคุก 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามป.อ. มาตรา 341, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามป.อ. มาตรา 90 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 4 กระทง ให้จำเลยคืนเงิน 15,520 บาท แก่ผู้เสียหาย ส่วนโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี 4 เดือน ไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9139/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุผลอันสมควร ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
กรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน ตามขอซึ่งน้อยกว่าสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน แม้ตามกฎหมายแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลแรงงานกลางจะต้องพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย แต่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้" เมื่อปรากฏในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน แต่โจทก์ไม่ได้ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่จะได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน ตามขอจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยตามสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันไม่ใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ
ส่วนกรณีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการแผนกปล่อยปละละเลยไม่วางระเบียบการตรวจสอบให้ดีปล่อยให้มีการปลอมเอกสารและลายมือชื่อในการดำเนินการเสียภาษีนำเข้าตู้สินค้าในนามจำเลยไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดความผิดพลาดในแผนกอาจเกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นการกระทำที่ผิดพลาดอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจึงมีเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่อีกต่อไป เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นดังกล่าวเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8903/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ และวิธีปฏิบัติเมื่อไม่ได้ยื่นคำร้อง
เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2522 มาตรา 3 มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสาม ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2522 มาตรา 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมโจทก์เพียงแต่ยื่นอุทธรณ์โดยหาได้ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้อนุญาตอุทธรณ์ไม่ ทั้งผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้หาได้มีข้อความใดแสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
of 205