พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาลาศึกษา: เบี้ยปรับ, การคืนเงิน, และดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี และจำเลยที่ 1ได้สำเร็จการศึกษาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1ไม่ไปรายงานตัวในวันที่ 1 มิถุนายน 2534 ตามที่ระบุในหนังสือส่งตัวเพราะเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งปกติผู้บริหารของโรงพยาบาลตำรวจก็ไม่ไปปฏิบัติราชการหากจำเลยที่ 1 ไปโรงพยาบาลตำรวจในวันนั้นก็คงจะไม่สามารถรายงานตัวได้เพราะไม่มีผู้บริการของโรงพยาบาลคือผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจไปปฏิบัติราชการ ทั้งไม่เคยปรากฏว่ามีข้าราชการผู้ใดไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการซึ่งโจทก์ย่อมรู้ดีอยู่แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไปรายงานตัวในวันที่3 มิถุนายน 2534 อันเป็นวันเริ่มเปิดทำการและเป็นโอกาสแรกที่จำเลยที่ 1 สามารถไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปรายงานตัวตามหนังสือส่งตัวแล้วโจทก์จะนับวันที่ 1 และวันที่ 2 มิถุนายน 2534 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 รอไปรายงานตัวต่อผู้บังคับการโรงพยาบาลตำรวจเป็นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ลาไปศึกษาไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการโดยได้ยื่นใบลาออกตามแบบหนังสือขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2535 แต่เป็นความล่าช้าของโจทก์เองที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม2535 และเพิ่งให้จำเลยที่ 1 ทราบในวันที่ 2 กันยายน 2535อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกนานถึง3 เดือนเศษ การที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 แสดงความประสงค์ขอลาออกจากราชการถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 เพราะโจทก์ยังมิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการได้จำเลยที่ 1 จึงยังมีหน้าที่ต้องไปปฏิบัติราชการอยู่ หากจำเลยที่ 1ไม่ไปปฏิบัติราชการตามปกติก็จะเป็นการทิ้งราชการและเป็นการขาดราชการเกิน 15 วัน อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะละเว้นไม่ปฏิบัติราชการไม่ได้จึงต้องคิดวันรับราชการของจำเลยที่ 1 จนถึงวันที่ 2 กันยายน 2535 มติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบด้วยกับกระทรวงการคลังที่ให้เพิ่มเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าในการชดใช้เงินทุนหรือเงินเดือนของข้าราชการที่ผิดสัญญาลาไปศึกษาในประเทศนั้น เป็นเพียงหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของกระทรวงการคลังที่เห็นสมควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศทำสัญญารับราชการชดใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือนและในกรณีที่ผิดสัญญาเนื่องจากรับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ให้มีการชดใช้คืนเงินทุนหรือเงินเดือนรวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าตามหนังสือเวียนดังกล่าวจึงมีความหมายว่า ในการที่หน่วยราชการทำสัญญากับข้าราชการซึ่งได้รับทุนและได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาภายในประเทศจะต้องกำหนดให้มีการชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของทุนหรือเงินเดือนที่ได้รับในกรณีที่รับราชการไม่ครบตามที่กำหนดไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องวางระเบียบข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตามหนังสือเวียนดังกล่าว หากโจทก์ไม่ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งดังกล่าว โจทก์ก็จะต้องระบุในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าไว้ด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้วางระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีคำสั่งให้มีการปฏิบัติตาม หนังสือเวียนดังกล่าว จะถือว่าหนังสือเวียนดังกล่าวนั้น เป็นระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์ไม่ได้การที่ในสัญญาลาไปศึกษาในสถานศึกษาในต่างประเทศไม่มีข้อความกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าจึงเป็นข้อบกพร่องของโจทก์ในการทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าได้ การที่จำเลยที่ 1 ได้นำเงินจำนวน 196,788 บาท ซึ่งมากกว่า จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดไปชำระให้แก่โจทก์ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 นั้น โจทก์ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว แม้จะไม่ได้ความว่าโจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อใด แต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้พร้อมเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าเป็นเงิน393,879.50 บาท ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2536 โดยหนังสือทวงถามลงวันที่ 26 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 1นำเงินไปชำระให้โจทก์ดังกล่าวข้างต้น 9 เดือนเศษ จึงน่าเชื่อว่าขณะที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1 ได้รับเงินคืนจากโจทก์แล้ว และก่อนฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ของโจทก์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 ได้ชำระหนี้หรือเสนอคำขอชำระหนี้แก่โจทก์อีก จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่16 มิถุนายน 2536 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้แก่โจทก์นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ข้อตกลงเบื้องต้นยังไม่สมบูรณ์ ไม่ผูกพันตามกฎหมาย
