พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง, การแก้ไขข้อความในสัญญา, การฟ้องทายาท, ดอกเบี้ย, และอำนาจฟ้อง
จำเลยกับ ช. ได้กู้เงินและนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์ โจทก์มีเอกสารสัญญาจำนองที่ดินที่จำเลยกับ ช. ทำไว้กับโจทก์มาแสดงต่อศาล การที่จำเลยอ้างและนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเป็นการนำสืบแก้ไขข้อความในสัญญาจำนอง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยฎีกาว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ไม่ได้นั้น เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นเพราะจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้ หาได้มีกฎหมายบังคับว่าทายาทที่จะถูกฟ้องต้องได้รับมรดกของเจ้ามรดก หรือต้องฟ้องทายาททุกคน และกรณีที่โจทก์ไม่ได้เรียกผู้จัดการมรดกเข้ามาก็อาจมีผลในการบังคับคดีต่อไปเท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4538/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในหนี้สินของผู้ตายจากเงินทุนเลี้ยงชีพธนาคารออมสิน
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งของธนาคารออมสินสำหรับพนักงานแต่ละคนให้สะสมขึ้นด้วยเงินที่ธนาคารคำนวณเพิ่มให้ร้อยละสิบจากเงินเดือนที่พนักงานได้รับในวันจ่ายเงินเดือนทุกเดือนโดยขึ้นบัญชีแยกไว้สำหรับพนักงานแต่ละคนเรียกว่าบัญชี"เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่ง" และให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสี่ต่อปี ถ้าผู้ตายยังไม่ตายและออกจากธนาคารไป ธนาคารออมสินก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ผู้ตายตามระเบียบ เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งจึงเป็นมรดกของผู้ตายจำเลยรับเอาไปจำเลยจึงได้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวของผู้ตาย จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทรับผิดหนี้สินของผู้ตาย โจทก์ฟ้องทายาทรายเดียวไม่ถือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิรับมรดกที่โจทก์เลือกฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ที่ผู้ตายยืมเงินโจทก์ โดยไม่ฟ้องทายาทอื่น หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ ทั้งกองมรดกมิใช่บุคคลตามกฎหมายที่จะถูกฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทผู้จัดการมรดกมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการคืนที่ดินให้เจ้าของเดิม
จำเลยเป็นบุตรและเป็นผู้จัดการดูแลเก็บผลประโยชน์จากอาคารตลาดซึ่งเป็นทรัพย์สินของเจ้ามรดก จึงอยู่ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกของเจ้ามรดกและเป็นผู้ได้เข้าไปจัดการมรดกด้วย จำเลยต้องรับทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดในกองมรดกของเจ้ามรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ให้เจ้ามรดกอาศัยปลูกสร้างอาคารตลาดประสงค์จะเอาที่พิพาทของตนคืน ได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
กรณีดังกล่าวจะนำอายุความมรดก 1 ปีตามมาตรา 1754มาใช้บังคับหาได้ไม่เพราะมิใช่เรื่องฟ้องร้องเกี่ยวกับมรดก
กรณีดังกล่าวจะนำอายุความมรดก 1 ปีตามมาตรา 1754มาใช้บังคับหาได้ไม่เพราะมิใช่เรื่องฟ้องร้องเกี่ยวกับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทผู้จัดการมรดกมีหน้าที่คืนที่ดินให้เจ้าของเดิม แม้มิได้ฟ้องภายใน 1 ปีหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยเป็นบุตรและเป็นผู้จัดการดูแลเก็บผลประโยชน์จากอาคารตลาดซึ่งเป็นทรัพย์สินของเจ้ามรดก จึงอยู่ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกของเจ้ามรดกและเป็นผู้ได้เข้าไปจัดการมรดกด้วย จำเลยต้องรับทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดในกองมรดกของเจ้ามรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ให้เจ้ามรดกอาศัยปลูกสร้างอาคารตลาดประสงค์จะเอาที่พิพาทของตนคืน ได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
กรณีดังกล่าวจะนำอายุความมรดก 1 ปีตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับหาได้ไม่เพราะมิใช่เรื่องฟ้องร้องเกี่ยวกับมรดก
