คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ กาญจนวิทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6666/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำให้เสียทรัพย์จากการเผารั้ว: พิจารณาความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ม.358 และการรอการลงโทษ
การที่จำเลยดึงรั้วไม้ไผ่ผ่าซีกที่ยึดติดเป็นแผงซึ่งเป็นรั้วบ้านของโจทก์ร่วมที่ 1 แล้วนำไปเผาทำลายนั้น เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 เพียงบทเดียวมิใช่กระทำผิดหลายบท เพราะจำเลยมีเจตนาจะทำลายรั้วไม้ไผ่ที่ปักติดเป็นแผงโดยนำไปเผาให้ใช้การได้เท่านั้น การเผาแผงไม้ไผ่นั้นเป็นการทำลายทรัพย์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ให้เสียหาย มิใช่วางเพลิงเผาทรัพย์รั้วบ้านของโจทก์ร่วมที่ 1 เนื่องจากจำเลยมิได้วางเพลิงเผาแผงไม้ไผ่ในขณะที่มีสภาพเป็นรั้วบ้านกั้นขอบเขตเป็นที่อยู่อาศัย ของโจทก์ร่วมที่ 1 อันจะต้องด้วยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ราคาทรัพย์ที่เสียหายมีเพียง 1,000 บาท และเป็นความผิดทางอาญาไม่ร้ายแรง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษอาญามาก่อน เห็นสมควรให้โอกาสจำเลย โดยรอการลงโทษจำคุกเพื่อให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป ดีกว่าจะพิพากษาลงโทษจำคุกซึ่งอาจไม่เป็นผลดีหรือไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขความประพฤติของจำเลย แต่เพื่อให้หลาบจำ ให้ปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางในที่ดินที่ไม่จดทะเบียน vs. กรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อรายใหม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางออกสู่ทางหลวงได้ตลอดไปแต่ไม่มีการจดทะเบียนข้อตกลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการที่โจทก์ได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา1299 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรกจึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน – การซื้อขาย – ทางจำเป็น – ทรัพยสิทธิไม่บริบูรณ์ – ผลกระทบต่อผู้ซื้อ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางออกสู่ทางหลวงได้ตลอดไปแต่ไม่มีการจดทะเบียนข้อตกลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการที่โจทก์ได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636-6637/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องอาญาถูกระงับจากการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง แม้มีข้อยกเว้น
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายที่ได้สละนั้นระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คได้อีก ดังนั้น หนี้ตามเช็คจึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า การยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา ข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 แต่ข้อตกลงนั้นสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงอื่น ๆ ได้หาทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดทรัพย์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ประชาชน กรณีการยักยอกทรัพย์ของธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านตรวจสอบพบว่า ร. ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ก. ได้ร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารดังกล่าวไป ซึ่งเป็นการต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ ในมาตรา 46 นว (1) แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งเมื่อพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้อง ร. กับพวกในข้อหาดังกล่าวแล้ว ร. ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ผู้คัดค้านเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไปอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทของ ร. อันเป็นมาตรการป้องกันมิให้ ร. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับอายัดทรัพย์หรือขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิตามเอกสารสิทธิต่าง ๆ ของตนเปลี่ยนมือไปให้แก่บุคคลอื่นโดยมิชอบ อันอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งปวงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ ร. เป็นหนี้อยู่ได้รับความเสียหายและถูกกระทบกระเทือน เพราะเหตุการกระทำทุจริตของ ร. ดังกล่าว คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อผู้ร้องยังมิได้ฟ้อง ร. เกี่ยวกับหนี้สินตามคำร้อง กรณีจึงไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่า ร. เป็นหนี้ผู้ร้องและมีข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างผู้ร้องกับ ร. ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่อายัดทรัพยสินของ ร. ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการอายัดทรัพย์สินผู้กระทำผิดทางอาญาเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณชน
ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านตรวจสอบพบว่า ร. ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ก. ได้ร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารดังกล่าวไปซึ่งเป็นการต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 46 นว (1) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งเมื่อพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้อง ร. กับพวกในข้อหาดังกล่าวแล้ว ร. ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศและธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไปอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่ ร. เป็นเจ้าของกับหุ้นของบริษัท ฟ. ของ ร. ดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 เห็นได้ว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทของ ร. เป็นมาตรการป้องกันมิให้ ร. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิตามเอกสารสิทธิต่าง ๆ ของตนเปลี่ยนมือไปให้แก่บุคคลอื่นโดยมิชอบอันอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งปวงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆที่ ร. เป็นหนี้อยู่ได้รับความเสียหายและถูกกระทบกระเทือน เพราะเหตุการกระทำทุจริตของ ร. ดังกล่าว คำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนตามบทบัญญัติข้างต้นเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องยังมิได้ฟ้อง ร. เกี่ยวกับหนี้สินตามคำร้อง กรณีจึงไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่า ร. เป็นหนี้ผู้ร้องและมีข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างผู้ร้องกับ ร. ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่อายัดทรัพย์สินของ ร. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สินจากการกระทำความผิดทางอาญาของบุคคล และการคุ้มครองประโยชน์ประชาชน
ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านตรวจสอบพบว่า ร. ขณะเกิดเหตุเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ก. ได้ร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารดังกล่าวไปจำนวน 1,657,000,000 บาท เป็นกรณีต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 46 นว (1) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งเมื่อพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้อง ร.กับพวกในข้อหาดังกล่าวแล้วร. ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ การที่ผู้คัดค้านเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไปอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่ ร.เป็นเจ้าของกับหุ้นของบริษัทฟ.ที่มีร. เป็นเจ้าของ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงเป็นมาตรการป้องกันมิให้ ร. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิตามเอกสารสิทธิต่างๆของตนเปลี่ยนมือไปให้แก่บุคคลอื่นโดยมิชอบอันอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งปวงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ ร. เป็นหนี้อยู่ได้รับความเสียหายและถูกกระทบกระเทือน เพราะเหตุการกระทำทุจริตของ ร.ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ผู้ร้องยังมิได้ฟ้อง ร.เกี่ยวกับหนี้สินแต่อย่างใดจึงไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่าร.เป็นหนี้ผู้ร้องและมีข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับ ร. ดังที่ผู้ร้องอ้าง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ร้องอีกต่อไป ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่อายัดทรัพย์สินของ ร. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6597/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองทำให้สิทธิครอบครองสมบูรณ์ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน การออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบการครอบครองและโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว การซื้อขายย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบการครอบครองหาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 ขณะออกโฉนดที่ดินจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้ว จึงเป็นการออกโฉนดที่ดินให้จำเลยที่ 1 โดยคลาดเคลื่อน พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 62 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นจำเลย จึงพิพากษาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนโฉนดที่ดินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์พิพาทน้อยกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลยพินิจศาล
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 20 เมตร หรือประมาณ 2.5ตารางวา โดยโจทก์ตีราคาที่ดินพิพาทตารางวาละ 91,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์ 227,500 บาท ก็ตาม แต่ตามแผนที่วิวาทที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายพิพาทกันมีเนื้อที่เพียง 1.5 ตารางวา คิดเป็นเงิน 136,500 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลยพินิจของศาลอุทธรณ์
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องอ้างว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 20 เมตร หรือประมาณ 2.5 ตารางวา โดยโจทก์ตีราคาที่ดินพิพาทตารางวาละ 91,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์ 227,500 บาท ก็ตาม แต่ตามแผนที่พิพาทที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายพิพาทกันมีเนื้อที่เพียง 1.5 ตารางวา คิดเป็นเงิน 136,500 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 20