คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ กาญจนวิทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์เกินกำหนดห้ามอุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริง: คดีครอบครองที่ดินและเพิกถอนใบแทน น.ส.3ก.
โจทก์ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่พิพาท และขอให้พิพากษาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง คือ 18,375 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยอุทธรณ์และฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท โดยแสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถืออันเป็นการแย่งการครอบครอง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง จึงเป็นอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาดังกล่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองและอายุความฟ้องคดี การบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ
บ. บิดาโจทก์ได้แบ่งที่ดินให้ ว. มารดาจำเลยเข้าอยู่อาศัยและการที่ ว. ได้ยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินภายหลังจาก บ. ได้ขอรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของ บ. ผู้ขอออกโฉนด แต่เป็นที่ดินของ ว. ได้ครอบครองมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว การคัดค้านของ ว. เป็นการโต้แย้งสิทธิซึ่งถือว่า บ. ได้ทราบแล้วพฤติการณ์ของ ว. เป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทน บ. ต่อไปอีก และ ว. ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาท เพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ต่อมา บ. ได้ถึงแก่กรรม โจทก์ได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกและได้เข้าสวมสิทธิการดำเนินการขอออกโฉนดที่ดิน ว. กับพวกได้คัดค้านการออกโฉนดที่ดิน แสดงให้เห็นว่า ว. ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทตลอดมายืนยันว่าตนเองมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และในการที่ ว. ถอนคำคัดค้านก็เนื่องจากเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ทราบว่าได้มีประกาศสำนักงานที่ดิน หากไม่ถอนคำคัดค้านจะถูกฟ้องร้อง เมื่อ ว. ยังครอบครองที่พิพาทอยู่และได้คัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดของโจทก์ต่อไปอีก จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิและเป็นการที่ ว. เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นของตนตั้งแต่ได้ยื่นคำร้องคัดค้านแล้ว หลังจากนั้น ว. ยกที่พิพาทให้จำเลยและจำเลยได้ร้องคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนของทางทะเลต่อความเสียหายสินค้าจากน้ำทะเล การสันนิษฐานสภาพสินค้าและหลักฐานการพิสูจน์
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า"เมื่อผู้รับตราส่งได้รับมอบของจากผู้ขนส่งหรือจากบุคคลตามมาตรา 40(3) ไว้แล้ว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้มอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนักและรายละเอียดอื่น ๆตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น มิได้หมายความว่าของหรือสินค้าที่ผู้รับตราส่งได้รับนั้นมีสภาพสมบูรณ์ไม่มีความเสียหายทั้งข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวก็มิใช่ข้อสันนิษฐานที่เด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้เห็นว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับสินค้าได้
วัสดุห่อหุ้มสินค้าหรือกล่องกระดาษบรรจุสินค้า เป็นสิ่งห่อหุ้มสินค้าที่อยู่ชั้นนอกสุดย่อมมีโอกาสเปียกน้ำได้ตั้งแต่แรกเมื่อน้ำผ่านเข้าไปในตู้สินค้ากล่องกระดาษซึ่งเป็นวัสดุห่อหุ้มสินค้าโดยสภาพ จึงสามารถดูดซึมและรับน้ำที่เข้ามาไว้ได้ตั้งแต่แรก ตลอดจนสามารถนำไปตรวจพิสูจน์ได้ดีว่าน้ำที่เปียกนั้นเป็นน้ำทะเลหรือน้ำจืด เมื่อกระดาษบรรจุสินค้าที่ด้านล่างของตู้สินค้าเปียกชุ่มน้ำและตรวจพบคลอไรด์ที่กล่องกระดาษซึ่งเปียกชุ่มน้ำดังกล่าว 0.04 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่ากล่องกระดาษดังกล่าวเปียกน้ำทะเล เพราะปกติน้ำจืดจะไม่มีสารคลอไรด์ผสมอยู่แต่จะมีสารคลอไรด์ผสมอยู่ในน้ำทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งเป็นผ้าอนามัยย่อมง่ายแก่การที่สินค้านั้นจะดูดซึมซับน้ำทะเลไว้ สินค้าดังกล่าวจึงได้รับความเสียหายเพราะเปียกน้ำทะเลในระหว่างการขนส่ง
การขนส่งสินค้ามากับเรือสินค้าทางทะเลนั้น ในระหว่างการเดินทางเรือย่อมจะต้องประสบกับคลื่นลมในทะเลเป็นปกติ น้ำทะเลย่อมมีโอกาสที่จะเข้าไปในระวางสินค้าได้จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้เห็นว่าระวางเรือมีฝาปิดมิดชิดจนน้ำทะเลเข้าไม่ได้ นอกจากนี้การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าตู้สินค้าที่ขนส่งตั้งอยู่ในระวางเรือที่มีฝาระวางปิดมิดชิดย่อมไม่มีโอกาสที่น้ำทะเลจะเข้ามาในระวางได้ก็ขัดกับผลการตรวจพิสูจน์ ซึ่งพบน้ำทะเลอยู่ในสินค้าดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น ไม่ใช่การรับสภาพหนี้ หรือการแปลงหนี้ อายุความ 10 ปี
การรับสภาพหนี้เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ของ พ. แก่โจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ ทั้งในเอกสารดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้หนี้ของ พ. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญานั้นเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ โดยสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่คู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ซึ่งหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และเมื่อสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญารับสภาพหนี้และสัญญาที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ซึ่งเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 108 ดังนั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีค่าโฆษณา: ข้อตกลงรับทำการงานและกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 193/34(7) พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
ตามสัญญาที่โจทก์ทำขึ้นกับจำเลยเป็นการที่โจทก์รับจะโฆษณางานเพลงของจำเลย โดยจำเลยตกลงจะชำระเงินตอบแทนให้แก่โจทก์ในงานที่ได้ทำขึ้นนั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงรับทำการงานให้แก่จำเลย การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าโฆษณาจึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นรวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จึงมีกำหนดอายุความสองปี เมื่อโจทก์สามารถบังคับสิทธิเรียกร้องในค่าโฆษณาช่วงเดือนธันวาคม 2537 ได้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2537 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ซึ่งเกินกำหนดสองปีแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และการใช้บทกฎหมายที่แก้ไขใหม่เพื่อประโยชน์แก่จำเลย
การลงโทษจำเลยที่กระทำความผิดหลายกรรมและให้เรียงกระทงลงโทษมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องแยกลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษภายหลัง การที่ศาลรวมโทษที่วางแต่ละกระทงแล้วจึงลดโทษจึงชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.5 กรัม ขึ้นไป ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แตกต่างจากกฎหมายเดิมในมาตรา 15 วรรคสอง ที่กำหนดเฉพาะปริมาณที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไปเท่านั้น โดยไม่คำนึงว่าจะมีจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิมากน้อยเพียงใด ดังนั้น เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดดังกล่าวตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลย ส่วนในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับ จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 5 เม็ด น้ำหนัก 0.450 กรัม และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด การกระทำทั้งสองกรรมต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายเดิมที่ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท กรณีโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจ ยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเป็นคนละกรรม ศาลแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำนวน 1 เม็ด ให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นและยึดได้เมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการจำหน่ายที่จำเลยอีก 4 เม็ด ดังนั้น แม้เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยจำหน่ายให้แก่สายลับจะเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมีลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกันสามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม
การลงโทษจำเลยที่กระทำความผิดหลายกรรมและเรียงกระทงลงโทษ มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้แยกลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษภายหลัง การที่ศาลรวมโทษที่วางแต่ละกระทงแล้วจึงลดโทษให้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2544 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และใช้ข้อความใหม่แทนโดยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มาตรา 15 วรรคสาม(2) ที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์ของแอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.5 กรัม ขึ้นไป ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แตกต่างจากกฎหมายเดิมในมาตรา 15 วรรคสอง ที่กำหนดเฉพาะปริมาณที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไปเท่านั้น โดยไม่คำนึงว่าจะมีจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิมากน้อยเพียงใด ดังนั้น เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดดังกล่าวตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลย
ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับ
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 5 เม็ด น้ำหนัก0.450 กรัม และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด การกระทำทั้งสองกรรมต่างเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากมาตรา 66 วรรคหนึ่งตามกฎหมายเดิมที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท ดังนั้นโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดียาเสพติด การเรียงกระทง การลดโทษ และการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
การลงโทษจำเลยที่กระทำความผิดหลายกรรมและให้เรียงกระทงลงโทษนั้นมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้แยกลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รวมโทษที่วางแต่ละกระทงแล้วลดโทษให้ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์ - ความผิดหลายกรรมต่างวาระ - การลดโทษและการรวมโทษ
สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ชุมสายประจำภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ต่อผู้เสียหายรายเดียวกันลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกันและมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน และหลังจากกระทำแต่ละครั้งบรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนาแล้ว จำเลยก็เลิกกระทำโดยถอดเครื่องโทรศัพท์ออกจากสายสัญญาณโทรศัพท์ที่ต่อพ่วงเชื่อมติดกันไว้อันเป็นการเลิกกระทำความผิดในครั้งนั้น ๆ โดยเด็ดขาด การกระทำความผิดครั้งต่อไปต้องนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับสายสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายใหม่ทุกครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันอันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
ความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11,12(1),18 วรรคสอง,48,62 วรรคหนึ่ง,81 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก,336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน ทั้งการที่จะบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จะต้องเป็นกรณีที่หลังจากลดโทษแต่ละกระทงความผิดแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นที่จะลงแก่จำเลยเกิน 20 ปี มิใช่วางโทษทุกกระทงก่อนเมื่อเกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกได้เพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษภายหลัง กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 91(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์, หลายกรรมต่างวาระ, ลดโทษ, รอการลงโทษ, คนต่างด้าว
สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ที่ 1880/2542
แม้จำเลยจะกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน ลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกัน และมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกัน อันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวไม่
ความผิดตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก และ 336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน จึงไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 91 (2) มาบังคับใช้ได้ ทั้งการจะนำมาใช้ได้ต้องเป็นกรณีหลังจากลดโทษแต่ละกระทงความผิดแล้ว
of 20