กรณีดังกล่าวจะนำอายุความมรดก 1 ปีตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับหาได้ไม่เพราะมิใช่เรื่องฟ้องร้องเกี่ยวกับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินที่เป็นโมฆะ และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้ตายกู้ยืมเงินผู้ร้องไปโดยทำสัญญากับผู้ร้องว่าถ้าชำระหนี้ไม่ได้จะโอนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องเป็นการชำระหนี้แทน เป็นการตกลงกันให้เอาทรัพย์สินชำระหนี้แทนเงินกู้ยืม โดยมิได้คำนึงถึงราคาทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบังคับให้มีการโอนที่ดินมรดกเป็นการชำระหนี้แก่ผู้ร้องโดยเจาะจง คงมีแต่สิทธิขอให้บังคับชำระหนี้อันเป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยทั่วไป
ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นถ้ามิใช่ทายาทหรือพนักงานอัยการก็จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหมายความว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางมรดกหรือในทางพินัยกรรม หรือเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดก ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มิใช่เป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์ถ้าหากกองมรดกมีผู้จัดการมรดก หรือเสียประโยชน์ถ้าหากกองมรดกไม่มีผู้จัดการมรดก คดีนี้ผู้ตายยังมีทายาทอยู่ ถึงแม้ไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็สามารถฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นถ้ามิใช่ทายาทหรือพนักงานอัยการก็จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหมายความว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทางมรดกหรือในทางพินัยกรรม หรือเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดก ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มิใช่เป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์ถ้าหากกองมรดกมีผู้จัดการมรดก หรือเสียประโยชน์ถ้าหากกองมรดกไม่มีผู้จัดการมรดก คดีนี้ผู้ตายยังมีทายาทอยู่ ถึงแม้ไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้ร้องก็สามารถฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกในการฟ้องทายาทเพื่อชำระหนี้จากทรัพย์สินมรดก แม้ทายาทสละมรดก
โจทก์เป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายให้ร่วมกันนำเงินและทรัพย์สินในกองมรดกมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เป็นกรณีที่เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกแม้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้สละมรดกเสียในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หากแต่ฟ้องในฐานะเป็นทายาทและก็เพื่อให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้กองมรดกมีอำนาจฟ้องทายาท แม้ทายาทได้สละมรดกไปแล้ว เพื่อบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดก
โจทก์เป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายให้ร่วมกันนำเงินและทรัพย์สินในกองมรดกมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ เป็นกรณีที่เจ้าหนี้กองมรดกฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท เพื่อให้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกแม้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้สละมรดกเสียในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หากแต่ฟ้องในฐานะเป็นทายาทและก็เพื่อให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ต่อทายาทเมื่อไม่มีผู้จัดการมรดก: บังคับคดีต่อทายาทได้ตามกฎหมาย
เมื่อเจ้ามรดกตายทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทซึ่งรวมทั้งผู้ร้องผู้เป็นภริยาของเจ้ามรดกด้วยเจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิบังคับสิทธิเรียกร้องต่อผู้ร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 เพราะกองมรดกไม่มีผู้จัดการผู้ร้องยกเหตุที่ตนกับทายาทอื่นกำลังดำเนินคดีเกี่ยวกับเรื่องตั้งผู้จัดการมรดกมาเป็นเหตุปฏิเสธไม่เข้าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่เจ้ามรดกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้กองมรดกไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม หากมีผู้จัดการ/ทายาทรับผิดชำระหนี้อยู่แล้ว
เจ้าหนี้กองมรดกซึ่งมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ตายที่จะต้องรับผิดชำระหนี้จากกองมรดกให้อยู่แล้วจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก