คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา สุทธิบดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คดีเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ซึ่งให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และจำเลยมิได้ต่อสู้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวอันจะทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ คู่ความในคดีเดิมจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองคดีนี้เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอน จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับบริวารของจำเลยให้ออกจากไปจากที่ดินของโจทก์ เมื่อคู่ความในคดีเดิมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสองและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยตามมาตรา 248 วรรคสาม ผู้ร้องฎีกาว่า บ้านที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปรื้อถอนเป็นบ้านของผู้ร้อง มิใช่ของจำเลย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ vs. ยักยอก พนักงานธนาคารทุจริตเงินฝากลูกค้า
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งพนักงานธนากรมีหน้าที่รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้า แต่เงินที่ลูกค้านำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าไว้กับผู้เสียหายเป็นของผู้เสียหายและอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย มิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย การที่จำเลยใช้ใบถอนเงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าผู้ฝากต่างกรรมต่างวาระในรูปแบบทางเอกสารเป็นกลวิธีในการถอนเงินของผู้เสียหายจนเป็นผลสำเร็จแล้วทุจริตนำเงินนั้นไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์มิใช่ยักยอก
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษน้อยลงและรอการลงโทษ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และมีเหตุรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาประเด็นแปลงหนี้ใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น ถือเป็นการขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์ให้ ว. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามเอกสารหมาย ล.2 ไว้ ว. ผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้จำเลยรับผิดแทน ว. โดยฉวยโอกาสที่จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แต่จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องแปลงหนี้ใหม่ไว้ในคำให้การ ปัญหาข้อกฎหมายในชั้นอุทธรณ์ที่ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ จึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกา ทำนองเดียวกับที่อุทธรณ์ขึ้นมาอีก จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้เรื่องแปลงหนี้ใหม่ที่ศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องแปลงหนี้ใหม่ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ จึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาทำนองเดียวกับที่อุทธรณ์ขึ้นมาอีก จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำเบิกความผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน การไม่รับฟังพยานหลักฐานอาจเปลี่ยนแปลงผลคดีได้
โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 35 วรรคสามและวรรคสี่ การที่โจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานจึงมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ทางพิจารณาโจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ได้สาบานตนและให้การต่อพนักงานตรวจแรงงงาน หรือเบิกความต่อศาลว่าจำเลยค้างจ่ายค่าจ้าง ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 โดยมิได้พิจารณาคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังพยานหลักฐานอันเป็นสาระแก่คดีซึ่งอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้ คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน ผลผูกพันคำเบิกความต่อโจทก์อื่น การไม่รับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสาม และวรรคสี่ ประกอบข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 5 ซึ่งกำหนดว่า "ผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ทุกคนตั้งแต่เริ่มคดีหรือตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งแล้วแต่กรณี และให้ถือว่าการกระทำของผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีดังกล่าวผูกพันโจทก์ทุกคน" ฉะนั้นภายหลังจากที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว การที่โจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานในคดีจึงต้องถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย คำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามเอกสารหมาย จ.20 และรายละเอียดแนบท้ายหนังสือดังกล่าวซึ่งระบุถึงจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง ถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังพยานหลักฐานอันเป็นสาระแก่คดีซึ่งอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำเบิกความของผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน การพิจารณาพยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟัง
การที่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีนั้น เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาฯ มาตรา 35วรรคสามและวรรคสี่ ภายหลังได้รับแต่งตั้งแล้วโจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานอย่างไรก็ต้องถือว่าคำเบิกความดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 5 ดังนั้นแม้โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จะมิได้เบิกความด้วยตนเองถึงเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามหนังสือที่ระบุจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายแก่โจทก์แต่ละคนอย่างชัดแจ้งก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องดังกล่าวมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแจ้งความเท็จ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีบัตรประชาชน
ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505(ฉบับเก่า) ยังมีผลบังคับใช้อยู่แม้ต่อมาพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526(ฉบับใหม่) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) แต่การยื่นคำขอรับบัตรโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสัญชาติไทย พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่)ก็ยังบัญญัติเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม โดยมาตรา 14 ได้ระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) ดังนั้น พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่) จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) มาตรา 17 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงมีอายุความเพียง5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 จึงเลยกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำผิด คดีจึงขาดอายุความ ต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด, ความผูกพันจากกิจการของตัวแทน, ค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้หนึ่งที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 นอกจากนี้แผนผังอาคารพาณิชย์และใบเสนอราคาหัวกระดาษเอกสารดังกล่าวระบุชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเอกสารของจำเลยที่ 1 ประการสำคัญบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ระบุชัดเจนว่าโครงการสร้างอาคารพาณิชย์พิพาทเป็นโครงการของจำเลยที่ 1 แสดงว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตน
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ใช้บังคับแก่กรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 มิได้กำหนดให้ผู้ขายต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขาย ดังนั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ดี จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาแล้วก็ดี ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
จำเลยที่ 1 ไม่โอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ประกอบมาตรา 222 โดยต้องเป็นความเสียหายที่ปกติย่อมเกิดขึ้นหรือเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษเท่านั้น ไม่จำต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ดังนั้น เมื่อขณะจำเลยที่ 2 เสนอขายอาคารพาณิชย์พิพาทมีราคาห้องละ 2,000,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ห้องละ 850,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: จำเลยที่ 1 ผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่จำเลยที่ 2 (กรรมการ) ทำในฐานะตัวแทน
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้หนึ่งที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะขายอาคารพาณิชย์พิพาทแก่โจทก์โดย ตามแผนผังอาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นและใบเสนอราคาหัวกระดาษที่จำเลยที่ 2 นำมาให้แก่โจทก์ระบุชื่อจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเอกสารของจำเลยที่ 1 อีกทั้งบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ระบุชัดเจนว่าโครงการสร้างอาคารพาณิชย์พิพาทเป็นโครงการที่ 3 ของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามป.พ.พ. มาตรา 821 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตน
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามป.พ.พ. มาตรา 798 นั้นเป็นบทบังคับกรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
of 205