พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการลักทรัพย์: ผู้ขับรถรู้เห็นเป็นใจให้ผู้โดยสารซ่อนตัวเพื่อลักทรัพย์
จำเลยที่ 4 เข้าไปแอบซ่อนตัวอยู่ในช่องเก็บสัมภาระใต้ท้องรถเพื่อลักทรัพย์ของผู้โดยสารโดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วยความรู้เห็นเป็นใจของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ขับรถขณะนำรถมาจอดและรับประทานอาหาร การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 4 ลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลดเงินโบนัสของรัฐวิสาหกิจชอบด้วยกฎหมายเมื่อประเทศชาติอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และมีกฎหมายรองรับ
รัฐวิสาหกิจเป็นกิจการของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เมื่อประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ การปรับลดเงินโบนัสของรัฐวิสาหกิจจะช่วยให้ภาครัฐวิสาหกิจนำเงินที่ประหยัดได้ไปเพิ่มวงเงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุนซึ่งจะทำให้วงเงินลงทุนที่เบิกจ่ายได้จริงมีจำนวนสูงขึ้น และรัฐวิสาหกิจยัง ไม่ได้จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2541 ให้แก่พนักงานประกอบกับ พ.ร.บ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 33 บัญญัติให้พนักงานของจำเลยได้รับเงินโบนัสตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ดังนั้นคณะรัฐมนตรีย่อมมีมติให้ปรับลดเงินโบนัสของพนักงานรัฐวิสาหกิจประจำปี 2541 ซึ่งรวมทั้งพนักงานของจำเลยลงได้ การที่จำเลยปรับลดเงินโบนัส ประจำปี 2541 ของโจทก์ในอัตราร้อยละ 30 ของเงินโบนัสที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการลดโทษผู้กระทำผิดอายุกว่าสิบเจ็ดปีแต่ไม่เกินยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่มีอายุกว่าสิบเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินยี่สิบปี โดยพิเคราะห์ถึงความรู้สึกผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ศาลอาจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง หรืออาจไม่ลดมาตราส่วนโทษให้เลยก็ได้บทบัญญัติมาตราดังกล่าวหาได้บังคับให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยทุกกรณีเสมอไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากเลิกจ้าง: ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือฟ้องศาลแรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
กรณีตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้ว กฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตาม มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ตามมาตรา 123 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 บทบัญญัติตามมาตรา 123 ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือ จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น
โจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้รับเงินต่างๆ ที่พึงได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งมีมูลกรณีเดียวกันไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
โจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิได้รับเงินต่างๆ ที่พึงได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีซึ่งมีมูลกรณีเดียวกันไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกใช้สิทธิทางกฎหมายแรงงาน: ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือฟ้องศาลแรงงาน - เลือกได้ทางเดียว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียวจะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี อันเป็นเงินตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แล้ว ถือว่าโจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อปรากฏว่าระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องของโจทก์ โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้ไปยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ดังกล่าว
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9778-9835/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้าง การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเรื่องวันจ่ายค่าจ้าง และผลต่อการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจำตลอดมา ย่อมถือได้ว่านายจ้างตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดการจ่ายค่าจ้างจากวันสิ้นเดือนเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน โดยปริยาย ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
วันที่ครบกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมายของจำเลยในเดือนมิถุนายน 2541 คือวันที่ 29 มิถุนายน 2541 หากจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อย่างช้าที่สุดต้องภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง
คณะกรรมการบริหารโรงงานน้ำตาลของจำเลยซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประชุมแล้วมีมติให้เลิกจ้างพนักงานในโรงงานน้ำตาล รวมทั้งพนักงานในโรงงานน้ำตาลลำปางคือโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 58 การที่จำเลยได้ส่งประกาศเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลของจำเลยกับหนังสือคำสั่งให้ทางโรงงานน้ำตาลลำปางทำหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางเป็นรายบุคคลทางโทรสารไปยังโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางในเวลาบ่ายของวันประชุมดังกล่าวเพื่อแจ้งให้พนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางทราบ การกระทำเช่นนี้มิใช่เป็นการที่จำเลยส่งโทรสารบอกกล่าวเลิกจ้างไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 โดยตรงเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 การบอกกล่าวเลิกจ้างในลักษณะนี้เป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าอันจะมีผลต่อเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ได้ทราบการแสดงเจตนาบอกเลิกจ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สั่งหรือปิดประกาศหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานเป็นรายบุคคลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 รับทราบ และมีการปิดประกาศสำเนาประกาศเลิกจ้างไว้ที่หน้าโรงงานก่อนเลิกงานเพียง 5 นาที โดยไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 แต่สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางของจำเลยและหลังจากโจทก์ที่ 1 ได้รับทราบหนังสือประกาศเลิกจ้างตามเอกสารซึ่งจำเลยได้ส่งทางโทรสารถึงโจทก์ที่ 1 โดยตรงแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็ได้สั่งให้นำเอกสารดังกล่าวไปปิดประกาศ ถือได้ว่าการแสดงเจตนาบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ก่อนเลิกงานในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงมีผลให้เป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปในวันที่ 29 กรกฎาคม 2541
