คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา สุทธิบดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดงานชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่แค่ความไม่แน่นอนทางการค้า
โจทก์สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวเป็นบางวันเป็นระยะๆ อ้างว่าโจทก์ประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าลดลงซึ่งไม่มีความแน่นอน แม้โจทก์จะอ้างว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าเป็นรายสัปดาห์โจทก์จะทราบการสั่งซื้อล่วงหน้าเพียง 3 วัน ถึง 5 วัน ก็เป็นเรื่องปกติของการค้าที่อาจจะมีความไม่แน่นอนบ้าง โจทก์ควรจะต้องวางแผนการบริหารกิจการของโจทก์ล่วงหน้า มิใช่นำสาเหตุดังกล่าวมาสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานชั่วคราว จึงยังมิใช่เหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดกิจการชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นที่สำคัญกระทบต่อการดำเนินงาน มิใช่แค่ปัญหาการสั่งซื้อที่ผันผวน
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันที่ทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองนายจ้างในกรณีที่นายจ้างประสบปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แต่นายจ้างยังมีความประสงค์จะประกอบกิจการของตนอีกต่อไป เพื่อเป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายของนายจ้างจึงให้นายจ้างรับภาระจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างการหยุดงานเพียงครึ่งเดียวแทนที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเต็มจำนวนในระหว่างที่หยุดกิจการนั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองลูกจ้างด้วย เพราะหากไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวนายจ้างอาจไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานทั้งหมดไว้ จำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างทำให้ลูกจ้างต้องตกงานขาดรายได้และได้รับความเดือดร้อน สำหรับความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมากทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้ มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่วๆ ไป เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบแก่กิจการของนายจ้างมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในระหว่างวันที่ 15 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2547 โจทก์สั่งให้ลูกจ้างคือ ป. กับพวกรวม 73 คน หยุดทำงานชั่วคราวเป็นบางวันเป็นระยะๆ การหยุดทำงานชั่วคราวดังกล่าวโจทก์แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าเพียงหนึ่งหรือสองวันเท่านั้น และสาเหตุที่โจทก์ให้ลูกจ้างหยุดงานเนื่องจากลูกค้าสั่งซื้อสินค้าลดลง ลักษณะการสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวของโจทก์ดังกล่าวเป็นการหยุดงานเป็นบางวันเป็นระยะๆ ตามที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าลดลงซึ่งไม่มีความแน่นอน แม้โจทก์จะอ้างว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าเป็นรายสัปดาห์ โจทก์จะทราบการสั่งซื้อล่วงหน้าเพียง 3 วัน ถึง 5 วันก็ตามก็เป็นเรื่องปกติของการค้าที่อาจจะมีความไม่แน่นอนบ้าง โจทก์ควรจะต้องวางแผนการบริหารกิจการของโจทก์ล่วงหน้า มิใช่นำสาเหตุดังกล่าวมาสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานชั่วคราวเป็นบางวันเป็นระยะๆ เช่นนี้ ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างนั้นยังมิใช่เหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้แต่อย่างใด คำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดอยู่ร้อยละห้าสิบแก่ลูกจ้างชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773-7776/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายหอพักของพนักงาน: ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากข้อตกลงไม่ได้ระบุสถานที่เฉพาะ และการฝ่าฝืนคำสั่งย้ายถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับทำงาน
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุไว้แต่เพียงว่าให้จำเลยจัดหอพักให้แก่พนักงานที่อยู่ต่างจังหวัด มิได้ระบุไว้ว่าต้องจัดให้พักเฉพาะที่หอพักจุด 8 เท่านั้น แม้หอพักจุด 10 จะเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความสะดวกสบายเท่านั้นโดยข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมิได้ระบุรายละเอียดไว้ จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุเรื่องสวัสดิการหอพักไว้ ดังนั้นการจัดให้มีหอพักจึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับหอพักจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระภาษีจากการขายทอดตลาด: กรรมสิทธิ์โอนเมื่อจดทะเบียน ผู้ซื้อมีสิทธิรับเงินคืนจากลูกหนี้
