คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา สุทธิบดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,050 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดในคดีแรงงาน การขอพิจารณาใหม่ต้องทำภายใน 7 วันตามกฎหมายเฉพาะ
ศาลแรงงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เกินเวลา 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดแล้วตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 41 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 วรรคสองดังกล่าวซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงานบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำ ป.วิ.พ. มารา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน และการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งความอันเป็นเท็จว่า พ. เป็นคนมีสัญชาติไทยและไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเหตุให้พนักงานเจ้าหน้าที่หลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม การกระทำของจำเลยคงมีความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 (1) ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ที่มีระวางโทษเบากว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในแบบคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านบุคคลประเภท 5 ทั้งที่ พ. มีเชื้อชาติและสัญชาติเขมรและร่วมกันแสดงหลักฐานดังกล่าวเพื่อเพิ่มชื่อ พ. ในทะเบียนบ้านและสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นคนสัญชาติไทยจนเจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องอายุความ 10 ปี
เงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (8) และ (9) การเรียกร้องเงินโบนัสจึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความ 2 ปี ของบทบัญญัติดังกล่าว กำหนดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องเงินโบนัสตามสัญญาจ้างแรงงานมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินชำระหนี้และการเพิกถอนการบังคับคดี: ศาลต้องแจ้งคำสั่งขยายเวลาให้จำเลยทราบชัดเจน
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้จำเลยวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 58 ออกไป 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งคำร้องดังกล่าววันที่ 13 สิงหาคม 2545 อนุญาตให้จำเลยวางเงินภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เนื่องจากศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำร้องแต่ได้มีคำสั่งภายหลังต่อมาอีก 4 วัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในวันที่ 10 กันยายน 2545 ว่าจำเลยมิได้นำเงินมาวางศาลภายในวันที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตจึงไม่ชอบ
โจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอระงับการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินจากการบังคับคดี: เฉพาะโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) แต่ผู้ที่จะมีสิทธิขอคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกเงินบริษัทเพื่อข่มขู่ทำสัญญาชำระค่าชดเชยถือเป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆียะและเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการซึ่งมีอำนาจเบิกถอนเงินของจำเลยจากธนาคาร โจทก์ได้เบิกเงินของจำเลยจากธนาคารมาใช้ต่อรองกับ ค. กรรมการของจำเลยให้ยอมทำสัญญาชำระค่าชดเชยแก่โจทก์เนื่องจากจำเลยมีมติให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย เป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของโจทก์เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของโจทก์ ทำให้จำเลยเสียหายเพราะเงินขาดหายไปจากบัญชี ซึ่งหากไม่ได้เงินนั้นคืนมา ความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วก็ยังมีอยู่ต่อไป การที่ ค. ยอมทำสัญญาชำระค่าชดเชยแก่โจทก์ก็เพื่อให้ได้เงินดังกล่าวกลับคืนมา สัญญาดังกล่าวจึงเกิดจากการที่โจทก์นำเงินที่เบิกไปเก็บไว้มาข่มขู่โดยแท้ การข่มขู่จึงนับว่าร้ายแรงถึงขนาดที่ทำให้สัญญาชำระค่าชดเชยเป็นโมฆียะและนับเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551-1553/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ถูกกล่าวหาทุจริต สิทธิการรับค่าจ้างระหว่างพักงาน
โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการพักงานตามมาตรา 116 และ 117 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาใช้บังคับได้ตามมาตรา 4 (2) เมื่อ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติเรื่องการพักงานไว้ จึงต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โจทก์ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการทุจริต จำเลยย่อมมีสิทธิพักงานโจทก์เพื่อสอบสวนได้ตามคู่มือและระเบียบปฏิบัติงานของจำเลย ซึ่งตามหมวด 3 ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ข้อ 7 วรรคสอง กำหนดว่า "ในระหว่างที่ถูกสั่งพักงานธนาคารจะควรจ่ายเงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่พึงได้รับหรือไม่อย่างไร กรรมการผู้จัดการใหญ่จะเป็นผู้สั่งการ" เมื่อต่อมากรรมการผู้จัดการใหญ่มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากธนาคาร โดยงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ให้ทั้งสิ้น ประกอบกับบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 575 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้" หมายความว่า ลูกจ้างจะได้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง เมื่อจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เนื่องจากมีข้อเท็จจริงอันควรเชื่อว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ซึ่งเป็นคำสั่งพักงานที่ชอบโดยไม่ได้กลั่นแกล้ง และในระหว่างพักงานโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างหรือเงินเดือนในระหว่างพักงานจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแรงงานและการยกเว้นการระบุอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้าง การอุทธรณ์ประเด็นใหม่หลังศาลชั้นต้น
สัญญาจ้างแรงงานไม่ได้ระบุไว้อย่างแจ้งชัดว่า ในกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะต้องนำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อนแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานจึงมีลักษณะเป็นการให้สิทธิแก่คู่สัญญาว่า ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงานแล้ว คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจใช้สิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานของประเทศไทย เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้นๆ หรือคู่สัญญาอาจตกลงกันนำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ การที่โจทก์นำข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิจะฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางโดยชอบด้วยกฎหมาย
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายเลิกจ้างโจทก์หรือโจทก์ลาออกจากงาน ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไปทำงานที่สำนักงานร่วมทุนที่ประเทศสิงคโปร์มีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน โดยโจทก์เรียกเงินเดือนในอัตราใหม่ซึ่งสูงกว่าเงินเดือนอัตราเดิมมาก แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงยกเลิกความผูกพันตามสัญญาจ้างเดิมและเจรจาตกลงเงื่อนไขสภาพการจ้างใหม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางและมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากละเมิดและผิดสัญญาจ้าง กรณีสัญญาค้ำประกันปลอม
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ โดยปล่อยให้บุคคลภายนอกนำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีรายหนึ่งออกไปให้ผู้ค้ำประกันลงนามโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของโจทก์ไปด้วย ปรากฏว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นลายมือชื่อปลอม ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วย ความเสียหายที่เป็นสาเหตุโดยตรงจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของจำเลยคือหนี้ต้นเงินจำนวน 2,000,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารสามารถเรียกเอาจากลูกหนี้ผู้ทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ได้รวมทั้งผู้ค้ำประกันด้วย แต่จำเลยมิใช่เป็นผู้ค้ำประกันหนี้แห่งความเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 2,000,000 บาท ของต้นเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้นำเอาดอกเบี้ยตามสัญญาดังกล่าวในอัตราร้อยละ 18.50 ต่อปี มาคิดคำนวณเป็นค่าเสียหายให้ด้วย โดยวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 ย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแรงงาน ไม่ครอบคลุมหนี้ตามคำพิพากษา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 27 มีความหมายอย่างชัดแจ้งว่า การยื่นฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใดๆ ในศาลแรงงาน ให้ได้รับการยกเว้นเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมเท่านั้น คดีนี้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดและให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ เงินที่จำเลยทั้งสองต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานมิใช่ค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด หากจำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแรงงานกลาง จำเลยทั้งสองต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 โดยต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลแรงงานกลางเสียก่อน
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
of 205