วันที่ครบกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมายของจำเลยในเดือนมิถุนายน 2541 คือวันที่ 29 มิถุนายน 2541 หากจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จำเลยจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อย่างช้าที่สุดต้องภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงจะเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง
คณะกรรมการบริหารโรงงานน้ำตาลของจำเลยซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประชุมแล้วมีมติให้เลิกจ้างพนักงานในโรงงานน้ำตาล รวมทั้งพนักงานในโรงงานน้ำตาลลำปางคือโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 58 การที่จำเลยได้ส่งประกาศเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลของจำเลยกับหนังสือคำสั่งให้ทางโรงงานน้ำตาลลำปางทำหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางเป็นรายบุคคลทางโทรสารไปยังโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางในเวลาบ่ายของวันประชุมดังกล่าวเพื่อแจ้งให้พนักงานโรงงานน้ำตาลลำปางทราบ การกระทำเช่นนี้มิใช่เป็นการที่จำเลยส่งโทรสารบอกกล่าวเลิกจ้างไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 โดยตรงเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการที่จำเลยมอบหมายให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 การบอกกล่าวเลิกจ้างในลักษณะนี้เป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าอันจะมีผลต่อเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ได้ทราบการแสดงเจตนาบอกเลิกจ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สั่งหรือปิดประกาศหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างพนักงานเป็นรายบุคคลให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 รับทราบ และมีการปิดประกาศสำเนาประกาศเลิกจ้างไว้ที่หน้าโรงงานก่อนเลิกงานเพียง 5 นาที โดยไม่ได้ความว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 ในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 58 แต่สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการโรงงานน้ำตาลลำปางของจำเลยและหลังจากโจทก์ที่ 1 ได้รับทราบหนังสือประกาศเลิกจ้างตามเอกสารซึ่งจำเลยได้ส่งทางโทรสารถึงโจทก์ที่ 1 โดยตรงแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็ได้สั่งให้นำเอกสารดังกล่าวไปปิดประกาศ ถือได้ว่าการแสดงเจตนาบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ก่อนเลิกงานในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จึงมีผลให้เป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปในวันที่ 29 กรกฎาคม 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิ และไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครองของผู้อื่น
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 การที่ พ. เข้ามาครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทก็เพียงแต่ถือว่า พ. มีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติพ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ ดังนั้น แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครองที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินนั้นไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครอง
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 การที่ พ. เข้าครอบครองทำนาในที่ดินพิพาท ก็เพียงมีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษ ตามพ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย เมื่อ พ. เข้าครอบครองที่นาพิพาทโดยไม่ชอบจึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครอง ที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9002/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ระงับหนี้เดิม
ก่อนผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุด แม้ผู้ตายจะทำหนังสือรับสภาพหนี้พิพาทซึ่งเป็นการรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าว ก็ไม่ทำให้หนี้ที่ผู้ตายมีอยู่ตามคำพิพากษาสิ้นไป การรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เพียงขยายเวลาการผ่อนชำระหนี้และงดเว้นเฉพาะดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ผู้ตายจะต้องชำระแก่โจทก์เท่านั้น หนี้ประธานยังไม่ระงับคู่กรณีไม่ได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้แต่อย่างใด มูลหนี้เดิมยังมีอยู่ ทั้งไม่ใช่เป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่แล้วให้เสร็จสิ้นไป หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ได้ก่อให้เกิดหนี้ขึ้นใหม่ การที่โจทก์นำมูลหนี้เดิมซึ่งโจทก์เคยฟ้องผู้ตายและศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายในครั้งหลังโดยอาศัยหนังสือรับสภาพหนี้พิพาทนั้น จึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกัญชาโดยผู้รับจ้างขนส่ง: เจตนาและองค์ประกอบความผิด
จำเลยเป็นเพียงผู้รับจ้าง ส. ขนกัญชาไปมอบให้แก่ผู้ที่ล่อซื้อเท่านั้น จำเลยมิได้มีเจตนายึดถือกัญชาไว้เพื่อตน การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่การที่จำเลยส่งมอบกัญชาให้แก่ผู้ที่ ล่อซื้อเป็นความผิดฐานจำหน่ายกัญชาแล้ว