คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 171

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ขายไม่ผิดสัญญาหากยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อต้องชำระเงินและนัดโอนกรรมสิทธิ์ก่อน
แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทข้อ 3 จะระบุไว้ว่า ผู้จะขายทุกคนจะเริ่มดำเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยตลอดจนบริวารของผู้เช่าหรือผู้อาศัยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินทันทีนับแต่วันทำสัญญานี้และผู้จะขายสัญญาว่าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญา แต่เจตนารมณ์ของคู่สัญญามิได้ถือเอาตามสัญญาข้อ 3 เป็นข้อสาระสำคัญอันถือว่าผู้จะขายเป็นผู้ผิดสัญญา เพราะตามสัญญาข้อ 6 ยังระบุว่า แม้ผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาข้อ 3 ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญาแต่ผู้จะซื้อยังมีหน้าที่จะต้องแจ้งเป็นหนังสือถึงผู้จะขายให้ทราบถึงกำหนดระยะเวลานัดชำระเงินจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เหลือ โดยกำหนดไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดสัญญาตามข้อ 3 ทั้งเมื่อผู้จะซื้อชำระเงินส่วนที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ให้ผู้จะขายตามสัญญาข้อ 6 แล้ว ตามสัญญาข้อ 7 ยังกำหนดให้ผู้จะซื้อแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้จะขาย ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันที่ผู้จะซื้อได้ชำระเงินตามข้อ 6 แล้ว ผู้จะขายทุกคนตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ผู้จะซื้อทันทีและผู้จะซื้อจะชำระเงินส่วนที่เหลือให้ผู้จะขายในวันดังกล่าว โดยผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อยึดเงินไว้จำนวน 500,000 บาท เพื่อให้ผู้จะซื้อใช้จ่ายดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เช่าหรือ ผู้อาศัยตลอดจนบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทเรียบร้อยแล้ว ผู้จะซื้อจึงจะคืนเงินส่วนที่เหลือตามความเป็นจริงให้ผู้จะขายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นนี้ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าแม้ผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยตลอดจนบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท ก็ยังไม่ถือว่า ผู้จะขายผิดสัญญาอันเป็นเหตุให้ผู้จะซื้อบอกเลิกสัญญาได้ ผู้จะซื้อยังมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 และข้อ 7 ต่อไป
กรณีที่ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกปฏิบัติว่าจะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไปหรือจะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทได้ต้องเป็นไปตามสัญญาข้อ 11 คือ เป็นกรณีที่ผู้จะขายทุกคนไม่สามารถทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ว่าแปลงหนึ่งแปลงใดให้ผู้จะซื้อได้ และตามสัญญาข้อ 8 ระบุว่า ผู้จะขายไม่นำที่ดินพิพาท ไปก่อภาระผูกพัน หากนำไปก่อภาระผูกพันก็ต้องปลดภาระผูกพันให้เสร็จสิ้นก่อนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้จะซื้อ เห็นได้ว่า กรณีที่ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกที่จะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไปหรือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามข้อ 11 และข้อ 8 จะต้องเป็นกรณีที่มีการกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันแล้ว ผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ว่าแปลงใดแปลงหนึ่งให้ผู้จะซื้อได้ หรือในวันดังกล่าวผู้จะขายยังไม่สามารถปลดภาระผูกพันให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันในวันนั้น หากเพียงผู้จะขายผิดสัญญาตามข้อ 3 ยังไม่ทำให้ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกว่าจะดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือจะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้จะขายไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาข้อ 3 ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ผู้จะซื้อได้บอกเลิกหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายต่อผู้จะขาย โดยผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 และข้อ 7 ที่จะชำระเงินที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ และผู้จะซื้อไปดำเนินการกำหนดนัดเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกับผู้จะขาย ถือได้ว่าโจทก์ผู้จะซื้อเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกสัญญาโดยปริยายจากการไม่มีการสะพัดนาน การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญามีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีโจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรืออาจบอกเลิกสัญญา ภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต เมื่อมีข้อสงสัยก็ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4453/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องบัตรเครดิต: เจตนาคู่กรณีสำคัญกว่าข้อตกลงภายนอก
แม้โจทก์กำหนดให้จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์แต่ในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตระบุไว้ชัดเจนว่า เพื่อการชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ อันเกิดขึ้นจากการใช้บัตรเครดิต รวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมเกี่ยวเนื่องจากใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกได้ชำระเงินให้เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อนตามลักษณะของการประกอบธุรกิจประเภทบัตรเครดิต อันเป็นเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 กำหนดให้เพ่งเล็งถึงเจตนาที่แท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร เมื่อหลักฐานการแจ้งหนี้ที่จำเลยค้างชำระบัตรเครดิตครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 สิงหาคม 2536 โดยไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีอีก ซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25เมษายน 2540 พ้นกำหนด 2 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของบริษัทและกรรมการ, ลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์, การจัดจำหน่ายสำเนาถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนิติบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต่างหากจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นกรรมการ ดังนั้น การกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ว่าจะเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 อันถือว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการนั้นเสมอไป ต้องพิจารณาว่าการที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นเป็นการกระทำในฐานะเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ด้วย
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวิดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวิดีโอ หรือแผ่นซีดี หรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวิดีโอ แผ่นซีดี และแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: 'หรือ' หมายถึงแยกคำนวณรายบุคคล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ. และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาท โดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ8,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนเมื่อใช้คำว่า 'หรือ' ในสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ.และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาทโดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรี หรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ 8,000 บาท ต่อเดือนจนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จชดใช้หนี้: ต้องเป็นหนี้ที่ชัดเจน ไม่เป็นข้อพิพาท
แม้ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ.2527 จะกำหนดว่า ถ้าพนักงานมีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้แก่โรงงานน้ำตาล ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้หักเงินบำเหน็จที่จะต้องจ่ายชดใช้หนี้นั้นเสียก่อนก็ตาม แต่หนี้ที่จะนำมาหักเงินบำเหน็จนั้นต้องเป็นหนี้ที่พนักงานมิได้โต้แย้งหรือเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ และจำนวนหนี้ต้องกำหนดได้แน่นอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 344
โจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ทั้งคดีที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงยังไม่แน่นอนว่าโจทก์มีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้จำเลยหรือไม่ และจำนวนเท่าใด จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายตามข้ออ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จชดใช้หนี้ต้องเป็นหนี้ที่แน่นอนและไม่มีข้อพิพาท
แม้ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2527 จะกำหนดว่า ถ้าพนักงานมีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้แก่โรงงานน้ำตาล ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้หักเงินบำเหน็จที่จะต้องจ่ายชดใช้หนี้นั้นเสียก่อนก็ตาม แต่หนี้ที่จะนำมาหักเงินบำเหน็จนั้นต้องเป็นหนี้ที่พนักงานมิได้โต้แย้งหรือเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ และจำนวนหนี้ต้องกำหนดได้แน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
โจทก์นำสืบปฏิเสธมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ทั้งคดีที่จำเลย ฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงยังไม่แน่นอนว่า โจทก์มีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้จำเลยหรือไม่ และจำนวนเท่าใด จำเลยไม่มี สิทธิหักเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหาย ตามข้ออ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300-3301/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินโบนัสของพนักงานที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุน ต้องไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับเดิม แม้รายได้รวมจะสูงกว่า
ระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้พนักงานไปปฏิบัติงานในบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น พ.ศ. 2536 เป็นระเบียบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ระหว่างพนักงานกับจำเลย ส่วนมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล ปตท. เป็นเพียงความเห็นของฝ่ายจำเลยที่ตีความระเบียบดังกล่าว โดยจำเลยไม่สามารถแก้ไขหรือตีความขัดแย้งกับระเบียบดังกล่าวได้โดยลำพัง ดังนั้น โจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสจากจำเลยหรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์จากระเบียบนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งข้อ 7 ระบุว่า "พนักงานที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทจะได้รับค่าตอบแทนในการทำงานต่อไปนี้จาก ปตท. หรือจากบริษัทก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างบริษัทกับ ปตท. แต่ค่าตอบแทนในการทำงานที่ได้รับนั้นจะต้องไม่น้อยกว่าที่พนักงานได้รับอยู่เดิมขณะปฏิบัติงานที่ ปตท. 7.1 เงินเดือนและโบนัส ฯลฯ" ระเบียบข้อนี้หมายความว่า พนักงานที่จำเลยส่งไปปฏิบัติงานที่บริษัทที่จำเลยถือหุ้นจะต้องได้รับเงินเดือนและเงินโบนัสไม่น้อยกว่าที่พนักงานนั้นเคยได้รับอยู่เดิมในขณะปฏิบัติงานที่จำเลย โจทก์ได้รับเงินเดือนที่บริษัท ป. มากกว่าที่ได้รับจากจำเลยร้อยละ 20 เนื่องจากชั่วโมงทำงานมากกว่าแต่ไม่ได้รับเงินโบนัสเพราะบริษัท ป. ไม่มีการจ่ายเงินโบนัส โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินโบนัสจากจำเลยเท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมขณะปฏิบัติงานกับจำเลย ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจะคำนวณอย่างไร จำเลยจึงจัดประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลของจำเลยเพื่อกำหนดวิธีคำนวณเงินโบนัสดังกล่าว 2 ครั้ง ที่ประชุมมีมติให้พนักงาน Secondment มีสิทธิได้รับเงินรางวัล (เงินโบนัส) เช่นเดียวกับพนักงานของจำเลย โดยคำนวณจากเงินเดือนเงา ซึ่งหมายถึงเงินเดือนที่เคยได้รับอยู่เดิมจากจำเลย อันเป็นการสอดคล้องกับข้อ 7 แห่งระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้พนักงานไปปฏิบัติงานในบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น พ.ศ. 2536 แต่ที่ประชุมมีมติให้ใช้วิธีเปรียบเทียบรายได้ของพนักงานที่ได้รับจากจำเลยและบริษัทที่ไปปฏิบัติงาน หากรายได้จากจำเลยมากกว่า จำเลยจะจ่ายส่วนต่างที่เพิ่มให้แก่พนักงาน ถ้ารายได้ที่ได้รับจากบริษัทมากกว่า ให้พนักงานรับเงินจากบริษัททางเดียวนั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อ 7 แห่งระเบียบดังกล่าว เนื่องจากเป็นการตัดสิทธิพนักงานที่จะได้รับเงินโบนัส หรือได้รับเงินโบนัสไม่เท่ากับพนักงานของจำเลย มติของที่ประชุมจึงใช้บังคับไม่ได้ กรณีของโจทก์ต้องบังคับตามข้อ 7 แห่งระเบียบดังกล่าว โดยพิจารณาประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลที่กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์โดยคำนวณจากเงินเดือนเงา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายอาคารชุด กรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา และสิทธิในการเลิกสัญญาตามบทบัญญัติกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 386 วางหลักในเรื่องการเลิกสัญญาไว้ 2 กรณี คือ เลิกสัญญาโดยข้อสัญญาและเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังนั้น แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตาม ข้อสัญญา แต่ตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็เลิกสัญญาได้
ตามเอกสารแนบท้ายเงื่อนไขการจะซื้อจะขาย ที่ระบุไว้ว่า "ในกรณีที่ผุ้จะขายนั้นไม่สามารถทำการก่อสร้างอาคารชุดหรือห้องชุดผู้จะซื้อให้แล้วเสร็จหรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจะซื้อภายในเวลที่กำหนดในสัญญานี้และการผิดสัญญาดังกล่าวดำเนินต่อไปภายหลังจากผู้จะซื้อส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จะขายไม่น้อยกว่าหกเดือน ผู้จะซื้ออาจบอกเลิกภาระผูกพันของผู้จะซื้อตามสัญญานี้?" เป็นการกำหนดให้ผู้จะซื้อบอกเลิกสัญญาได้ 2 กรณี คือ ผู้จะขายก่อสร้างห้องชุดไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดได้ การที่ผู้จะขายมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญา ผู้จะซื้อจึงเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้ออาคารชุดจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยตามสัญญาบางส่วนในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขในสัญญากำหนดให้ผู้จะขายใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นแทนได้เฉพาะ รายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างห้องชุดของผู้จะซื้อเท่านั้น และตามสัญญาระบุไว้ใน รายการฝ้าเพดานระบุว่าห้องทั่วไปเป็นคอนกรีต แต่งผิว ทาสี ส่วนกลางเป็นโครงสร้างอะลูมิเนียมทีบาร์บุยิปซัมบอร์ด ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิก่อสร้างโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นในทรัพย์ส่วนกลาง ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยมิได้ทำฝ้าเพดาน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางนี้ แม้โจทก์ยังมิได้เป็นผู้มีส่วนถือกรรมสิทธิ์รวมเพราะยังมิได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกับจำเลยในอันที่จะบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 216 เป็นเรี่องการผิดนัดชำระหนี้และผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ ส่วนกรณีที่เป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้โดยให้ก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา 1 เดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง จึงเท่ากับจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อกรณีเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงไม่ต้องบอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขในสัญญา
of 26