คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 171

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินด้วยการโอนชื่อในหลักฐานภาษีบำรุงท้องที่ มิใช่การโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน คู่สัญญาตกลงกันเองได้
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน 6 แปลง จากจำเลยในราคา 1,200,000 บาท โดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน 350,000 บาท และจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกัน ดังนั้น ข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า "คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน" จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเอง ซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้ว แต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอน ฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยการโอนชื่อในหลักฐานภาษี การปฏิบัติตามสัญญา และการไม่ยอมรับการโอน
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน6แปลงจากจำเลยในราคา1,200,000บาทโดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน350,000บาทและจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด6เดือนนับแต่วันทำสัญญาดังนี้เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบภ.บ.ท.5โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกันดังนั้นข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า"คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน"จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบภ.บ.ท.5โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเองซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้วแต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอนฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองใน ภ.บ.ท.5 มิใช่การผิดสัญญา หากผู้ซื้อไม่ยอมรับการโอน
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน 6 แปลง จากจำเลยในราคา 1,200,000 บาท โดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน 350,000 บาท และจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกัน ดังนั้น ข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า "คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน" จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.ท.บ.5 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเอง ซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้ว แต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอน ฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรมและการยกทรัพย์มรดก โดยเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมและขอบเขตที่ดินตามแจ้งการครอบครอง
โจทก์ทั้งหกฟ้องจำเลยทั้งสามโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกและมีอำนาจขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก. เจ้ามรดก ขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งหกคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วน ตีราคาประมาณคนละ 59,750 บาท รวม 6 คนราคาประมาณ 358,500 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนที่เรียกร้องจากจำเลยทั้งสามจึงไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งหกฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมฉบับพิพาทของ ก. เจ้ามรดกซึ่งทำขึ้นในวันที่20 กุมภาพันธ์ 2510 มีข้อความระบุว่า "(1) ที่มา 1 แปลงเนื้อที่ 36 ไร่ ส.ค.1 เลขที่ 181 อยู่ที่ตำบลบ้านกล้วยอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ให้แก่จำเลยที่ 1"และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 เอกสารหมายล.3 แผ่นที่ 1 ซึ่งมีชื่อ ก.เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าวระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ 36 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวาเมื่อปรากฏว่าในขณะที่ ก. ทำพินัยกรรมนั้นยังมิได้มีการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ก.เจ้ามรดกประสงค์จะยกที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1 เลขที่ 181 ทั้งแปลงให้จำเลยที่ 1 แม้ต่อมาในการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2517จะปรากฏว่ามีเนื้อที่ 58 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา ก็ตามเพราะขณะทำพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุเนื้อที่ดินทั้งแปลงตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ตีความข้อกำหนดในพินัยกรรมพิพาทว่า ก. มีเจตนายกที่ดินมีโฉนดทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 จึงตรงตามเจตนาของก.ผู้ทำพินัยกรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรมและการยกทรัพย์มรดก โดยพิจารณาจากเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม ณ ขณะทำพินัยกรรม
โจทก์ทั้งหกฟ้องจำเลยทั้งสามโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกและมีอำนาจขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก.เจ้ามรดก ขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งหกคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วน ตีราคาประมาณคนละ 59,750 บาท รวม 6 คน ราคาประมาณ358,500 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนที่เรียกร้องจากจำเลยทั้งสามจึงไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งหกฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
พินัยกรรมฉบับพิพาทของ ก.เจ้ามรดกซึ่งทำขึ้นในวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2510 มีข้อความระบุว่า "(1) ที่นา 1 แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ส.ค.1เลขที่ 181 อยู่ที่ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ให้แก่จำเลยที่ 1"และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 เอกสารหมาย ล.3 แผ่นที่ 1ซึ่งมีชื่อ ก.เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าวระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้36 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ ก.ทำพินัยกรรมนั้นยังมิได้มีการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ก.เจ้ามรดกประสงค์จะยกที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 ทั้งแปลงให้จำเลยที่ 1 แม้ต่อมาในการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2517 จะปรากฏว่ามีเนื้อที่58 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา ก็ตาม เพราะขณะทำพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุเนื้อที่ดินทั้งแปลงตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ตีความข้อกำหนดในพินัยกรรมพิพาทว่า ก.มีเจตนายกที่ดินมีโฉนดทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 จึงตรงตามเจตนาของ ก.ผู้ทำพินัยกรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำกัดเฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชย ไม่ครอบคลุมค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัส
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน 424,083 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่จำเลย ความว่า "ตามที่ ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่ 46/2537 วันที่ 25 พฤศจิกายน2537 ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบ ชสท.ว่าด้วยการพนักงาน ชสท. พ.ศ. 2535 และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083 บาท ถูกต้องแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น" ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น มิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใด ข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใด ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้น ข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่น ๆ รวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่ บันทึกตามเอกสารหมาย จ.7 ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องชัดเจน การรับเงินชดเชยไม่ครอบคลุมค่าเสียหายอื่น
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่25พฤศจิกายน2537และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083บาทแก่โจทก์โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมายจ.7ให้แก่จำเลยความว่า"ตามที่ชสท.(จำเลย)ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537วันที่25พฤศจิกายน2537ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงานชสท.พ.ศ.2535และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน424,083บาทถูกต้องแล้วและจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น"ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นมิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใดข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้นข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่นๆรวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่บันทึกตามเอกสารหมายจ.7ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้นกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้ ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใดและโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและโบนัส การรับเงินชดเชยเฉพาะกรณีไม่ถือเป็นการสละสิทธิทั้งหมด
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจำนวน424,083 บาท แก่โจทก์ โจทก์ได้ทำหนังสือตามบันทึกเอกสารหมาย จ.7 ให้แก่จำเลย ความว่า "ตามที่ ชสท. (จำเลย) ได้เลิกจ้างข้าพเจ้าตามคำสั่งที่46/2537 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 ข้าพเจ้าได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบชสท.ว่าด้วยการพนักงาน ชสท. พ.ศ.2535 และเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเป็นเงิน 424,083 บาท ถูกต้องแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น" ข้อความในเอกสารที่โจทก์ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่จำเลยดังกล่าวได้ระบุประเภทของเงินไว้เฉพาะเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น มิได้ระบุถึงค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยแต่อย่างใด ข้อความตอนท้ายที่ว่าจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ประการใด ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นการที่โจทก์สละสิทธิหรือปลดหนี้ให้แก่จำเลยนั้น ข้อความดังกล่าวหาได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสองได้ปลดหนี้ในเงินอื่น ๆ รวมทั้งค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วยไม่ บันทึกตามเอกสารหมาย จ.7 ดังกล่าวโจทก์เพียงแต่รับรองว่าจะไม่ฟ้องร้องจำเลยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเท่านั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินโบนัสจากจำเลยได้
ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงาน-กลางยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10225/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากเสียสิทธิครอบครองจากคดีแย่งครอบครอง ทำให้ไม่สามารถโอนได้ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ตามข้อ2ของสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยส่วนจำเลยมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปลอดจากภาระผูกพันหากมีผู้บุกรุกที่ดินพิพาทจำเลยก็ต้องฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกไปจากที่ดินพิพาทสำหรับสัญญาข้อ3ที่โจทก์ตกลงจะออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยนั้นข้อสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เป็นสาระสำคัญของสัญญาแต่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยต่างหากจากข้อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกล่าวคือหากโจทก์ไม่ออกค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องให้แก่จำเลยจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องฟ้องร้องผู้บุกรุกให้ออกไปจากที่ดินพิพาทเพื่อนำที่ดินพิพาทส่งมอบให้โจทก์เช่นเดิมหากจำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไปเป็นจำนวนเท่าใดแล้วโจทก์ไม่ชำระจำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนนี้จากโจทก์ได้ดังนั้นแม้จำเลยยื่นฎีกาในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดโดยโจทก์มิได้ออกค่าใช้จ่ายในชั้นฎีกาให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดให้การต่อสู้คดีว่าผู้ร้องสอดทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้สิทธิครอบครองแล้วจำเลยหมดสิทธิเรียกคืนคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดจากผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไปและไม่อาจโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายได้แม้จำเลยจะยังมีชื่อในที่ดินน.ส.3ที่พิพาทและผู้ร้องสอดได้ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยแต่อย่างใดและเมื่อจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายและกรณีเช่นนี้ก็มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์แต่เป็นความผิดของจำเลยเองจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าขณะนั้นผู้ร้องสอดได้แย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยอยู่แสดงว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยเสี่ยงภัยเองเพราะรู้อยู่ว่าหากจำเลยแพ้คดีจำเลยก็ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาสูงเกินไปและโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎว่าโจทก์เสียหายเป็นจำนวนเท่าใดศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามจำนวนที่เหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9775/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายที่ดินตามเจตนาที่แท้จริงและการหักชำระหนี้
ข้อสัญญาจะมีความหมายเพียงใดต้องอ่านข้อความทั้งหมดประกอบกับทางปฏิบัติของคู่สัญญา เพื่อจะได้ทราบถึงเจตนาอันแท้จริงตาม ป.พ.พ.มาตรา 368ที่ให้ตีความสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริต
โจทก์และทายาทอื่นของ ท.ไม่มีเงินไถ่จำนองที่ดินพิพาทตามที่ธนาคารผู้รับจำนองเร่งรัดมา จึงได้ขอให้ บ.น้องชายของ ท.ช่วยเหลือ แต่ บ.มีข้อแม้ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท.โอนที่ดินพิพาทเป็นขายให้จำเลย โดยทำบันทึกกันไว้ให้โจทก์ซื้อที่ดินได้ภายใน 3 ปี ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทมีราคาสูงกว่าราคาที่จำนองไว้มาก ดังนี้ การที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยก็เพื่อให้เป็นหลักประกันเท่านั้น ส่วนข้อความในเอกสารดังกล่าวที่ว่าให้โอกาสแก่โจทก์เพียงผู้เดียวที่จะมาซื้อที่ดินคืนภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่รับโอน หรือให้โอกาสแก่โจทก์เป็นผู้มาติดต่อในการที่จะขายที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกได้ โดยผู้ที่จะติดต่อกับจำเลยจะต้องเป็นโจทก์เท่านั้น โดยจำเลยจะไม่ติดต่อกับบุคคลใดอีกเป็นอันขาด มีความหมายว่า ให้โจทก์เพียงผู้เดียวที่จะซื้อคืนได้หรือพาบุคคลภายนอกมาซื้อ จำเลยจะไม่ติดต่อขายให้แก่บุคคลใดนอกจากผู้ที่ติดต่อผ่านทางโจทก์มาเท่านั้น แม้ต่อมาในวันที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยนั้น โจทก์และจำเลยจะได้ทำบันทึกข้อตกลงขึ้นอีกฉบับหนึ่งโดยกำหนดราคาที่โจทก์จะซื้อคืน และเริ่มนับระยะเวลาซื้อคืนไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันนั้นก็ตาม ก็เป็นเพียงบันทึกที่ต่อเนื่องมาจากบันทึกข้อตกลงฉบับแรกเท่านั้น ส่วนข้อความในบันทึกข้อตกลงฉบับหลังที่ว่า โจทก์มีสิทธิจะมาซื้อที่ดินคืนได้แต่เพียงผู้เดียว จึงหาได้เป็นข้อยกเว้นข้อความในบันทึกข้อตกลงฉบับแรกที่ให้โอกาสโจทก์เป็นผู้ติดต่อในการที่จะขายที่ดินให้บุคคลภายนอกได้แต่อย่างใดไม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งหมดมีผลเพียงให้จำเลยมีสิทธิเพียงหักเงินที่จำเลยชำระให้แก่ธนาคารแทนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเท่านั้นจำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมที่ดินพิพาทที่เหลือให้โจทก์ ส่วนโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยต้องคืนที่ดินแก่โจทก์ ศาลจึงต้องหักเงินจำนวนนี้ออกจากเงินที่จำเลยจะต้องชำระคืนให้แก่โจทก์ด้วย
of 26