พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8811/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นจะขายที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับฟังพยานบุคคลถูกจำกัดหากไม่มีหลักฐานเอกสาร
เอกสารมีข้อความว่า "ยอดเงินขายฝากที่ดิน 300,000 บาท ยอดเงินกู้ 292,700 บาท รวม 2 รายการ 592,700 บาท จ่ายเงินสดก่อน 200,000 บาท คงเป็นหนี้อยู่อีก 392,700 บาท" ไม่มีข้อความที่เป็นข้อตกลงว่าจำเลยได้ให้คำมั่นจะขาย ที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ เมื่อคำมั่นว่าจะขายอสังหาริมทรัพย์มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลที่โจทก์นำสืบประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อได้นำเอกสารมาแสดงว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) และข้อความตามเอกสารในสำนวนคดีแพ่งดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นคำมั่นว่าจะขายที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่ามีการตกลงให้คำมั่นจะขายที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงกระท่อมนาและทรัพย์สิน ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษจากความผิดฐานวางเพลิงเผาโรงเรือนเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218 (1) โดยศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน เมื่อปรากฏว่า กระท่อมนาและทรัพย์สินที่ถูกเพลิงไหม้มีราคาเพียงเล็กน้อย ทั้งกระท่อมนาดังกล่าวปลูกอยู่กลางทุ่งนา รอบกระท่อมนาไม่มีบ้านเรือนบุคคลอื่นอยู่ และขณะเกิดเหตุกระท่อมนาไม่มีบุคคลอยู่อาศัย ย่อมไม่อาจเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 223 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนโดยไม่ได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การแบ่งแยกที่ดินเพื่อชดใช้การรุกล้ำ
เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย และ บ.โดยบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ว่า ตามที่เจ้าหน้าที่มาทำรังวัดตรวจสอบเนื้อที่รายโจทก์ จากการรังวัดปรากฏว่า อาณาเขตทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย ได้ทำการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ประมาณ 6 เมตร ปรากฏว่าคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ โดยจำเลยยินยอมแบ่งแยกที่ดินทางด้านทิศเหนือจากถนนสาธารณะประมาณ 4 เมตร โดยวัดเฉียงตรงมายังชายทะเลโดยที่ดินของจำเลยยังคงเหลือระยะ 68 เมตร เท่าเดิม ในการตกลงครั้งนี้จำเลยยินยอมตกลงว่าจะไปทำคำขอรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์ภายในเวลา 1 เดือน นับจากวันตกลงนี้ ข้อตกลงในส่วนโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน โดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินของจำเลยบางส่วนชดใช้ให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทการรุกล้ำที่ดิน โดยการแบ่งแยกที่ดินชดใช้
เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย และ บ. โดยบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ว่า ตามที่เจ้าหน้าที่มาทำรังวัดตรวจสอบเนื้อที่รายโจทก์จากการรังวัดปรากฏว่า อาณาเขตทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย ได้ทำการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ประมาณ 6 เมตร ปรากฏว่าคู่กรณีสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยยินยอมแบ่งแยกที่ดินทางด้านทิศเหนือจากถนนสาธารณะประมาณ 4 เมตร โดยวัดเฉียงตรงมายังชายทะเลโดยที่ดินของจำเลยยังคงเหลือระยะ 68 เมตร เท่าเดิม ในการตกลงครั้งนี้จำเลยยินยอมตกลงว่าจะไปทำคำขอรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์ภายในเวลา 1 เดือนนับจากวันตกลงนี้ ข้อตกลงในส่วนโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน โดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินของจำเลยบางส่วนชดใช้ให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7871/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า 'Panabishi' และ 'Panasonic' อาจทำให้สาธารณชนสับสนถึงความเป็นเจ้าของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าเป็นรูปสามเหลี่ยมประดิษฐ์ และคำว่า "Panabishi" กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จดทะเบียนคำว่า "Panasonic" มีคำ 2 พยางค์แรกเป็นคำว่า Pana คำเดียวกัน แม้คำพยางค์อื่นที่นำมาประกอบในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะแตกต่างกัน แต่ปรากฏว่ามีตัวอักษรที่เหลือจำนวน 5 ตัวเท่ากัน ทำให้เข้าใจว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panabishi" อยู่ในเครือเดียวกันกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panasonic" นอกจากนี้จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Panasonic" ในสินค้าจำพวกที่ 8 (เดิม) สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งรวมถึงเครื่องปรับอากาศและยื่นคำขอต่ออายุการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 11 (ใหม่) รายการสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องปรับอากาศ ก่อนที่โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panabishi" เกือบ 10 ปี แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้วย แต่คำว่า "Panabishi" และ "Panasonic" มีตัวอักษร 9 ตัวเท่ากัน มีลักษณะเด่นที่คำว่า "Pana" การเรียกขานก็คล้ายกัน และจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้สำหรับสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งโจทก์ก็ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "PANA" และ "Panasonic" จึงนับได้ว่าคล้ายกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้แล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมีอำนาจสั่งระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (3) และมาตรา 13 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7692/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายน้ำมันคุณภาพต่ำซ้ำหลังศาลรอการลงโทษ ไม่สำนึกผิด จึงไม่สมควรได้รับการรอการลงโทษ
การที่จำเลยจำหน่ายน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดนั้น ย่อมมีผลทำให้เครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ใช้น้ำมันที่จำเลยจำหน่ายได้รับความเสียหาย ทั้งคดีก่อนจำเลยเคยกระทำความผิดฐานเดียวกันกับคดีนี้มาก่อนแล้ว และศาลได้ให้โอกาสจำเลยกับตนเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษให้ แต่จำเลยกับมากระทำผิดคดีนี้อีกระหว่างที่ศาลรอการลงโทษให้ แสดงว่าจำเลยไม่สำนึกในความผิดพฤติการณ์ จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7589/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเรียกเก็บเช็คพิพาท ทำให้โจทก์เสียหาย
พนักงานของจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงโจทก์ มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า การเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทต้องใช้เวลาเรียกเก็บประมาณ 1 เดือน ถึง 3 เดือน ซึ่งจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าหนังสือดังกล่าวมิใช่เอกสารของพนักงานของจำเลยมีถึงโจทก์และมิได้ปฏิเสธว่าข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่ประการใด แสดงว่า การเรียกเก็บเงินในลักษณะเดียวกันกับเช็คพิพาทตามปกติจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จว่าเรียกเก็บเงินได้หรือไม่ได้ภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือไม่เกินวันที่ 20 สิงหาคม 2537 และจำเลยต้องแจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ให้โจทก์ทราบภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยไม่แจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ให้โจทก์ทราบภายในระยะเวลาอันสมควรโดยปล่อยให้เวลาล่วงเลยจากวันที่ 20 สิงหาคม 2537 ออกไปอีกประมาณ 6 เดือน ถือได้ว่าจำเลยในฐานะผู้มีวิชาชีพเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทแทนโจทก์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6514/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายการรับขนของทางทะเล
เรื่อง พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต และการขยายระยะเวลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้น หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วัน เพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลา แม้จะมีเหตุผล ก็ไม่สามารถขยายเวลาอุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้นหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วันเพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย