พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างซ่อมรถ: สัญญาประการค้า, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(5) และ 193/34(1) มีอายุความ 5 ปี
โจทก์ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ามีสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันวินาศภัยที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจึงเป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบกับมาตรา 193/34 (1) มีอายุความ 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างซ่อมรถ: ค่าจ้างต่อเนื่องจากสัญญาการค้าไม่ขาดอายุความภายใน 5 ปีนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ามีสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันวินาศภัยที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจากจำเลย เป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) เมื่อสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างของโจทก์นับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175-5177/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของลูกจ้าง: การพิจารณาความผิดและสิทธิประโยชน์
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับจำเลย แต่มิได้เป็นกรณีร้ายแรง ส่วนโจทก์ที่ 3 ไม่ได้กระทำผิดข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีคำสั่งเพิกถอนการไล่ออกแก่โจทก์ทั้งสามตามมติของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งไล่ออกแก่โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 3 โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเนื่องจากต้องออกจากงานในช่วงระยะเวลาที่ถูกเลิกจ้างจนถึงวันกลับเข้าทำงาน ส่วนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดข้อบังคับของจำเลย กรณีไม่ใช่คำสั่งของจำเลยไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด การที่จำเลยระบุในคำสั่งเพิกถอนการไล่ออกแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ว่า ในระหว่างถูกลงโทษไล่ออกจากงาน โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากจำเลย เว้นแต่อายุการทำงานให้นับต่อเนื่องได้โดยไม่นับรวมระยะเวลาที่มิได้ปฏิบัติงานในช่วงที่ถูกลงโทษไล่ออก จึงชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5174/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาลาออกแล้วถูกยับยั้ง และกลับเข้าทำงาน ถือเป็นการถอนการลาออก คำสั่งอนุมัติลาออกจึงไม่ชอบ
โจทก์ได้แสดงเจตนาลาออกแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 แล้ว แม้การแสดงเจตนาดังกล่าวไม่อาจถอนได้ก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้สนองรับ โดยจำเลยได้ยับยั้งการลาออกของโจทก์ไว้แล้วอนุญาตให้โจทก์กลับเข้าทำงานอีก จึงเท่ากับจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ถอนใบลาออก คำเสนอขอลาออกของโจทก์จึงเป็นอันสิ้นความผูกพันแต่นั้นไป ดังนั้น จึงไม่มีหนังสือขอลาออกของโจทก์ที่จำเลยจะอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้อีก คำสั่งของจำเลยที่อนุมัติให้โจทก์ลาออกจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องคดี
ปัญหาที่ว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง และเพิ่งจะยกขึ้นโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธิพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจที่ระบุไว้ว่า "แต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้รับมอบอำนาจ" นั้น มีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกจากกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้ายประมวลรัษฎากรต้องปิดอากรแสตมป์รวม 60 บาท
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจที่ระบุไว้ว่า "แต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้รับมอบอำนาจ" นั้น มีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกจากกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้ายประมวลรัษฎากรต้องปิดอากรแสตมป์รวม 60 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีจึงต้องยก
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง และเพิ่งยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 กำหนดว่ากรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท การที่โจทก์มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับจำเลย... ย่อมมีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องเสียคนละ 30 บาท รวม 60 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท ซึ่งไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 กำหนดว่ากรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท การที่โจทก์มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับจำเลย... ย่อมมีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องเสียคนละ 30 บาท รวม 60 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท ซึ่งไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการเลิกจ้าง: แม้การแต่งตั้งมีข้อบกพร่อง หากจำเลยรับรองย่อมผูกพัน
พ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลย การที่ พ. เลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจแม้ว่าการแต่งตั้งจะมีข้อบกพร่องหรือในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อจำเลยรับรองการแสดงเจตนาของ พ. ที่บอกเลิกจ้างโจทก์เป็นการแสดงเจตนาของจำเลย จึงมีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยกรรมการ/ตัวแทนที่มีข้อบกพร่องในการแต่งตั้ง ผลผูกพันจำเลยตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1166 บัญญัติว่า บรรดาการซึ่งกรรมการได้ทำไปแม้ในภายหลังความปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการคนนั้นมีข้อบกพร่องหรือบกพร่องด้วยองค์คุณควรแก่ตำแหน่งกรรมการ การมิได้ทำนั้นย่อมสมบูรณ์เสมือนดังว่าบุคคลนั้นได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและบริบูรณ์ด้วยองค์คุณของกรรมการ และตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง (1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง (2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้กระทำการแทนด้วย การที่ พ. ซึ่งตามหนังสือรับรองที่เจ้าหน้าที่รับรองว่า พ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลย มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยมีผลผูกพันจำเลยได้บอกเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจ แม้ว่าการแต่งตั้งจะมีข้อบกพร่องหรือในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อจำเลยรับรองการแสดงเจตนาของ พ. ที่บอกเลิกจ้างโจทก์เป็นการแสดงเจตนาของจำเลย จึงมีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การเข้าถือเอาประโยชน์แห่งสัญญา แม้การแต่งตั้งไม่เป็นไปตามกฎหมาย สัญญาจ้างยังผูกพัน
คำให้การของจำเลยข้อ 1.1 และ 1.2 อ้างว่าผู้บริหารของจำเลยไม่มีอำนาจทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลย สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ส่วนคำให้การข้อ 1.4 อ้างว่าโจทก์พ้นจากตำแหน่งรองอธิการบดีไปแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในตำแหน่งดังกล่าวต่อไป เป็นการยอมรับว่าจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ในตำแหน่งรองอธิการบดีตามสัญญาจ้างแต่ปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดเพราะสัญญาสิ้นผลผูกพันคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกัน เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง
จำเลยโดยอธิการบดีของจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งรองอธิการบดี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 90,000 บาท ก่อนถึงวันเริ่มงานตามสัญญาทบวงมหาวิทยาลัยมีคำสั่งให้จำเลยอยู่ในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยจำเลย แม้หลังจากนั้นอธิการบดีของจำเลยออกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นรองอธิการบดีโดยไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการควบคุมฯ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสภาสถาบันแต่งตั้งตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยก็ให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเรื่อยมา จึงเป็นกรณีที่จำเลยเข้าถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาจ้างแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว และ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมฯ ที่จะแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาจ้างได้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น การที่คณะกรรมการควบคุมฯ เคยออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำหน้าที่อาจารย์ประจำ และปฏิบัติภาระหน้าที่อื่นตามที่จำเลยมอบหมายโดยปรับอัตราเงินเดือนโจทก์ใหม่เป็นเดือนละ 60,000 บาท โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมจึงไม่อาจใช้บังคับโจทก์ได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามอัตราเดิมตามข้อตกลงตามสัญญาจ้างอันเป็นสภาพการจ้างที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นตามนั้น
จำเลยโดยอธิการบดีของจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งรองอธิการบดี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 90,000 บาท ก่อนถึงวันเริ่มงานตามสัญญาทบวงมหาวิทยาลัยมีคำสั่งให้จำเลยอยู่ในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยจำเลย แม้หลังจากนั้นอธิการบดีของจำเลยออกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นรองอธิการบดีโดยไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการควบคุมฯ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสภาสถาบันแต่งตั้งตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยก็ให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเรื่อยมา จึงเป็นกรณีที่จำเลยเข้าถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาจ้างแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว และ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมฯ ที่จะแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาจ้างได้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น การที่คณะกรรมการควบคุมฯ เคยออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำหน้าที่อาจารย์ประจำ และปฏิบัติภาระหน้าที่อื่นตามที่จำเลยมอบหมายโดยปรับอัตราเงินเดือนโจทก์ใหม่เป็นเดือนละ 60,000 บาท โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมจึงไม่อาจใช้บังคับโจทก์ได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามอัตราเดิมตามข้อตกลงตามสัญญาจ้างอันเป็นสภาพการจ้างที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงานและการรับสภาพหนี้: การนับอายุความที่ถูกต้องและการขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำละเมิดต่อโจทก์และผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งหากถือเอาอายุความเกี่ยวกับการละเมิดมาบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานมาด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โดยนับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง คือวันที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดไม่ ซึ่งระยะเวลาทั้ง 2 กรณี เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินสิบปีแล้ว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