พบผลลัพธ์ทั้งหมด 252 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าไฟฟ้า, สัญญาค้ำประกัน, วงเงินรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน, การต่ออายุสัญญา
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 6 บัญญัติว่า"ให้จัดตั้งการไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "การไฟฟ้านครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และ (3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง"จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงหรือโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165(1) เดิมเป็นคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34(1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปจากจำเลยจึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34(1)
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ซึ่งตามมาตรา 165(1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิมแตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34(1)ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อมาตามลำดับ โดยมีข้อความอ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมวงเงินค้ำประกันก็เป็นไปตามข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลงความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ซึ่งตามมาตรา 165(1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิมแตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34(1)ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลง คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อมาตามลำดับ โดยมีข้อความอ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมวงเงินค้ำประกันก็เป็นไปตามข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลงความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยยังผูกพัน แม้มีการโอนสิทธิการเช่าซื้อ หากเจตนาหลอกลวง และผู้รับโอนยังคงมีสิทธิเรียกร้อง
วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วันก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 กรณีนี้จึงต้องตีความว่าสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์ มี ฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งการตีความเช่นนี้ยังสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัย ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วยกรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงผูกพันคู่ความทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น แต่การที่โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ พ. ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น แต่หลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวไป โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์กับ พ. ภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริง การโอนเป็นเพียงเจตนาลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศได้เท่านั้น สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังคงมีฐานะ เป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม และแม้หากจะฟังว่าโจทก์ได้โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวไป แต่การโอนสิทธิการเช่าซื้อก็ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับโอนสิทธิการเช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว กรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงยังไม่สิ้นผลบังคับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริงสำคัญกว่าถ้อยคำในสัญญาประกันภัยและเช่าซื้อ การตีความต้องคำนึงถึงสถานการณ์และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
การตีความสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยไม่อาจตีความตามถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามสัญญาดังกล่าวได้ แต่ต้องตีความการแสดงเจตนาทำสัญญานั้นโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาทุกฝ่าย ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 เป็นสำคัญ เมื่อเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา บริษัทจำเลยผู้รับประกันภัยเจตนาเข้ารับเสี่ยงภัยในรถยนต์ที่เอาประกันภัยโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นรถยนต์ของบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อ จึงเป็นเรื่องที่บริษัทจำเลยเชื่อว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อและมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยขณะทำสัญญา จึงเข้าทำสัญญาด้วย ทั้งโจทก์เองก็คงเชื่อเช่นนั้น เมื่อโจทก์ผู้เช่าซื้อประสงค์จะผูกพันตามสัญญาประกันภัยจำเลยเองก็เจตนาจะเข้ารับเสี่ยงภัยตามสัญญาประกันภัย และบริษัทผู้ให้เช่าซื้อก็ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท
แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าซื้อหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วัน ก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังกล่าวมาแล้ว จึงต้องตีความว่า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์มีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยตามมาตรา 11 ที่ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วย กรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น และหลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา เมื่อโจทก์กับภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริงการโอนเป็นเพียงเจตนาลวง สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังคงมีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยได้
การโอนสิทธิการเช่าซื้อไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
(วรรคหนึ่งและวรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)
แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าซื้อหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วัน ก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังกล่าวมาแล้ว จึงต้องตีความว่า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์มีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยตามมาตรา 11 ที่ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วย กรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น และหลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา เมื่อโจทก์กับภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริงการโอนเป็นเพียงเจตนาลวง สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังคงมีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยได้
การโอนสิทธิการเช่าซื้อไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
(วรรคหนึ่งและวรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้, อัตราดอกเบี้ย, เจตนาสละอายุความ: สิทธิของสถาบันการเงินในการคิดดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. และผลของการรับสภาพหนี้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่ โดยโจทก์เพียงลดยอดหนี้ให้จำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยที่ 2 หากแต่เพิ่มให้จำเลยที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดในหนี้เดิมส่วนหนึ่งเพื่อให้โจทก์ถอนคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลายเท่านั้นความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้เดิมจึงยังไม่ระงับไป
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 (2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม 4,246,622 บาทจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19.5 ต่อปี ตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน 3,000,000บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามป.พ.พ.มาตรา 193/24
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 (2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม 4,246,622 บาทจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19.5 ต่อปี ตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน 3,000,000บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามป.พ.พ.มาตรา 193/24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้-จำนอง, การรับสภาพหนี้, สละสิทธิอายุความ, การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่ โดยโจทก์เพียงลดยอดหนี้ให้จำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยที่ 2 หากแต่เพิ่มให้จำเลยที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดในหนี้เดิมส่วนหนึ่งเพื่อให้โจทก์ถอนคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลายเท่านั้นความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้เดิมจึงยังไม่ระงับไป
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม 4,246,622 บาท จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน 3,000,000 บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม 4,246,622 บาท จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน 3,000,000 บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้, ดอกเบี้ย, และการสละสิทธิอายุความในคดีหนี้สิน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่ โดยโจทก์เพียงลดยอดหนี้ให้จำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยที่ 2หากแต่เพิ่มให้จำเลยที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดในหนี้เดิมส่วนหนึ่งเพื่อให้โจทก์ถอนคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลายเท่านั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้เดิมจึงยังไม่ระงับไป
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 30(2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้ แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีโจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้าชำระหนี้ต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม4,246,622 บาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี ตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน3,000,000 บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 30(2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้ แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีโจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้าชำระหนี้ต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม4,246,622 บาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี ตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน3,000,000 บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5180/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา แต่มีข้อตกลงเลิกจ้างล่วงหน้า 2 เดือน ไม่เข้าข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118 วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5180/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีสิทธิบอกเลิกได้ไม่เข้าข้อยกเว้นค่าชดเชย
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118
กฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบการตีความเจตนาไม่ได้
สัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท กำหนดให้โจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 2 เดือน สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายและจ้างติดตั้ง: การประเมินภาษีถูกต้องตามประเภทสัญญา
ในการตีความในสัญญานั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา ประกอบกับถ้อยคำสำนวนในสัญญาด้วย
ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบพร้อมทั้งการติดตั้ง แม้ว่าในตัวสัญญาจะมิได้ระบุราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง แต่ตามภาคผนวกแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ระบุราคาของเครื่องชุมสายโทรศัพท์ทั้งแปดชุมสายว่าแต่ละชุมสายมีราคาเท่าใด อุปกรณ์ประกอบมีราคาเท่าใด ค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมคิดเป็นจำนวนเท่าใด โดยแยกออกจากกันชัดเจน และการขอรับเงินค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์กับค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรม ก็จะต้องกระทำแยกออกต่างหากจากกัน แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออก ต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา
ตามข้อสัญญาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ซื้อขายกันนี้มีการประกอบแล้วเสร็จและทำการทดสอบได้ตั้งแต่อยู่ที่โรงงานของผู้ขายในต่างประเทศก่อนส่งมาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้แยกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อขนส่งมายังประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย โจทก์ได้ประกอบเข้าเป็นตู้แล้วนำอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์เข้าสอดใส่แล้วปิดฝาพร้อมทั้งต่อสายเชื่อมระหว่างตู้ชุมสายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงทดลองใช้ระบบโทรศัพท์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นการติดตั้งให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์ ที่กองทัพเรือซื้อจากโจทก์สามารถใช้งานได้เท่านั้น แม้ว่าในการประกอบติดตั้งระบบชุมสายโทรศัพท์ต้องใช้ เทคนิคเฉพาะ โจทก์เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งผู้ขายมีความรู้ในระบบของตนเองดีกว่า ผู้อื่นและต้องการเก็บรักษาเทคนิคของระบบเครื่องชุมสายโทรศัพท์ของตนเองไว้มิให้ล่วงรู้ไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ดังจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดการรักษาความลับและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในสัญญาว่า บรรดาสิทธิใน ปัญญาสมบัติ (Intellectual Property Right) ทั้งหมดในซอฟแวร์ซึ่งผู้ขายได้จัดหาให้แก่ผู้ซื้อภายใต้สัญญานี้ ยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้ขายตลอดเวลา ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินเพื่อตอบแทนการชำระราคา เพราะสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟแวร์นั้นเป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ใน เครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพยสิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟแวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่ผู้ขายขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์ให้แก่ผู้ซื้อโดยมีข้อยกเว้นไม่โอนสิทธิใน ซอฟแวร์ให้แก่ผู้ซื้อนั้น ไม่อาจตีความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างใด การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจนประกอบกับเหตุผลอื่น ๆ ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และกองทัพเรือเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบกับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์รวม 8 ชุมสาย แยกต่างหากจากกันเป็น สองลักษณะสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 4 ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด แม้ว่าตาม ป. รัษฎากร มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ และตามสัญญาพอแปลความได้ว่า ผู้ซื้อคือกองทัพเรือรับภาระที่จะเสียอากรแทนผู้ขายคือโจทก์ก็ตามแต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญา กรมสรรพากรก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บ ค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตาม ป. รัษฎากรอยู่นั่นเอง ส่วนข้อตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้เสียอากรเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง
ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบพร้อมทั้งการติดตั้ง แม้ว่าในตัวสัญญาจะมิได้ระบุราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง แต่ตามภาคผนวกแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ระบุราคาของเครื่องชุมสายโทรศัพท์ทั้งแปดชุมสายว่าแต่ละชุมสายมีราคาเท่าใด อุปกรณ์ประกอบมีราคาเท่าใด ค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมคิดเป็นจำนวนเท่าใด โดยแยกออกจากกันชัดเจน และการขอรับเงินค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์กับค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรม ก็จะต้องกระทำแยกออกต่างหากจากกัน แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออก ต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา
ตามข้อสัญญาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ซื้อขายกันนี้มีการประกอบแล้วเสร็จและทำการทดสอบได้ตั้งแต่อยู่ที่โรงงานของผู้ขายในต่างประเทศก่อนส่งมาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้แยกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อขนส่งมายังประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย โจทก์ได้ประกอบเข้าเป็นตู้แล้วนำอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์เข้าสอดใส่แล้วปิดฝาพร้อมทั้งต่อสายเชื่อมระหว่างตู้ชุมสายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงทดลองใช้ระบบโทรศัพท์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นการติดตั้งให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์ ที่กองทัพเรือซื้อจากโจทก์สามารถใช้งานได้เท่านั้น แม้ว่าในการประกอบติดตั้งระบบชุมสายโทรศัพท์ต้องใช้ เทคนิคเฉพาะ โจทก์เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งผู้ขายมีความรู้ในระบบของตนเองดีกว่า ผู้อื่นและต้องการเก็บรักษาเทคนิคของระบบเครื่องชุมสายโทรศัพท์ของตนเองไว้มิให้ล่วงรู้ไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ดังจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดการรักษาความลับและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในสัญญาว่า บรรดาสิทธิใน ปัญญาสมบัติ (Intellectual Property Right) ทั้งหมดในซอฟแวร์ซึ่งผู้ขายได้จัดหาให้แก่ผู้ซื้อภายใต้สัญญานี้ ยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้ขายตลอดเวลา ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินเพื่อตอบแทนการชำระราคา เพราะสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟแวร์นั้นเป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ใน เครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพยสิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟแวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่ผู้ขายขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์ให้แก่ผู้ซื้อโดยมีข้อยกเว้นไม่โอนสิทธิใน ซอฟแวร์ให้แก่ผู้ซื้อนั้น ไม่อาจตีความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างใด การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจนประกอบกับเหตุผลอื่น ๆ ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และกองทัพเรือเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบกับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์รวม 8 ชุมสาย แยกต่างหากจากกันเป็น สองลักษณะสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 4 ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด แม้ว่าตาม ป. รัษฎากร มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ และตามสัญญาพอแปลความได้ว่า ผู้ซื้อคือกองทัพเรือรับภาระที่จะเสียอากรแทนผู้ขายคือโจทก์ก็ตามแต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญา กรมสรรพากรก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บ ค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตาม ป. รัษฎากรอยู่นั่นเอง ส่วนข้อตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้เสียอากรเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย-จ้างทำของ: การตีความเจตนาของคู่สัญญาและการชำระภาษี
การตีความในสัญญาจะต้องพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาประกอบกับถ้อยคำสำนวนในสัญญาด้วย แม้ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์พร้อมทั้งการติดตั้ง แต่ในตัวสัญญามิได้ระบุค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง และให้ถือว่าภาคผนวกแนบท้ายสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและได้กำหนดรายละเอียดราคาไว้ในภาคผนวกแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟท์แวร์เป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพย์สิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์ หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟท์แวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจน แสดงว่าเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบ กับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์แยกต่างหากจากกันเป็นสองลักษณะสัญญาในฉบับเดียวกันเมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าในส่วนของสัญญาจ้างทำของ จำเลยจึงไม่มีอำนาจแจ้งให้โจทก์เสียภาษีการค้าอีก ตามประมวลรัษฎากร ฯ มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ แม้กฎหมายจะบัญญัติให้คู่สัญญาตกลงกันให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียอากรได้ แต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญาจำเลยก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร