คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 312

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สำหรับบุคคลภายนอก: การนำบทบัญญัติมาใช้โดยอนุโลม
โจทก์ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยมีคำขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้ศาลสั่งห้ามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดการใช้เงินเป็นการชั่วคราว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งอายัด จึงเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกคือผู้ร้องถูกหมายอายัดและขอเพิกถอนคำสั่ง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ถูกหมายอายัดและเป็นผู้ขอให้ยกเลิกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 จึงต้องอาศัยบทบัญญัติมาตรา 259 นำมาตรา 312 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับบุคคลภายนอกเป็นผู้ร้องขอมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดทรัพย์สินโดยบุคคลภายนอก: การใช้บทบัญญัติมาตรา 259 และ 312 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับมาตรา 267
โจทก์ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยมีคำขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้ศาลสั่งห้ามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดการใช้เงินเป็นการชั่วคราว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งอายัด จึงเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกคือผู้ร้องถูกหมายอายัดและขอเพิกถอนคำสั่ง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ถูกหมายอายัดและเป็นผู้ขอให้ยกเลิกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 จึงต้องอาศัยบทบัญญัติมาตรา 259 นำมาตรา 312 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับบุคคลภายนอกเป็นผู้ร้องขอมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันเป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดเงินค่างาน: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนหากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่ โจทก์ฎีกาว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312 วรรคแรกหมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้องการใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก" การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกา ของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวดโดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างาน ในงวดที่ 5 ดังกล่าว แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะ ฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็น หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการ ไต่สวนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา และพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการแบ่งแยก และสิทธิของผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ระงับการนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทจนกว่าคดีที่โจทก์จำเลยถูกฟ้องจะถึงที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทและนำไปโอนขายให้แก่ผู้ร้องมาแต่ต้น ผู้ร้องจะอ้างว่าโจทก์ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วและโอนขายให้แก่ผู้ร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ คดีไม่เกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความโดยไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหรือในฐานะผู้ซื้อซึ่งรับโอนโดยสุจริต จำเลยมีสิทธิขออายัดการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการแบ่งแยก และผลกระทบต่อผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ระงับการนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทจนกว่าคดีที่โจทก์จำเลยถูกฟ้องจะถึงที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทและนำไปโอนขายให้แก่ผู้ร้องมาแต่ต้น ผู้ร้องจะอ้างว่าโจทก์ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วและโอนขายให้แก่ผู้ร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ คดีไม่เกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความโดยไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหรือในฐานะผู้ซื้อซึ่งรับโอนโดยสุจริต จำเลยมีสิทธิขออายัดการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝากและสิทธิการถอนเงิน: สิทธิของผู้รับฝากและเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
เงินที่จำเลยฝากตกเป็นของธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากแล้ว ผู้ร้องคงมีหน้าที่แต่คืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่จำเลยตกลง มอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้แก่ผู้ร้องโดยใช้ข้อความว่าเป็นการจำนำก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่จำเลยจะพึงมีต่อผู้ร้อง แม้จะตกลงยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังเป็นของจำเลยอันผู้ร้องจะยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ และโดยสภาพแล้วสิทธิการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากย่อมไม่อาจส่งมอบแก่กันได้อย่างสิทธิซึ่งมีตราสาร ความตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 และการที่จำเลยมอบใบรับฝากประจำให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยก็มิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ บุริมสิทธิจากการจำนำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6684/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจากคำสั่งอายัดทรัพย์สิน จำเป็นต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องสัญญาจำนำและสิทธิเรียกร้องอย่างละเอียดก่อน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนการบังคับคดีเพิกถอนการยึด และมีคำสั่งให้ปล่อยเงินที่ยึดจำนวน2,400,200 บาท กับขอให้ไต่สวนข้อโต้แย้งและการปฏิเสธส่งเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้องซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเงินฝากประจำศาลแพ่งสั่งอายัดชั่วคราวไว้ และบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าว จำเลยได้จำนำประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้อง และจำเลยมีหนังสือยินยอมให้หักเงินในบัญชีชำระหนี้ผู้ร้องได้ ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินฝากคืนจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดอันเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแรงงานออกหมายบังคับคดีและดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ผู้ร้องเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนตามที่เห็นสมควรแล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้นแต่ในการไต่สวนศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว และผู้ร้องส่งอ้างเอกสารเป็นพยานแล้วศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งยกคำร้องของ ผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้นำสืบพยานบุคคลประกอบว่าการจำนำตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวของจำเลยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่ยอมส่งเงินตามที่ศาลสั่งอายัด สำหรับฝ่ายโจทก์ซึ่งคัดค้านเข้ามาก็ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามว่ายอมรับข้อเท็จจริงข้อไหนอย่างไร ที่ผู้ร้องอ้างมาบ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้มาจากการสอบถามกับเอกสารที่ผู้ร้องส่งอ้าง เป็นพยานก็ดีและข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานก็ดี ยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกาในปัญหาว่าที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินอายัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 ประกอบด้วยมาตรา 312 วรรคหนึ่ง เพราะจะต้องไต่สวนและ เห็นว่าเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริงก่อนมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไปหรือไม่ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ที่เรียกร้องไม่มีอยู่จริง การออกหมายบังคับเอาแก่ผู้ร้องต่อมาจะเป็นการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นอันผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้ยก หมายบังคับคดีเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคแรกและวรรคสาม ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 หรือไม่ซึ่งศาลฎีกาไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงของคดีแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 56 ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานทำการพิจารณาสืบพยานในข้อที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำประกันหนี้ต่าง ๆ ที่จำเลยมีกับผู้ร้อง ตลอดถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำนำระหว่างผู้ร้องกับจำเลย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6684/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการไต่สวนสัญญาจำนำประกันหนี้ ศาลต้องไต่สวนสืบพยานให้ครบถ้วนก่อนมีคำสั่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนการบังคับคดี เพิกถอนการยึด และมีคำสั่งให้ปล่อยเงินที่ยึดจำนวน 2,400,200 บาท กับขอให้ไต่สวนข้อโต้แย้งและการปฏิเสธส่งเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้องซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเงินฝากประจำศาลแพ่งสั่งอายัดชั่วคราวไว้ และบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าว จำเลยได้จำนำประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้อง และจำเลยมีหนังสือยินยอมให้หักเงินในบัญชีชำระหนี้ผู้ร้องได้ ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินฝากคืนจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดอันเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแรงงานออกหมายบังคับคดีและดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ผู้ร้องเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนตามที่เห็นสมควรแล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้น แต่ในการไต่สวนศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว และผู้ร้องส่งอ้างเอกสารเป็นพยานแล้วศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้นำสืบพยานบุคคลประกอบว่าการจำนำตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวของจำเลยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่ยอมส่งเงินตามที่ศาลสั่งอายัด สำหรับฝ่ายโจทก์ซึ่งคัดค้านเข้ามา ก็ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามว่ายอมรับข้อเท็จจริงข้อไหนอย่างไร ที่ผู้ร้องอ้างมาบ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้มาจากการสอบถามกับเอกสารที่ผู้ร้องส่งอ้างเป็นพยานก็ดีและข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานก็ดี ยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกาในปัญหาว่าที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินอายัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 311ประกอบด้วยมาตรา 312 วรรคหนึ่ง เพราะจะต้องไต่สวนและเห็นว่าเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริงก่อนมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไปหรือไม่ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ที่เรียกร้องไม่มีอยู่จริง การออกหมายบังคับเอาแก่ผู้ร้องต่อมาจะเป็นการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นอันผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้ยกหมายบังคับคดีเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคแรก และวรรคสามประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงของคดีแรงงานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา56 ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานทำการพิจารณาสืบพยานในข้อที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำประกันหนี้ต่าง ๆ ที่จำเลยมีกับผู้ร้อง ตลอดถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำนำระหว่างผู้ร้องกับจำเลย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดเงินจากบุคคลภายนอก เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแม้ยังมิได้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดถึงผู้ร้องให้ส่งเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่าหนังสืออายัดดังกล่าวมิใช่คำสั่งศาล การอายัดต้องกระทำโดยคำสั่งศาลเท่านั้นและการอายัดจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วคดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกหนังสืออายัดไปยังผู้ร้องหรือไม่ และการอายัดจะต้องมีการยึดทรัพย์สินของจำเลยก่อนหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสืออายัดไม่มีข้อห้ามผู้ร้องไม่ให้ชำระเงินแก่จำเลย ทั้งไม่ได้กำหนดเวลาให้ผู้ร้องส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ใช่คำสั่งอายัดตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นประเด็นที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการตามคำสั่งยึดอายัดของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจกระทำได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวเรียงตามลำดับ ส่วนมาตรา 310ที่บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้ ฯลฯ" นั้นเป็นการบัญญัติวิธีการยึดทรัพย์ก่อนวิธีการอายัดทรัพย์ อันเป็นบทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้ การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องบังคับคดี: สิทธิในการยกเหตุต่อสู้ & เหตุผลสมควรในการขอเลื่อน
แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกข้อโต้แย้งขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ แต่ในวันนัดไต่สวนทนายผู้คัดค้านแถลงว่าจะนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนถึงข้อปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้าน และยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประธานกรรมการของผู้คัดค้านย้ายไปรับราชการที่อื่นผู้คัดค้านจึงต้องทำการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แทนต่อไป แสดงว่าผู้คัดค้านยังไม่พร้อมจะสู้คดีมีเหตุผลสมควรศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งตามรูปคดี
of 8