บันทึกข้อตกลงฉบับพิพาทมีใจความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้รับเช็คเงินสดไว้จำนวนห้าแสนบาทถ้วน (500,000 บาท) เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2536 ธนาคารกรุงศรี-อยุธยา จำกัด เช็คเลขที่ 0071851 ภายในวันที่ 20 เมษายน 2536 จะชำระส่วนที่เหลืออีกห้าล้านห้าแสนบาท (5,500,000 บาท) ของราคาที่ดินทั้งหมด60,000,000 บาท และจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายในวันที่ 20 เมษายน2536 (หลังจากวันที่ 20 เมษายน 2536 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ) ที่ดินรังสิตจำนวน 50 ไร่ โฉนดเลขที่ 9 ที่ดินระวาง 15 น. 10 อ ดังนี้ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงิน 500,000 บาท เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ดินทั้งหมด 60,000,000 บาทและตกลงกันว่าโจทก์จะชำระเงินมัดจำส่วนที่เหลืออีก 5,500,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันภายในวันที่ 20 เมษายน 2536 และโจทก์เองทราบดีว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงบันทึกที่ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำขึ้นเพื่อแสดงว่าในวันที่ 20 เมษายน 2536 โจทก์และจำเลยทั้งสี่จะตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันแน่นอน แต่โจทก์เกรงว่าจำเลยทั้งสี่อาจจะไม่ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์โจทก์จึงชำระเงิน 500,000 บาท ให้ฝ่ายจำเลย โดยระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคู่กรณีจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันอีกชั้นหนึ่งในวันที่ 20 เมษายน 2536 พร้อมทั้งโจทก์ต้องชำระเงินวางมัดจำจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ดินพิพาท 60,000,000 บาท ซึ่งหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจะต้องมีข้อตกลงต่าง ๆ และเงื่อนไขในการชำระเงินและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต่อกัน การที่บันทึกข้อตกลงไม่ได้ระบุสถานที่ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้โดยชัดเจน แต่ข้อความในวงเล็บว่า"หลังจากวันที่ 20 เม.ย. 36 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ" ซึ่งหมายถึงโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าโจทก์ไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและวางเงินมัดจำ 10เปอร์เซ็นต์ ตามคำพูดที่ตกลงไว้ในบันทึกภายในวันที่ 20 เมษายน 2536 ก็ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาท และเห็นความหมายได้ในตัวว่าโจทก์ผู้จะซื้อจะต้องมาหาฝ่ายจำเลยผู้จะขาย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงไม่ไปพบจำเลยทั้งสี่ตามที่ตกลง และโจทก์และจำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ ผลก็คือสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังไม่ได้ทำขึ้น จึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 366 และแม้การวางเงินมัดจำคำพูดดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำทั้งหมดก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์จึงอาศัยข้อตกลงตามบันทึกฉบับพิพาทมาฟ้องร้องบังคับจำเลยทั้งสี่ให้โอนขายที่ดินพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือ หากไม่ทำตามตกลง สัญญาเป็นโมฆะ แม้วางมัดจำแล้ว
บันทึกข้อตกลงฉบับพิพาทมีใจความว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับเช็คเงินสดไว้จำนวนห้าแสนบาทถ้วน(500,000 บาท) เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2536 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด เช็คเลขที่ 0071851 ภายในวันที่20 เมษายน 2536 จะชำระส่วนที่เหลืออีกห้าล้านห้าแสนบ้าน(5,500,000) บาท) ของราคาที่ดินทั้งหมด 60,000,000 บาทและจะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายในวันที่ 20 เมษายน 2536(หลังจากวันที่ 20 เมษายน 2536 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ)ที่ดินรังสิต จำนวน 50 ไร่ โฉนดเลขที่ 9 ที่ดินระวาง 15 น.10 อ. ดังนี้ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้รับเงิน 500,000 บาท เป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ดินทั้งหมด 60,000,000 บาทและตกลงกันว่าโจทก์จะชำระเงินมัดจำส่วนที่เหลืออีก5,500,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันภัยในวันที่ 20 เมษายน 2536 และโจทก์เองทราบดีว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงบันทึกที่ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำขึ้นเพื่อแสดงว่าในวันที่ 20 เมษายน 2536 โจทก์และจำเลยทั้งสี่จะตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันแน่นอนแต่โจทก์เกรงว่าจำเลยทั้งสี่อาจจะไม่ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ โจทก์จึงชำระเงิน 500,000 บาท ให้ฝ่ายจำเลยโดยระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าวางคำพูดมัดจำที่ดินของเงิน10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคู่กรณีจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันอีกชั้นหนึ่งในวันที่ 20 เมษายน 2536พร้อมทั้งโจทก์ต้องชำระเงินวางมัดจำจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาที่ดินพิพาท 60,000,000 บาท ซึ่งหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจะต้องมีข้อตกลงต่าง ๆและเงื่อนไขในการชำระเงินและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต่อกัน การที่บันทึกข้อตกลงไม่ได้ระบุสถานที่ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้โดยชัดเจนแต่ข้อความในวงเล็บว่า "หลังจากวันที่ 20 เม.ย. 36 ถ้าไม่มาจะถือว่าสละสิทธิ" ซึ่งหมายถึงโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าโจทก์ไม่มาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและวางเงินมัดจำ10 เปอร์เซ็นต์ ตามคำพูดที่ตกลงไว้ในบันทึกภายในวันที่20 เมษายน 2536 ก็ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทและเห็นความหมายได้ในตัวว่าโจทก์ผู้จะซื้อจะต้องมาหาฝ่ายจำเลยผู้จะขาย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงไม่ไปพบจำเลยทั้งสี่ตามที่ตกลง และโจทก์และจำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ ผลก็คือสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ว่าจะทำยังไม่ได้ทำขึ้นจึงถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 และแม้การวางเงินมัดจำคำพูดดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำทั้งหมดก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์จึงอาศัยข้อตกลงตามบันทึกฉบับพิพาทมาฟ้องร้องบังคับจำเลยทั้งสี่ให้โอนขายที่ดินพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4639/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้การกุศลตัดสิทธิทายาทโดยธรรม
