คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ กาญจนวิทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและหมายนัดพยานโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายงานเจ้าพนักงาน
เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ทั้งได้ทำรายงานลงข้อความระบุแน่ชัดถึงตัวบุคคล ชื่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและชื่อผู้รับ รวมทั้งวิธีการส่ง วันเดือนปีและสถานที่ส่ง พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานผู้ทำรายงานแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 80 การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 ณ ภูมิลำเนาโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว การที่เจ้าพนักงานศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า ในขณะนำส่งหมายได้พบชาย - หญิงอายุประมาณ 30 - 50 ปี ณ สถานที่ดังกล่าวและบุคคลดังกล่าวแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ผู้จัดการจำเลยที่ 4 และที่ 5 ออกไปธุระต่างจังหวัด ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 อ้างว่าไม่เป็นความจริง เพราะในวันดังกล่าวเป็นวันหยุดทำการของจำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพบบุคคลดังกล่าวนั้น ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่เจ้าพนักงานศาลทำรายงานต่อศาลเท่านั้น และข้อเท็จจริงดังกล่าวถึงแม้จะเป็นวันหยุดทำการก็อาจมีพนักงานของจำเลยที่ 4 ที่ 5 มาทำงานก็ได้ จึงไม่ทำให้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายเสียไป
รายงานการเดินหมายของเจ้าพนักงานศาลเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้น และได้ระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคล ชื่อเจ้าพนักงานผู้ส่งหมาย วิธีส่ง วันเดือนปี และเวลาที่ส่ง และรายงานนั้นได้ลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานผู้ทำรายงานแล้ว การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการส่งโดยชอบ ส่วนที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 อ้างว่า การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ในรายงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้ระบุว่า ส่งให้แก่จำเลยคนใด ณ บ้านเลขที่ใดนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกการปิดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่า ได้ส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ณ บ้านเลขที่ตามฟ้องแล้ว ส่วนรายงานของเจ้าพนักงานศาลต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับบ้านเลขที่ของจำเลยที่ 3 ว่าเป็นบ้านเลขที่ 49/5 ซึ่งความจริงบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นเลขที่ 59/4 นั้นก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อยในรายงานระหว่างเจ้าพนักงานศาลที่ทำรายงานต่อศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ทำให้การส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์เสียไป
เมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ไม่สามารถกระทำได้โดยการส่งหมายวิธีปกติ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งห้าทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาลอันเป็นวิธีอื่นใดตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8888/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: การส่งหมายเรียกโดยชอบด้วยกฎหมายและการขอพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (เดิม) การที่จำเลยอ้างว่าไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้เป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยจะร้องขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) เท่านั้น หาใช่เหตุที่จำเลยจะขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไปโดยชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับช่วงสิทธิ, ทุนทรัพย์พิพาท, การห้ามฎีกาข้อเท็จจริง, หนังสือมอบอำนาจ
ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้เอาประกันมาเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะนำค่าเสียหายและดอกเบี้ยที่ผู้เอาประกันแต่ละรายมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองมารวม และนำมาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องจำเลยก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละรายไป
จำเลยฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จะได้จำนวนค่าเสียหายสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองนั้น ไม่ถูกต้อง ทั้งโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้องและมิได้นำสืบมาในชั้นพิจารณาว่า สินค้าพิพาทมีมูลค่า ณ ท่าปลายทางเท่าไร จึงไม่อาจคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อความในสำเนาหนังสือมอบอำนาจมิได้เจาะจงว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายในขอบเขตที่ผู้มอบอำนาจให้ไว้ซึ่งรวมทั้งการเป็นโจทก์ฟ้องร้องคดีนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 และแม้โจทก์จะใช้หนังสือมอบอำนาจกระทำการอย่างอื่นแล้วก็ตาม ก็ไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันภัย: หนังสือมอบอำนาจทั่วไปเพียงพอและไม่จำกัดเฉพาะการขออนุญาตประกอบธุรกิจ
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้เอาประกันทั้งสองมาเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะนำค่าเสียหาย และดอกเบี้ยที่ผู้เอาประกันแต่ละรายมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง มารวมและนำมาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องจำเลยก็ตาม แต่สิทธิ ของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกพิจารณา ตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละรายไป
หนังสือมอบอำนาจมิได้เจาะจงว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ผู้รับมอบอำนาจ จึงมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายในขอบเขตที่ผู้มอบอำนาจให้ไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 และแม้โจทก์จะใช้ หนังสือมอบอำนาจกระทำการอย่างอื่นแล้วก็ตาม ก็ไม่มีกฎหมายใด ห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8642/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีชิงทรัพย์: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา339 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลก็ต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานรู้เห็นเพียงคนเดียว และผู้เสียหายมิได้ยืนยันหรือเบิกความกล่าวหาว่า จำเลยพยายามชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายคงยืนยันแต่เพียงว่า เข้าใจว่าจำเลยจะข่มขืนผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อที่ผู้เสียหายสวมใส่ แต่ในกระเป๋าเสื้อนั้นไม่มีทรัพย์ใด ๆอยู่ เป็นพฤติการณ์ที่ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าจำเลยได้ลงมือชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วแม้จำเลยจะเคยให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าประสงค์จะได้เงินจึงใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหาย คำให้การของจำเลยดังกล่าวอาจจะเป็นข้อแก้ตัวของจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการอนาจารผู้เสียหายก็ได้ พยานโจทก์เท่าที่นำสืบจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ลงมือกระทำการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยชิงทรัพย์ ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างรวมทั้งข้อหาว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายด้วยซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง และโจทก์มีผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่าถูกจำเลยทำร้ายมีบาดแผลหลายแห่ง และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8642/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษฐานพยายามชิงทรัพย์ แต่พิพากษาลงโทษฐานทำร้ายร่างกายได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลก็ต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานรู้เห็นเพียงคนเดียว และผู้เสียหายมิได้ยืนยันหรือเบิกความกล่าวหาว่า จำเลยพยายามชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายคงยืนยันแต่เพียงว่า เข้าใจว่าจำเลยจะข่มขืนผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อที่ผู้เสียหายสวมใส่ แต่ในกระเป๋าเสื้อนั้นไม่มีทรัพย์ใด ๆ อยู่ เป็นพฤติการณ์ที่ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าจำเลยได้ลงมือชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้ว แม้จำเลยจะเคยให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าประสงค์จะได้เงินจึงใช้มือล้วงกระเป๋าเสื้อของผู้เสียหาย คำให้การของจำเลยดังกล่าวอาจจะเป็นข้อแก้ตัวของจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการอนาจารผู้เสียหายก็ได้ พยานโจทก์เท่าที่นำสืบจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ลงมือกระทำการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยชิงทรัพย์ ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่างรวมทั้งข้อหาว่าจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายด้วย ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง และโจทก์มีผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่าถูกจำเลยทำร้ายมีบาดแผลหลายแห่ง และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การเป็นผู้เสียหายและอำนาจร้องทุกข์
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชีผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเงินต่าง ๆของสหกรณ์ออมทรัพย์โจทก์ร่วม เมื่อคณะกรรมการของโจทก์ร่วมอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่สมาชิก หรือเงินกู้ ตามสัญญากู้ใหม่ซึ่งจะต้องหักเงินบางส่วนชำระหนี้เก่าที่ยังค้างชำระอยู่รวมทั้งเงินของสมาชิกผู้ขอลาออกจากสมาชิกโจทก์ร่วมซึ่งโจทก์ร่วมจะต้องหักเงินของสมาชิกใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจะอนุมัติให้ลาออกเงินเหล่านี้ล้วนยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วมอยู่ กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวยังมิได้โอนไปยังสมาชิกของโจทก์ร่วมเพราะยังมิได้มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่กันโดยชอบ เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่การเงิน: โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชีผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเงินต่าง ๆ ของโจทก์ร่วม เมื่อคณะกรรมการของโจทก์ร่วมอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่สมาชิก หรือเงินกู้ตามสัญญากู้ใหม่ซึ่งจะต้องหักเงินบางส่วนชำระหนี้เก่าที่ยังค้างชำระอยู่ รวมทั้งเงินของสมาชิกผู้ขอลาออกจากสมาชิกโจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมจะต้องหักเงินของสมาชิกใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจะอนุมัติให้ลาออก เงินเหล่านี้ล้วนยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวยังมิได้โอนไปยังสมาชิกของโจทก์ร่วมเพราะยังมิได้มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่กันโดยชอบ เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเรียกดอกเบี้ยจากการบังคับจำนอง: ห้ามเรียกย้อนหลังเกิน 5 ปีนับแต่วันฟ้อง
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745 บังคับผู้รับจำนองว่าจะใช้สิทธิบังคับให้นำเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้เท่านั้น แต่มิได้ห้ามผู้รับจำนองให้เรียกดอกเบี้ยเกินห้าปีนับแต่วันฟ้อง ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปได้ ส่วนการเรียกดอกเบี้ยย้อนหลัง แม้จำเลยผู้จำนองฎีกายินยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองเรียกได้เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ก่อนวันฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยไม่ทบต้นเป็นเวลาเพียงห้าปีนับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไป ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/27 บัญญัติไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยย้อนหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745 บังคับผู้รับจำนองว่าจะใช้สิทธิบังคับให้นำเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้เท่านั้นแต่มิได้ห้ามผู้รับจำนองให้เรียกดอกเบี้ยเกินห้าปีนับแต่วันฟ้อง ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปได้ ส่วนการเรียกดอกเบี้ยย้อนหลังแม้จำเลยผู้จำนองฎีกายินยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองเรียกได้เป็นเวลา 5 ปีตั้งแต่ก่อนวันฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยไม่ทบต้นเป็นเวลาเพียงห้าปีนับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไป ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 บัญญัติไว้ได้
of 20