พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงใช้คำว่า 'จัดหางาน' ตามนิยามกฎหมาย ถือว่าฟ้องสมบูรณ์
ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า"ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน" เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันจัดหางานโดยใช้คำที่กฎหมายให้ความหมายไว้โดยเฉพาะ ก็เท่ากับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ประกอบธุรกิจจัดหางาน อันถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจัดหางาน ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แล้ว โดยมิต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพโดยทำธุรกิจด้วยการจัดหางานโดยตรงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน การชำระหนี้แทนลูกหนี้ และสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ภาษีอากรหรือภาษีอากรเพิ่มรวมกับเงินเพิ่มตลอดจนหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่โจทก์ที่ 1 อาจจะต้องเสียแก่กรมศุลกากรโดยไม่ได้มีข้อตกลงให้สิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะยกเลิกสัญญาค้ำประกันหรือมีสิทธิที่จะสั่งระงับมิให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดจนหนี้อุปกรณ์อื่น ๆ ตามกฎหมายได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะสั่งให้จำเลยที่ 1 ระงับการจ่ายเงินให้แก่กรมศุลกากร เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือให้ไปชำระค่าภาษีอากร เนื่องจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของกรมศุลกากรผิดนัด กรมศุลกากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องชำระเงินจำนวนที่ค้ำประกันไว้ให้แก่กรมศุลกากร เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากโจทก์ที่ 1 ลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินจำนวนหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธจ่าย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายแม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ปัญหานี้ แม้จำเลยไม่หยิบยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินจำนวนหนี้จริง แม้ธนาคารปฏิเสธจ่าย การกระทำไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายแม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนเงินในเช็คเกินหนี้ ศาลยกฟ้อง พ.ร.บ.เช็ค
จำนวนเงินที่ระบุในเช็คพิพาทเกินไปจากหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหาย แม้ธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ปัญหานี้แม้จำเลยไม่หยิบยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินเนื่องจากหนังสือมอบอำนาจปลอม ต้องฟ้องผู้รับซื้อฝากด้วย
จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์โดยไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เพื่อขายฝากที่ดินพร้อมบ้านของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61แต่โจทก์ต้องฟ้องผู้รับซื้อฝากซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและได้ลาภงอกอันเนื่องจากนิติกรรมที่ได้ทำการจดทะเบียนตามที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโดยไม่ชอบเข้ามาเป็นจำเลยด้วย มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมบ้านระหว่างโจทก์กับผู้รับซื้อฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหายและราคาสินค้าที่แท้จริง การบังคับคดีดอกเบี้ยเกินคำฟ้อง
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางอากาศ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ส่งสินค้าซึ่งทำด้วยทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น ไปให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ลูกค้าที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทางเครื่องบินของจำเลยที่ 2 เมื่อเครื่องบินขนสินค้ามาถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 30 สิงหาคม 2540 ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหีบห่อ โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ขอชดใช้ให้เป็นเงินจำนวน 15,000 บาท มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ประเด็นแรกว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องไว้จากบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วหรือไม่ ในประเด็นนี้นางสาวมาลีตันฑ์วณิช ผู้จัดการฝ่ายรับประกันวินาศภัยของโจทก์เบิกความว่า โจทก์รับประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น จากบริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ซึ่งจะขนสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยทางเครื่องบิน โดยรับประกันภัยไว้เป็นเงินจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ขายได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์โดยทางเครื่องบินเพื่อส่งมอบให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าดังกล่าว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1ได้รับสินค้าไว้เรียบร้อยครบจำนวนแล้วได้ออกใบตราส่งทางอากาศให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งตามเอกสารหมาย จ.6 จากนั้นจำเลยที่ 1ได้จ้างจำเลยที่ 2 อีกทอดหนึ่งให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์ เครื่องบินลำที่ขนส่งสินค้าดังกล่าวไปถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2540 แต่ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวสูญหายไปทั้งหีบห่อในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 เมื่อสินค้าสูญหายบริษัทผู้เอาประกันภัยได้เรียกร้องค่าเสียหายไปยังจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ชดใช้ให้ บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงเรียกร้องมายังโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย โจทก์พิจารณาเห็นว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายไปทั้งหมดจริง จึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัทดังกล่าวไปจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ307,294 บาท เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2541 แล้วบริษัทผู้เอาประกันภัยดังกล่าวได้ออกใบรับช่วงสิทธิให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามเอกสารหมาย จ.9เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้รับประกันภัยจากบริษัทเอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด พร้อมทั้งมีกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.4 มาแสดง นอกจากนั้นเมื่อสินค้าได้สูญหายและโจทก์ได้ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียลงวันที่ 15 มกราคม 2541 ตามเอกสารหมาย จ.9 ให้โจทก์ ซึ่งถ้าหากมิได้มีการประกันภัยสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 817 ชิ้นที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องกันไว้และมิได้มีการใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กันจริง โจทก์ก็คงจะไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่แฟคตอรี่ จำกัด และบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ก็คงจะไม่ออกใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียให้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่พอให้เชื่อว่าโจทก์ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด โดยไม่ได้มีการประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แล้วโจทก์สมคบกันกับบริษัทดังกล่าวโดยทุจริตยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทนั้นไปเพียงเพื่อจะได้เข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทนั้นมาฟ้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งแต่อย่างใด เชื่อว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องและได้จ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจริงส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างในอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้รับประกันภัยก่อนขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้นั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายโจทก์ถามติงว่า เหตุที่วันที่ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นวันหลังจากวันที่ออกใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 เพราะโจทก์ตกลงกับบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ซึ่งเป็นนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ว่า ให้ออกเอกสารแสดงการรับประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยไปก่อนและรวบรวมส่งให้โจทก์เป็นรายเดือน แล้วโจทก์ก็จะนำไปออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับสมบูรณ์คือเอกสารหมาย จ.4 ในเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 แผ่นแรก ก็ระบุถึงวันที่บริษัทนายหน้าออกเอกสารไว้ว่า วันที่ 29 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ทำการขนส่งดังที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.6จากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเชื่อว่าบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัดรับประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องไว้แทนโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2540ก่อนที่จะเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่เอาประกันภัย ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพันต่อผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้านั้นที่จะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องที่ต้องสูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางอากาศของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ และที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นเพียงสำเนาเอกสาร รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามกฎหมายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านไว้แล้วนั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4มีเอกสารแนบท้ายซึ่งเป็นของบริษัทนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ เอกสารที่แนบท้ายเอกสารดังกล่าวมีเพียงฉบับเดียว ดังปรากฏตามที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยทำเป็นคู่ฉบับ ซึ่งเป็นต้นฉบับ 2 ฉบับ และทำสำเนาหลายฉบับ ส่งไปให้ผู้เอาประกันภัย 1 ฉบับ และตัวแทนรับประกันภัยของโจทก์ 1 ฉบับ ด้วยอันแสดงว่าเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 บริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้นเพียงฉบับเดียว ดังนั้น ต้นฉบับจึงต้องอยู่กับผู้เอาประกันภัย คือบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัดเพราะโจทก์ต้องส่งต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมเอกสารแนบท้ายไปให้ผู้เอาประกันภัยด้วย โจทก์จึงเหลือเพียงต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารหมาย จ.4 อีก 1 ฉบับ และสำเนาเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ที่โจทก์ทำไว้เท่านั้น เหตุที่ต้นฉบับเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 มิได้อยู่ที่โจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบ และรับฟังสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า สินค้าที่ขนส่งมีราคาเท่าใด และจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดนั้น เห็นว่า ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 ในช่องลักษณะและจำนวนของสินค้า (รวมทั้งขนาดวัดและความจุ) แจ้งรายละเอียดว่าเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอย สินค้ามีขนาดวัด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ต้นกำเนิดประเทศไทย ใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็ม เอ 004/97 และเมื่อพิจารณาประกอบกับใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็มเอ 004/97 ตามเอกสารหมาย จ.5แล้วปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดว่า รวมราคาสินค้าส่งถึงบนเครื่องบิน กรุงเทพฯ จำนวน 817 ชิ้น น้ำหนัก 1,931 กรัม จำนวน1,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเชื่อว่าราคาสินค้าที่ขนส่งเป็นเงินจำนวน11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จริง ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมายจ.6 ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าสินค้ามีราคาเพียง15,000 บาท ตามราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอชดใช้ให้โจทก์นั้น ปรากฏว่าสินค้าที่สูญหายไปเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยซึ่งเป็นของมีค่าและมีจำนวน817 ชิ้น มีน้ำหนักถึง 1,931 กรัม ซึ่งย่อมจะต้องมีราคาสูง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้เพราะขัดต่อเหตุผล เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ทำให้สินค้าอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งซึ่งเอาประกันภัยสินค้านั้นไว้แก่โจทก์ตามราคาสินค้าที่ขนส่งที่แท้จริง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษามาชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มกราคม 2541 อันเป็นวันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์นั้นปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปคือวันที่ 15 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันฟ้องเป็นเวลา 7 เดือนเศษ แต่โจทก์ขอคิดเพียง 7 เดือน ไม่ขอคิดดอกเบี้ยในเศษ 13 วัน ด้วย เป็นเงินดอกเบี้ยจำนวน 13,444.11 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 320,738.11 บาท และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 320,738.11 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี ในต้นเงินจำนวน 307,294 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาท เป็นเวลา 13 วัน ซึ่งโจทก์มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระรวมเข้าไปด้วย อันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 320,738.11บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง.
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ส่งสินค้าซึ่งทำด้วยทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น ไปให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ลูกค้าที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทางเครื่องบินของจำเลยที่ 2 เมื่อเครื่องบินขนสินค้ามาถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 30 สิงหาคม 2540 ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหีบห่อ โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ขอชดใช้ให้เป็นเงินจำนวน 15,000 บาท มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ประเด็นแรกว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องไว้จากบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วหรือไม่ ในประเด็นนี้นางสาวมาลีตันฑ์วณิช ผู้จัดการฝ่ายรับประกันวินาศภัยของโจทก์เบิกความว่า โจทก์รับประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น จากบริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ซึ่งจะขนสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยทางเครื่องบิน โดยรับประกันภัยไว้เป็นเงินจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ขายได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์โดยทางเครื่องบินเพื่อส่งมอบให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าดังกล่าว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1ได้รับสินค้าไว้เรียบร้อยครบจำนวนแล้วได้ออกใบตราส่งทางอากาศให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งตามเอกสารหมาย จ.6 จากนั้นจำเลยที่ 1ได้จ้างจำเลยที่ 2 อีกทอดหนึ่งให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์ เครื่องบินลำที่ขนส่งสินค้าดังกล่าวไปถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2540 แต่ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวสูญหายไปทั้งหีบห่อในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 เมื่อสินค้าสูญหายบริษัทผู้เอาประกันภัยได้เรียกร้องค่าเสียหายไปยังจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ชดใช้ให้ บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงเรียกร้องมายังโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย โจทก์พิจารณาเห็นว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายไปทั้งหมดจริง จึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัทดังกล่าวไปจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ307,294 บาท เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2541 แล้วบริษัทผู้เอาประกันภัยดังกล่าวได้ออกใบรับช่วงสิทธิให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามเอกสารหมาย จ.9เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้รับประกันภัยจากบริษัทเอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด พร้อมทั้งมีกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.4 มาแสดง นอกจากนั้นเมื่อสินค้าได้สูญหายและโจทก์ได้ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียลงวันที่ 15 มกราคม 2541 ตามเอกสารหมาย จ.9 ให้โจทก์ ซึ่งถ้าหากมิได้มีการประกันภัยสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 817 ชิ้นที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องกันไว้และมิได้มีการใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กันจริง โจทก์ก็คงจะไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่แฟคตอรี่ จำกัด และบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ก็คงจะไม่ออกใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียให้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่พอให้เชื่อว่าโจทก์ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด โดยไม่ได้มีการประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แล้วโจทก์สมคบกันกับบริษัทดังกล่าวโดยทุจริตยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทนั้นไปเพียงเพื่อจะได้เข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทนั้นมาฟ้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งแต่อย่างใด เชื่อว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องและได้จ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจริงส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างในอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้รับประกันภัยก่อนขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้นั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายโจทก์ถามติงว่า เหตุที่วันที่ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นวันหลังจากวันที่ออกใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 เพราะโจทก์ตกลงกับบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ซึ่งเป็นนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ว่า ให้ออกเอกสารแสดงการรับประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยไปก่อนและรวบรวมส่งให้โจทก์เป็นรายเดือน แล้วโจทก์ก็จะนำไปออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับสมบูรณ์คือเอกสารหมาย จ.4 ในเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 แผ่นแรก ก็ระบุถึงวันที่บริษัทนายหน้าออกเอกสารไว้ว่า วันที่ 29 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ทำการขนส่งดังที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.6จากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเชื่อว่าบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัดรับประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องไว้แทนโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2540ก่อนที่จะเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่เอาประกันภัย ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพันต่อผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้านั้นที่จะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องที่ต้องสูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางอากาศของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ และที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นเพียงสำเนาเอกสาร รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามกฎหมายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านไว้แล้วนั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4มีเอกสารแนบท้ายซึ่งเป็นของบริษัทนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ เอกสารที่แนบท้ายเอกสารดังกล่าวมีเพียงฉบับเดียว ดังปรากฏตามที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยทำเป็นคู่ฉบับ ซึ่งเป็นต้นฉบับ 2 ฉบับ และทำสำเนาหลายฉบับ ส่งไปให้ผู้เอาประกันภัย 1 ฉบับ และตัวแทนรับประกันภัยของโจทก์ 1 ฉบับ ด้วยอันแสดงว่าเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 บริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้นเพียงฉบับเดียว ดังนั้น ต้นฉบับจึงต้องอยู่กับผู้เอาประกันภัย คือบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัดเพราะโจทก์ต้องส่งต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมเอกสารแนบท้ายไปให้ผู้เอาประกันภัยด้วย โจทก์จึงเหลือเพียงต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารหมาย จ.4 อีก 1 ฉบับ และสำเนาเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ที่โจทก์ทำไว้เท่านั้น เหตุที่ต้นฉบับเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 มิได้อยู่ที่โจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบ และรับฟังสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า สินค้าที่ขนส่งมีราคาเท่าใด และจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดนั้น เห็นว่า ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 ในช่องลักษณะและจำนวนของสินค้า (รวมทั้งขนาดวัดและความจุ) แจ้งรายละเอียดว่าเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอย สินค้ามีขนาดวัด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ต้นกำเนิดประเทศไทย ใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็ม เอ 004/97 และเมื่อพิจารณาประกอบกับใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็มเอ 004/97 ตามเอกสารหมาย จ.5แล้วปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดว่า รวมราคาสินค้าส่งถึงบนเครื่องบิน กรุงเทพฯ จำนวน 817 ชิ้น น้ำหนัก 1,931 กรัม จำนวน1,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเชื่อว่าราคาสินค้าที่ขนส่งเป็นเงินจำนวน11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จริง ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมายจ.6 ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าสินค้ามีราคาเพียง15,000 บาท ตามราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอชดใช้ให้โจทก์นั้น ปรากฏว่าสินค้าที่สูญหายไปเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยซึ่งเป็นของมีค่าและมีจำนวน817 ชิ้น มีน้ำหนักถึง 1,931 กรัม ซึ่งย่อมจะต้องมีราคาสูง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้เพราะขัดต่อเหตุผล เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ทำให้สินค้าอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งซึ่งเอาประกันภัยสินค้านั้นไว้แก่โจทก์ตามราคาสินค้าที่ขนส่งที่แท้จริง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษามาชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มกราคม 