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมได้กำหนดให้จัดการทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายโดยให้ผู้จัดการมรดกบริจาคทรัพย์สินให้แก่องค์การกุศลใด ๆ ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควรเป็นการชัดแจ้งและทราบได้แน่นอนแล้วว่าต้องมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้เฉพาะเพื่อองค์การกุศลเท่านั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1706 (3) และเมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่องค์การกุศลจึงต้องถือว่าผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1608 วรรคท้ายผู้คัดค้านทั้งสองย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1727 หรือร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4639/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้องค์การกุศลตัดสิทธิทายาทโดยธรรม มิใช่ผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อข้อกำหนดในพินัยกรรมได้กำหนดให้จัดการทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายโดยให้ผู้จัดการมรดกบริจาคทรัพย์สินให้แก่องค์การกุศลใด ๆ ตามแต่ผู้จัดการมรดกจะเห็นสมควรเป็นการชัดแจ้งและทราบได้แน่นอนแล้วว่าต้องมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้เฉพาะเพื่อองค์การกุศลเท่านั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1706(3) และเมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่องค์การกุศลจึงต้องถือว่าผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1608 วรรคท้ายผู้คัดค้านทั้งสองย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1727 หรือร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อก่อนกรณีเช่าตึกแถว: สิทธิมีเฉพาะเมื่อผู้ให้เช่าจะขายก่อนครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
ข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร" เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ให้เช่าจะขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาโดยจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบเสียก่อน เพื่อผู้เช่าจะได้ใช้สิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นเท่านั้น แต่หาได้ให้สิทธิผู้เช่าที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นตลอดไปจนพ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาให้แก่จำเลยที่ 3 หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะเช่าตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาอยู่ต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าแก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากสัญญาจ้างก่อสร้าง และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ภาษีค้างชำระ
แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 82 จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้
สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากรโดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลย ขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไป การที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิด อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน 87,200,000 บาท รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยแต่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535อันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย
แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน 82,200,000 บาท จะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา79 วรรคหนึ่ง ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และคำว่า"มูลค่า" นั้น มาตรา 79 วรรคสอง ให้หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้ว เงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใด จึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ 3.3มาหักออก ที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับ ฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคแรก
ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวด โจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึง 4 นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ
สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากรโดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลย ขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไป การที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิด อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน 87,200,000 บาท รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยแต่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535อันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย
แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน 82,200,000 บาท จะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา79 วรรคหนึ่ง ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และคำว่า"มูลค่า" นั้น มาตรา 79 วรรคสอง ให้หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้ว เงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใด จึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ 3.3มาหักออก ที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับ ฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคแรก
ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวด โจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึง 4 นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดอกเบี้ยจากผู้รับจ้าง และการคำนวณภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา82จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มาตรา82/4วรรคหนึ่งก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้ สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากร โดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลยขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มแต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไปการที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิดอีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้วจึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วยจึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน87,200,000บาทรวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยอันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับจึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน82,200,000บาทจะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ3.3รวมอยู่ด้วยก็ตามแต่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79วรรคหนึ่งฐานะภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รบหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการและคำว่า"มูลค่า"นั้นมาตรา79วรรคสองให้หมายความถึงเงินทรัพย์สินค่าตอบแทนค่าบริการหรือประโยชน์ใดๆซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้วเงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ7จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ3.3มาหักออกที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา79ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรก ประมวลรัษฎากรมาตรา82/4บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ชื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระแต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวดโจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นเมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดจำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่15ตุลาคม2535จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรกโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่1ถึง4นับแต่วันที่16ตุลาคม2535เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่ม: สิทธิในการเรียกเก็บดอกเบี้ยและฐานภาษีที่ถูกต้อง
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 82 จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่งก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้ สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากร โดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลยขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไป การที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิดอีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน 87,200,000 บาท รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยอันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน 82,200,000 บาท จะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยก็ตามแต่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ฐานะภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รบหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และคำว่า "มูลค่า" นั้น มาตรา 79 วรรคสอง ให้หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน เมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้ว เงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใด จึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ 3.3 มาหักออก ที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับ ฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224วรรคแรก ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ชื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวดโจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึง 4นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมขัดแย้งกัน ศาลวินิจฉัยพินัยกรรมหลังมีผลเหนือกว่าเฉพาะส่วนที่ขัดแย้ง
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จากส.เป็นส.หรือจำเลยที่2ซึ่งหมายความว่าคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำและในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันและตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่2ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่าตามที่ส.กับจำเลยที่2ได้เปิดบัญชีเงินฝากประจำออมทรัพย์กระแสรายวันและอื่นๆไว้กับธนาคารข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงินขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่าส.หรือจำเลยที่2นั้นข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝากถอนหรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่2ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้นๆด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่2มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใดจึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง ข้อความตามที่ปรากฎในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่2ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่าต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคนจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรมเมื่อมีการลงวันเดือนปีที่ทำผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันและพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคหนึ่งย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมายหากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่งตามเอกสารหมายจ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน1,000,000บาทแก่โจทก์โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วจึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมายจ.6ในข้อที่ว่าจำเลยที่2จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกทั้งหมดหรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน1,000,000บาทตามพินัยกรรมเอกสารหมายจ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลังจึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมายจ.6ในส่วนที่มีข้อความขัดกันคือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน1,000,000บาทที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1697จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์จำนวน1,000,000บาท