แม้ผู้ซื้อทรัพย์จะเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 12723 จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจะโอนไปเป็นของผู้ซื้อทรัพย์ก็ต่อเมื่อมีการนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเท่านั้น และในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นจะต้องมีการตีราคาหรือประเมินราคาที่ดินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนและต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินดังกล่าวนั้นเป็นเงินที่ได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินอันตกเป็นภาระที่ต้องนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้อีกด้วย ฉะนั้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นภาระภาษีของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ซื้อทรัพย์ย่อมมีสิทธิได้รับคืนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพียงเท่าที่มีอยู่หลังจากหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173-228/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกรรมการบริษัทในฐานะนายจ้าง: หลักตัวแทนและการผูกพันของตัวการ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ได้ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ว่า นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ซึ่งความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน มาตรา 820 มีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษในศาลอุทธรณ์และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานร่วมกันกรรโชกและฐานร่วมกันบุกรุก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แต่ละบทระวางโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานร่วมกันกรรโชกจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกรรโชก ให้จำคุก 3 ปี 4 เดือน และให้ยกฟ้องโจทก์ฐานร่วมกันบุกรุก ดังนี้ในความผิดฐานร่วมกันกรรโชกศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดงานชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นสำคัญจากการประกอบกิจการจริง มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการภายใน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง เป็นกฎหมายที่คุ้มครองนายจ้างที่ประสบปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แต่นายจ้างยังมีความประสงค์จะประกอบกิจการของตนอีกต่อไป เพื่อเป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายจึงให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในระหว่างการหยุดงานเพียงครึ่งเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองลูกจ้างด้วย สำหรับความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอางจะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบแก่กิจการมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร
โจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 คน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นการคาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้าง และบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดงานชั่วคราวของนายจ้างต้องมีเหตุผลสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการหรือขาดการวางแผน
ความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้ มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกิจการของนายจ้างมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นนั้นจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร การที่ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2545 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 วัน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลงก็ตาม ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์ดังกล่าวเป็นการหยุดงานตามที่โจทก์คาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้างและบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนงานที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าตอบแทนจากกองทุนเกษียณอายุซ้ำ หลังฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไปแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินค่าตอบแทนตามกองทุนเกษียณอายุในการจ้างโดยกล่าวในคำฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและไม่เป็นธรรม อันเป็นมูลคดีเดียวกับคดีก่อนซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เงินสะสม ตามคดีหมายเลขแดงที่ 9638/2545 ของศาลแรงงานกลาง ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีหมายเลขแดงที่ 9638/2545 ของศาลแรงงานกลางยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนตามกองทุนเกษียณอายุในการจ้างที่โจทก์ฟ้องคดีนี้มีมูลมาจากการเลิกจ้างของจำเลย ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยเมื่อโจทก์ฟ้องคดีก่อน แต่โจทก์มิได้ฟ้องรวมไปในคดีก่อน กลับมาฟ้องใหม่ในคดีนี้อีกโดยอาศัยเหตุแห่งการเลิกจ้างคราวเดียวกันในระหว่างที่คดีก่อนยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6296/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานต้องพิจารณาพยานหลักฐานจากทุกฝ่าย ไม่จำกัดเฉพาะสำนวนพนักงานตรวจแรงงาน
การพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายดังกล่าวหาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 หรือในกรณีที่เป็นคดีทำนองเดียวกับคดีปกครองแล้ว ในการพิจารณาคดีของศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น ศาลแรงงานจะพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใด ๆ ที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมในชั้นพิจารณาคดีของศาลแรงงานไม่ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานดังกล่าวคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาข้อเท็จจริงเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนข้อเท็จจริงของพนักงานตรวจแรงงาน โดยมิได้นำพยานหลักฐานใดที่โจทก์นำสืบเพิ่มเติมไว้ในการพิจารณาคดีมาพิจารณาประกอบด้วย จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบ
of 205