2541 อันเป็นวันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์นั้นปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปคือวันที่ 15 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันฟ้องเป็นเวลา 7 เดือนเศษ แต่โจทก์ขอคิดเพียง 7 เดือน ไม่ขอคิดดอกเบี้ยในเศษ 13 วัน ด้วย เป็นเงินดอกเบี้ยจำนวน 13,444.11 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 320,738.11 บาท และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 320,738.11 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี ในต้นเงินจำนวน 307,294 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาท เป็นเวลา 13 วัน ซึ่งโจทก์มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระรวมเข้าไปด้วย อันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 320,738.11บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น vs. ทางภารจำยอม การกำหนดค่าทดแทนความเสียหาย และขนาดของทางผ่าน
การเรียกร้องเอาทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นกรณีที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนที่ดินกันจนเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ หมายความว่า ที่ดินแปลงเดิมก่อนแบ่งแยกมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะและการแบ่งแยกเป็นเหตุให้แปลงที่แบ่งแยกแปลงใดแปลงหนึ่งออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ได้ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นได้เฉพาะที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เมื่อที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียวและตามสภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็นและที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1349 วรรคหนึ่งต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน
เมื่อที่ดินตกอยู่ที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียวและตามสภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็นและที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตามมาตรา 1349 วรรคหนึ่งต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินที่ถูกล้อม และการกำหนดค่าทดแทนที่เหมาะสม
การเรียกร้องเอาทางจำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นกรณีที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนที่ดินกันจนเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ หมายความว่า ที่ดินแปลงเดิมก่อนแบ่งแยกมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะและการแบ่งแยกเป็นเหตุให้แปลงที่แบ่งแยกแปลงใดแปลงหนึ่งออกไปสู่ทางสาธารณะไม่ได้ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นได้เฉพาะที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เมื่อที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียว และตามสถานการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น และที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ 200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและ ห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนดังกล่าวไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน เมื่อคำนึงกับความเจริญและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ประกอบกับความเสียหายที่จำเลยได้รับแล้ว สมควรกำหนดค่าทดแทนความเสียหายให้จำเลยเท่ากับร้อยละ 75 ของราคาประเมิน
เมื่อที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับการคุ้มครองถึงการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินได้ด้วยเท้าแต่อย่างเดียว และตามสถานการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันรถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น และที่พิพาทอยู่ห่างถนนประมาณ 200 เมตร เป็นพื้นที่มีความเจริญมีอาคารสูงหลายอาคารและ ห่างจากย่านการค้าเพียง 500 เมตร หากจะมีการพัฒนาที่ดินเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญแล้ว สมควรที่จะเปิดทางเพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8822 และเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 7178 ของโจทก์ที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ซึ่งค่าทดแทนดังกล่าวไม่ใช่ค่าซื้อที่ดิน เมื่อคำนึงกับความเจริญและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ประกอบกับความเสียหายที่จำเลยได้รับแล้ว สมควรกำหนดค่าทดแทนความเสียหายให้จำเลยเท่ากับร้อยละ 75 ของราคาประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง กรณีมีอำนาจสั่งการ ควบคุมดูแล และจ่ายค่าจ้าง
ข. เจ้าของรถนำรถบรรทุกมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 1 โดยพ่นตัวหนังสือชื่อย่อจำเลยที่ 1 ไว้ข้างรถบรรทุก และในขณะเกิดเหตุมีจำเลยที่ 2 ซึ่ง ข. จัดหาไปขับรถบรรทุกสินค้าเป็นผู้ขับเพื่อบริการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้ใช้บริการโดยการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ให้บริการแก่ลูกค้าคนใดหรือจะไปในที่แห่งใดย่อมอยู่ในการควบคุมดูแลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่ง ข. ไม่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องได้ จำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 2 ไม่ให้ขับรถบรรทุกต่อไปได้ หากเห็นไม่สมควรที่จะให้ทำหน้าที่ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสั่งการบังคับบัญชาจำเลยที่ 2และมีอำนาจหักเอาเงินผลประโยชน์ส่วนแบ่งของ ข. มาจ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ด้วย นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีผลประโยชน์ร่วมกับ ข. โดยได้รับส่วนแบ่งจากการให้บริการขนสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราย ๆ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิด