พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์โดยใช้กำลังและความร่วมมือ จำเลยมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
รถคู่กรณีทั้งสองคันจอดติดสัญญาณไฟจราจรสีแดง แต่จำเลยที่ 1กลับขับรถชนท้ายรถผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายลงจากรถมาเจรจา ต่อมาผู้เสียหายเผลอ จำเลยที่ 2 ขึ้นรถของผู้เสียหายจะขับหลบหนีไป เมื่อผู้เสียหายได้ร้องห้าม กลับขับรถพุ่งเข้าใส่ผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งให้จำเลยที่ 2นำรถของผู้เสียหายไป เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถของผู้เสียหายได้ห่างจากที่เกิดเหตุหลายร้อยเมตร จึงเป็นการเอาทรัพย์ไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้มือตีแขนและคอของผู้เสียหายขณะผู้เสียหายพยายามจะหยุดรถที่จำเลยที่ 1 ขับตามจำเลยที่ 2ไป เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อให้ความสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 3 นั่งรถมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตั้งแต่ต้น ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 อยู่ด้วยตลอดเวลา แสดงว่าจำเลยที่ 3 ทราบการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาโดยตลอด และหลังเกิดเหตุก็หลบหนีไปด้วยกันเชื่อว่ามีการวางแผนร่วมกันมาก่อน และเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับพวก จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 3 นั่งรถมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตั้งแต่ต้น ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 อยู่ด้วยตลอดเวลา แสดงว่าจำเลยที่ 3 ทราบการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาโดยตลอด และหลังเกิดเหตุก็หลบหนีไปด้วยกันเชื่อว่ามีการวางแผนร่วมกันมาก่อน และเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาร่วมกระทำความผิดกับพวก จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์: การกระทำเพื่อช่วยเหลือจับกุมคนร้ายไม่มีเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิด
ก่อนเกิดเหตุ ตัววงจรไฟฟ้าของบริษัทผู้เสียหายได้หายไปโดยไม่ทราบตัวคนร้าย จำเลยกับพวกเป็นผู้ที่ช่วยเหลือผู้เสียหายในการสืบหาตัวคนร้ายและร่วมมือในการวางแผนจับกุมคนร้ายได้ นอกจากนี้ผู้เสียหายยังโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยและผู้เสียหายออกหนังสือรับรองการผ่านงานระบุว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ดีที่ทำงานหนักเสมอมาจนถึงเวลาที่ได้ลาออกจากบริษัทด้วยเหตุผลส่วนตัว ดังนี้หากจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำผิดแล้ว ผู้เสียหายย่อมจะไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้างที่เหลืออยู่และคงจะไม่ออกหนังสือรับรองการผ่านงานให้แก่จำเลย แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำในลักษณะที่ร่วมกับคนร้ายเพื่อลักทรัพย์ แต่จำเลยมิได้มีเจตนาร้ายหรือประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับจำเลยโดยไม่มีเหตุผล จำเลยกระทำไปเพื่อช่วยเหลือในการวางแผนจับกุมคนร้ายที่ลักทรัพย์ของผู้เสียหายและจำเลยไม่ได้รับประโยชน์ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลักทรัพย์: การช่วยเหลือสืบหาคนร้ายและการกระทำเพื่อจับกุม ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ก่อนเกิดเหตุ ตัววงจรไฟฟ้าของบริษัทผู้เสียหายได้หายไปโดยไม่ทราบตัวคนร้าย จำเลยกับพวกเป็นผู้ที่ช่วยเหลือผู้เสียหายในการสืบหาตัวคนร้ายและร่วมมือในการวางแผนจับกุมคนร้ายได้ นอกจากนี้ผู้เสียหายยังโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยและผู้เสียหายออกหนังสือรับรองการผ่านงานระบุว่าจำเลยเป็นลูกจ้างที่ดีที่ทำงานหนักเสมอมาจนถึงเวลาที่ได้ลาออกจากบริษัทด้วยเหตุผลส่วนตัว ดังนี้หากจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำผิดแล้ว ผู้เสียหายย่อมจะไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้างที่เหลืออยู่และคงจะไม่ออกหนังสือรับรองการผ่านงานให้แก่จำเลย แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำในลักษณะที่ร่วมกับคนร้ายเพื่อลักทรัพย์ แต่จำเลยมิได้มีเจตนาร้ายหรือประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับจำเลยโดยไม่มีเหตุผล จำเลยกระทำไปเพื่อช่วยเหลือในการวางแผนจับกุมคนร้ายที่ลักทรัพย์ของผู้เสียหายและจำเลยไม่ได้รับประโยชน์ ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีความผิดอันยอมความได้ เริ่มนับจากวันที่โจทก์ทราบเรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิด
ในขณะที่จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินกับ อ.มีการรังวัดที่ดินกัน 1 ครั้งโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงลงชื่อยินยอมในการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินไว้ด้วยจำเลยทำคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 แล้วทำสัญญาขายที่ดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538 และตามคำขอจดทะเบียนสิทธิก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่บันทึกให้มีการประกาศเป็นเวลา 30 วันก่อน แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการรังวัดกันเมื่อใด แต่ก็ย่อมต้องกระทำก่อนที่มีการทำสัญญาซื้อขาย แสดงว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินตั้งแต่ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2538 แล้ว ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเรื่องเมื่อธันวาคม 2538 ก็ขัดกับคำเบิกความของโจทก์เอง ดังนั้นเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ขายที่ดินให้ อ.แล้ว จะถือว่าอายุความเริ่มนับแต่เดือนธันวาคม2538 ไม่ได้
คดีความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงขาดอายุความตาม ป.อ.มาตรา 96 กรณีเป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คดีความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงขาดอายุความตาม ป.อ.มาตรา 96 กรณีเป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การรู้เรื่องความผิดและการนับอายุความจากวันที่ทราบข้อเท็จจริง
ในขณะที่จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินกับ อ. มีการรังวัดที่ดินกัน 1 ครั้ง โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงลงชื่อยินยอมในการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินไว้ด้วยจำเลยทำคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 แล้วทำสัญญาขายที่ดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538 และตามคำขอจดทะเบียนสิทธิก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่บันทึกให้มีการประกาศเป็นเวลา 30 วันก่อน แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการรังวัดกันเมื่อใด แต่ก็ย่อมต้องกระทำก่อนที่มีการทำสัญญาซื้อขายแสดงว่า โจทก์รู้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินตั้งแต่ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2538 แล้ว ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเรื่องเมื่อธันวาคม 2538 ก็ขัดกับคำเบิกความของโจทก์เองดังนั้นเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ขายที่ดินให้ อ. แล้ว จะถือว่าอายุความเริ่มนับแต่เดือนธันวาคม 2538 ไม่ได้
คดีความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 กรณีเป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คดีความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 กรณีเป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว: คดีที่ฟ้องก่อนเปิดทำการศาลฯ ศาลเดิมยังคงมีอำนาจพิจารณาได้
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 13 บัญญัติไว้ว่า"ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ว่าด้วยการโอนคดีในท้องที่ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดทำการแล้ว ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นอื่นใดในท้องที่นั้นรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวไว้พิจารณาพิพากษา" บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะคดีที่จะฟ้องใหม่เมื่อเริ่มเปิดทำการศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่นั้น ๆ แล้วเท่านั้น ส่วนคดีที่ได้ฟ้องต่อศาลอื่นตามเขตอำนาจเดิมไว้แล้ว ค้างพิจารณาอยู่และไม่ได้ดำเนินการโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวที่เปิดทำการใหม่ ศาลที่รับฟ้องคดีไว้แล้วจึงยังคงมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้ตามมาตรา 11(1) และ 136 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 3 ต่อศาลจังหวัดชลบุรี แล้วต่อมามีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดชลบุรีในระหว่างพิจารณาคดี แต่ศาลจังหวัดชลบุรีมิได้โอนคดีไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ในศาลจังหวัดชลบุรีศาลจังหวัดชลบุรียังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี นี้ต่อไปได้จนเสร็จตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รอการลงโทษจำคุกคดีเสพยาเสพติดขณะขับรถ พิจารณาจากชนิดรถและประวัติผู้ต้องหา
แม้การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถจะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง แต่รถยนต์ที่จำเลยขับขณะถูกจับกุมดำเนินคดีนี้เป็นเพียงรถยนต์กระบะมิใช่รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่หรือรถยนต์โดยสาร หากมีความเสียหายเกิดขึ้นโดยปกติย่อมรุนแรงน้อยกว่ารถยนต์ประเภทดังกล่าว ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงควรรอการลงโทษจำคุกจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนใจ, ข่มขืนกระทำชำเรา, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรมเดียวผิดหลายบท, ลดโทษ
++ เรื่อง ข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดต่อเสรีภาพ ลหุโทษ ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดรวม 5 กรรม สำหรับฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะไม่ได้ยิงปืนตามฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน และศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเมื่อเป็นเช่นนี้คดีมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา310 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดแต่ละกระทงศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีโดยไม่มีโทษปรับ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ไม่ได้กระทำการข่มขืนใจผู้เสียหาย และไม่ได้กระทำการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่
++ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มีนางสาวสลิตตา อุตมะยาน ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยไปรับตัวผู้เสียหายจากบ้านผู้เสียหายและขึ้นรถยนต์ของจำเลยไปด้วยกันโดยจำเลยเป็นคนขับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2538 เวลาประมาณ 11 นาฬิกาโดยจำเลยพาผู้เสียหายไปรับประทานอาหารจนกระทั่ง 18 นาฬิกา จำเลยจะพาผู้เสียหายเข้าเมืองสกลนครเพื่อจะไปร้องเพลง ผู้เสียหายให้จำเลยพากลับบ้าน จำเลยไม่ยอมและจำเลยได้พูดขู่ว่าถ้าผู้เสียหายคิดหนีจะยิง พร้อมกับเปิดลิ้นชักเก็บของหน้ารถยนต์ของจำเลยให้ผู้เสียหายดูอาวุธปืนที่เก็บไว้ในลิ้นชักเก็บของ ผู้เสียหายถือโอกาสที่จำเลยเผลอได้เอาอาวุธปืนของจำเลยซ่อนไว้ใต้เบาะรถยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ และผู้เสียหายขอให้จำเลยหยุดรถยนต์เพื่อขอไปปัสสาวะ เมื่อจำเลยหยุดรถยนต์ ผู้เสียหายเปิดประตูรถยนต์วิ่งย้อนกลับไปทางเดิม และพยายามโบกรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาขอให้ช่วยเหลือขณะที่มีรถยนต์คันอื่นหยุด ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ ประจวบกับจำเลยตามมาทันถามผู้เสียหายเรื่องอาวุธปืน คนขับรถยนต์ที่หยุดตามที่ผู้เสียหายโบกได้ยินคำว่าปืนก็ขับรถยนต์แล่นออกไป ต่อจากนั้นจำเลยได้ฉุดผู้เสียหายขึ้นนั่งบนรถยนต์ของจำเลยพร้อมพูดขู่ว่าถ้าคิดหนีจะยิงให้ตาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะยิง จำเลยขับรถยนต์พาผู้เสียหายเข้าไปบริเวณสวนหย่อมซึ่งอยู่ข้างถนนเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ซึ่งบริเวณนั้นมืด จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้ถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอด จำเลยจึงยิงปืนไปทางต้นไม้ 1 นัดหลังจากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ศีรษะของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวนั่งทรุดลงกับพื้น จำเลยจึงเข้าไปถอดกางเกงของผู้เสียหายออกทั้งกางเกงนอกและใน พร้อมกับดึงเสื้อชั้นในของผู้เสียหายออก ต่อจากนั้นจำเลยได้ถอดเสื้อผ้าจำเลยออกแล้วขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นไปนั่งบนเบาะรถยนต์ของจำเลย แล้วให้ผู้เสียหายนอนลง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แล้วจำเลยได้ชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บจึงผลักจำเลยออก และผู้เสียหายรู้สึกว่ามีน้ำลื่น ๆ ไหลออกจากอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จำเลยลุกขึ้นไปสวมใส่เสื้อผ้า และผู้เสียหายก็จัดการสวมใส่เสื้อเช่นเดียวกัน จำเลยพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์และพาไปซื้อน้ำดื่ม จำเลยทราบว่าสร้อยข้อมือของจำเลยหายไปในขณะเกิดเหตุจึงขับรถยนต์ย้อนกลับไปค้นหาพบแต่สร้อยข้อมือแต่ตะขอทองคำหาไม่พบ และพาผู้เสียหายเข้าพักโรงแรม ในห้องพักโรงแรมจำเลยจะะข่มขืนผู้เสียหายอีกแต่ผู้เสียหายไม่ยอมและขู่ว่าถ้าข่มขืนจะร้องให้คนช่วย ต่อจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปส่งที่อำเภอพังโคนในเวลาประมาณ 2 นาฬิกาของวันใหม่ ผู้เสียหายต้องขอร้องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขายของอยู่ที่ตลาดอำเภอพังโคนพากลับไปส่งบ้าน เมื่อกลับถึงบ้านผู้เสียหายได้เล่าให้นางจงรักษ์ อุตมะยานซึ่งเป็นมารดาฟังทันที และพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และโจทก์มีนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหายเบิกความสนับสนุนว่า ผู้เสียหายไปกับจำเลยในวันที่ 30 มกราคม 2538 และกลับบ้านตอนประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา ของวันที่ 31 มกราคม 2538 โดยมีเพื่อนผู้หญิงของผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์มาส่ง ผู้เสียหายกลับถึงบ้านได้ร้องไห้ เมื่อสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยใช้อาวุธปืนบังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย นางจงรักษ์ทราบเหตุจากผู้เสียหายแล้วได้ไปหาแม่ภรรยาของจำเลยโดยได้พบนางศรีประไพภรรยาของจำเลยด้วย จึงเล่าเรื่องให้ฟัง นางศรีประไพบอกว่าให้นางจงรักษ์รออยู่ก่อนจะไปติดตามตัวจำเลยมาสอบถาม จึงได้รออยู่จนกระทั่งเที่ยงนางศรีประไพแจ้งว่าติดต่อจำเลยได้แล้ว ขออย่าเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย นางจงรักษ์ได้ติดต่อกับพันตำรวจโทประสาร สุระเสียงแจ้งเหตุให้ทราบด้วย และได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่31 มกราคม 2538 และโจทก์มีพลตำรวจสำรองทองพูน ภูผิวเงินเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ได้ร่วมไปตรวจสถานที่เกิดเหตุบริเวณสวนหย่อมริมถนนสายสกลนคร - นครพนม ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวพบปลอกกระสุนปืน ขนาด .38 จำนวน1 ปลอก ยางรัดผม 1 เส้น ตะขอทองคำ 1 อัน เงินเหรียญบาท 2 เหรียญผ้าเย็นที่ใช้แล้ว 1 ผืน ผ้าอนามัย 1 อัน และโจทก์มีพันตำรวจโทประสารสุระเสียง เบิกความว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2538 เวลาประมาณ8 นาฬิกา ได้รับโทรศัพท์จากนางจงรักษ์ซึ่งเป็นน้องภรรยาของพันตำรวจโทประสาร เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคดีนี้ให้ฟัง ผู้เสียหายกับนางจงรักษ์ต่างก็รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงไม่มีเหตุที่จะระแวงสงสัยว่าจะจำคนผิด ประกอบกับจำเลยรับว่าได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุจริงเพียงแต่อ้างว่าผู้เสียหายสมยอมเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติได้ว่า จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ คงมีปัญาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนข่มขู่จนผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้ยิงปืนในบริเวณเกิดเหตุในเวลาเกิดเหตุ หากผู้เสียหายเป็นใจยินยอมร่วมประเวณีกับจำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จำเลยจะต้องยิงปืนในขณะจะได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย เป็นการเจือสมกับคำเบิกความของผู้เสียหายว่าจำเลยยิงปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายจำต้องยอมให้จำเลยกระทำชำเราประกอบกับผู้เสียหายได้แจ้งเหตุว่าถูกจำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราในทันทีที่พบกับนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหาย หากผู้เสียหายสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย คงไม่หาเหตุกล่าวหากลั่นแกล้งจำเลย และนางจงรักษ์ได้แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพันตำรวจโทประสารญาติของนางจงรักษ์ในตอนเช้าวันเกิดเหตุ และได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันและเจ้าพนักงานตำรวจได้พากันออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และพบของกลางในบริเวณเกิดเหตุซึ่งสมจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหาย แสดงว่าผู้เสียหายบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพราะมิฉะนั้นคงจะตรวจไม่พบของกลางโดยเฉพาะตะขอสร้อยข้อมือของจำเลยตกในบริเวณที่เกิดเหตุ แม้จะปรากฏว่าก่อนที่นางจงรักษ์จะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ได้มีการเจรจาต่อรองค่าเสียหายกับฝ่ายจำเลยอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะว่าฝ่ายผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ถ้าได้รับการชดใช้บรรเทาผลร้ายบ้างน่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายผู้เสียหาย การเจรจาต่อรองค่าเสียหาย จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด การที่นางจงรักษ์พาผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในตอนเย็นวันที่ 31 มกราคม2538 จึงไม่ทำให้น้ำหนักของพยานส่วนนี้เสียไปแต่ประการใด
++ พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าจำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ++
++ อนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายก็เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรกแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดตอน การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง ของจำเลย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
++ และศาลฎีกาเห็นว่าตามทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยนั้น ไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และให้มีผลไปถึงข้อหาพรากผู้เยาว์ และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คงให้บังคับคดีในกระทงความผิดนี้ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง นั้นการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 276 วรรคสอง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 15 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปีส่วนข้อหาพรากผู้เยาว์และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ เมื่อลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท ตามลำดับ เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นโทษจำคุก 11 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดรวม 5 กรรม สำหรับฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะไม่ได้ยิงปืนตามฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน และศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเมื่อเป็นเช่นนี้คดีมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา310 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดแต่ละกระทงศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีโดยไม่มีโทษปรับ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ไม่ได้กระทำการข่มขืนใจผู้เสียหาย และไม่ได้กระทำการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่
++ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มีนางสาวสลิตตา อุตมะยาน ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยไปรับตัวผู้เสียหายจากบ้านผู้เสียหายและขึ้นรถยนต์ของจำเลยไปด้วยกันโดยจำเลยเป็นคนขับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2538 เวลาประมาณ 11 นาฬิกาโดยจำเลยพาผู้เสียหายไปรับประทานอาหารจนกระทั่ง 18 นาฬิกา จำเลยจะพาผู้เสียหายเข้าเมืองสกลนครเพื่อจะไปร้องเพลง ผู้เสียหายให้จำเลยพากลับบ้าน จำเลยไม่ยอมและจำเลยได้พูดขู่ว่าถ้าผู้เสียหายคิดหนีจะยิง พร้อมกับเปิดลิ้นชักเก็บของหน้ารถยนต์ของจำเลยให้ผู้เสียหายดูอาวุธปืนที่เก็บไว้ในลิ้นชักเก็บของ ผู้เสียหายถือโอกาสที่จำเลยเผลอได้เอาอาวุธปืนของจำเลยซ่อนไว้ใต้เบาะรถยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ และผู้เสียหายขอให้จำเลยหยุดรถยนต์เพื่อขอไปปัสสาวะ เมื่อจำเลยหยุดรถยนต์ ผู้เสียหายเปิดประตูรถยนต์วิ่งย้อนกลับไปทางเดิม และพยายามโบกรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาขอให้ช่วยเหลือขณะที่มีรถยนต์คันอื่นหยุด ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ ประจวบกับจำเลยตามมาทันถามผู้เสียหายเรื่องอาวุธปืน คนขับรถยนต์ที่หยุดตามที่ผู้เสียหายโบกได้ยินคำว่าปืนก็ขับรถยนต์แล่นออกไป ต่อจากนั้นจำเลยได้ฉุดผู้เสียหายขึ้นนั่งบนรถยนต์ของจำเลยพร้อมพูดขู่ว่าถ้าคิดหนีจะยิงให้ตาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะยิง จำเลยขับรถยนต์พาผู้เสียหายเข้าไปบริเวณสวนหย่อมซึ่งอยู่ข้างถนนเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ซึ่งบริเวณนั้นมืด จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้ถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอด จำเลยจึงยิงปืนไปทางต้นไม้ 1 นัดหลังจากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ศีรษะของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวนั่งทรุดลงกับพื้น จำเลยจึงเข้าไปถอดกางเกงของผู้เสียหายออกทั้งกางเกงนอกและใน พร้อมกับดึงเสื้อชั้นในของผู้เสียหายออก ต่อจากนั้นจำเลยได้ถอดเสื้อผ้าจำเลยออกแล้วขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นไปนั่งบนเบาะรถยนต์ของจำเลย แล้วให้ผู้เสียหายนอนลง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แล้วจำเลยได้ชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บจึงผลักจำเลยออก และผู้เสียหายรู้สึกว่ามีน้ำลื่น ๆ ไหลออกจากอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จำเลยลุกขึ้นไปสวมใส่เสื้อผ้า และผู้เสียหายก็จัดการสวมใส่เสื้อเช่นเดียวกัน จำเลยพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์และพาไปซื้อน้ำดื่ม จำเลยทราบว่าสร้อยข้อมือของจำเลยหายไปในขณะเกิดเหตุจึงขับรถยนต์ย้อนกลับไปค้นหาพบแต่สร้อยข้อมือแต่ตะขอทองคำหาไม่พบ และพาผู้เสียหายเข้าพักโรงแรม ในห้องพักโรงแรมจำเลยจะะข่มขืนผู้เสียหายอีกแต่ผู้เสียหายไม่ยอมและขู่ว่าถ้าข่มขืนจะร้องให้คนช่วย ต่อจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปส่งที่อำเภอพังโคนในเวลาประมาณ 2 นาฬิกาของวันใหม่ ผู้เสียหายต้องขอร้องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขายของอยู่ที่ตลาดอำเภอพังโคนพากลับไปส่งบ้าน เมื่อกลับถึงบ้านผู้เสียหายได้เล่าให้นางจงรักษ์ อุตมะยานซึ่งเป็นมารดาฟังทันที และพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และโจทก์มีนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหายเบิกความสนับสนุนว่า ผู้เสียหายไปกับจำเลยในวันที่ 30 มกราคม 2538 และกลับบ้านตอนประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา ของวันที่ 31 มกราคม 2538 โดยมีเพื่อนผู้หญิงของผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์มาส่ง ผู้เสียหายกลับถึงบ้านได้ร้องไห้ เมื่อสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยใช้อาวุธปืนบังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย นางจงรักษ์ทราบเหตุจากผู้เสียหายแล้วได้ไปหาแม่ภรรยาของจำเลยโดยได้พบนางศรีประไพภรรยาของจำเลยด้วย จึงเล่าเรื่องให้ฟัง นางศรีประไพบอกว่าให้นางจงรักษ์รออยู่ก่อนจะไปติดตามตัวจำเลยมาสอบถาม จึงได้รออยู่จนกระทั่งเที่ยงนางศรีประไพแจ้งว่าติดต่อจำเลยได้แล้ว ขออย่าเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย นางจงรักษ์ได้ติดต่อกับพันตำรวจโทประสาร สุระเสียงแจ้งเหตุให้ทราบด้วย และได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่31 มกราคม 2538 และโจทก์มีพลตำรวจสำรองทองพูน ภูผิวเงินเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ได้ร่วมไปตรวจสถานที่เกิดเหตุบริเวณสวนหย่อมริมถนนสายสกลนคร - นครพนม ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวพบปลอกกระสุนปืน ขนาด .38 จำนวน1 ปลอก ยางรัดผม 1 เส้น ตะขอทองคำ 1 อัน เงินเหรียญบาท 2 เหรียญผ้าเย็นที่ใช้แล้ว 1 ผืน ผ้าอนามัย 1 อัน และโจทก์มีพันตำรวจโทประสารสุระเสียง เบิกความว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2538 เวลาประมาณ8 นาฬิกา ได้รับโทรศัพท์จากนางจงรักษ์ซึ่งเป็นน้องภรรยาของพันตำรวจโทประสาร เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคดีนี้ให้ฟัง ผู้เสียหายกับนางจงรักษ์ต่างก็รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงไม่มีเหตุที่จะระแวงสงสัยว่าจะจำคนผิด ประกอบกับจำเลยรับว่าได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุจริงเพียงแต่อ้างว่าผู้เสียหายสมยอมเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติได้ว่า จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ คงมีปัญาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนข่มขู่จนผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้ยิงปืนในบริเวณเกิดเหตุในเวลาเกิดเหตุ หากผู้เสียหายเป็นใจยินยอมร่วมประเวณีกับจำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จำเลยจะต้องยิงปืนในขณะจะได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย เป็นการเจือสมกับคำเบิกความของผู้เสียหายว่าจำเลยยิงปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายจำต้องยอมให้จำเลยกระทำชำเราประกอบกับผู้เสียหายได้แจ้งเหตุว่าถูกจำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราในทันทีที่พบกับนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหาย หากผู้เสียหายสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย คงไม่หาเหตุกล่าวหากลั่นแกล้งจำเลย และนางจงรักษ์ได้แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพันตำรวจโทประสารญาติของนางจงรักษ์ในตอนเช้าวันเกิดเหตุ และได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันและเจ้าพนักงานตำรวจได้พากันออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และพบของกลางในบริเวณเกิดเหตุซึ่งสมจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหาย แสดงว่าผู้เสียหายบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพราะมิฉะนั้นคงจะตรวจไม่พบของกลางโดยเฉพาะตะขอสร้อยข้อมือของจำเลยตกในบริเวณที่เกิดเหตุ แม้จะปรากฏว่าก่อนที่นางจงรักษ์จะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ได้มีการเจรจาต่อรองค่าเสียหายกับฝ่ายจำเลยอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะว่าฝ่ายผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ถ้าได้รับการชดใช้บรรเทาผลร้ายบ้างน่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายผู้เสียหาย การเจรจาต่อรองค่าเสียหาย จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด การที่นางจงรักษ์พาผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในตอนเย็นวันที่ 31 มกราคม2538 จึงไม่ทำให้น้ำหนักของพยานส่วนนี้เสียไปแต่ประการใด
++ พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าจำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ++
++ อนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายก็เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรกแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดตอน การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง ของจำเลย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
++ และศาลฎีกาเห็นว่าตามทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยนั้น ไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และให้มีผลไปถึงข้อหาพรากผู้เยาว์ และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คงให้บังคับคดีในกระทงความผิดนี้ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง นั้นการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 276 วรรคสอง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 15 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปีส่วนข้อหาพรากผู้เยาว์และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ เมื่อลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท ตามลำดับ เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นโทษจำคุก 11 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุดหลังโอนสิทธิ
เมื่อหนังสือสัญญาการเช่าใช้บริการวิทยุคมนาคม (โทรศัพท์เคลื่อนที่) ไม่ได้กำหนดเวลาอันพึงชำระหนี้ที่แน่นอนไว้แต่อย่าใด โจทก์ผู้ให้บริการย่อมเรียกให้จำเลยผู้เช่าใช้บริการดังกล่าวชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 ข้อกำหนดในสัญญาในการเรียกเก็บค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือหลักประกันโดยใช้วิธีส่งใบแจ้งหนี้ให้แก่จำเลยนั้นเป็นการบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ไม่ใช่เป็นกำหนดเวลาชำระหนี้สิ้นสุดลง อายุความจึงมิได้เริ่มนับตั้งแต่เวลาการบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้สิ้นสุดลงแต่อย่างใดไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้โอนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ให้บุคคลอื่นไป สัญญาเช่าใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้บริการดังกล่าวจากจำเลยได้ทันที คือตั้งแต่วันที่จำเลยโอนการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้แก่บุคคลอื่น เมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันฟ้องเกินกำหนด 2 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ตายเป็นป้าของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 โดยผู้คัดค้านที่ 1เป็นพี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ร้อง ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ตายพักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และช่วยเลี้ยงดูผู้คัดค้านที่ 2 มาตั้งแต่ผู้คัดค้านที่ 2 ยังเป็นเด็ก เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้คัดค้านที่ 2 ก็เลี้ยงดูผู้ตายตลอดมาจนถึงแก่ความตายด้วยโรคชรา ผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตรส่วนบิดามารดาถึงแก่กรรมไปนานแล้ว ผู้ตายทำพินัยกรรมด้วยความสมัครใจ และพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นผู้รับพินัยกรรม แต่ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้รับทรัพย์มรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกตามพินัยกรรม ผู้ร้องจึงมิได้เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก จึงไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก