พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้กองมรดกไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม หากมีผู้รับผิดชำระหนี้อยู่แล้ว
เจ้าหนี้ กองมรดกซึ่งมีผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ตายที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ จากกองมรดกให้อยู่แล้ว จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนหลังคู่สัญญาสิ้นชีวิต สิทธิและหน้าที่ตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย
สัญญามีใจความว่า เจ้าของที่ดินให้จำเลยสร้างอาคารในที่ดินแล้วเรียกค่าก่อสร้างจากผู้เช่าอาคารอาคารที่สร้างขึ้นยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้สร้าง สัญญานี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนแม้ต่อมาผู้ให้สร้างจะตายตามกฎหมายหรือโดยสภาพก็ไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาย่อมตกทอดยังทายาท ทายาทต้องผูกพันตามสัญญานั้น ผู้จัดการมรดกถูกฟ้องตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมฟ้องทายาทแบ่งทรัพย์สิน ไม่ต้องฟ้องทุกคน
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิฟ้องทายาทคนหนึ่งคนใดของเจ้าของรวมคนอื่นให้แบ่งทรัพย์สินได้ ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมฟ้องแบ่งทรัพย์สิน: ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิฟ้องทายาทคนหนึ่งคนใดของเจ้าของรวมคนอื่นให้แบ่งทรัพย์สินได้ ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประนีประนอมโดยทายาทผู้จัดการมรดก ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลหากทำในฐานะทายาท ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาตาย เจ้าหนี้ฟ้องมารดาเด็กบังคับจำนอง เป็นการฟ้องทายาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737,1738 มารดาทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีได้ ไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลก่อน ไม่ใช่ทำในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองตาม มาตรา 1546 มารดามาฟ้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กว่าสัญญาประนีประนอมนั้นไม่ผูกพันเด็กไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อทายาท
คดีก่อนที่จำเลยฟ้อง พ.มารดาโจทก์เพื่อให้ชำระหนี้ของผู้ตายซึ่งเป็นบิดาโจทก์หากไม่ชำระขอให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น เป็นกรณีเจ้าหนี้กองมรดกบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737,1738 เมื่อ พ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่า พ.จะโอนที่ดินกับบ้านซึ่งนำมาจำนองไว้นั้นให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้จำนอง เมื่อ พ.ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ถ้า พ.ไม่ดำเนินการก็ให้บังคับจำนองเอาทรัพย์จำนองขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ทันที และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ ถือว่า พ.กระทำไปในฐานะทายาทของผู้ตายเพื่อจัดการเกี่ยวกับมรดกหาใช่กระทำในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไม่ แม้โจทก์จะมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายก็ตาม กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1546 ที่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน โจทก์จึงจะมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสรับผิดชอบหนี้สามีที่ถึงแก่ความตาย
จำเลยเป็นภรรยาของผู้ตายโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงมิใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ครอบครองโดยมิชอบ และการโอนสิทธิเรียกร้องส่งผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์
เจ้าของทรัพย์มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เครื่องปรับอากาศได้ถูกนำไปติดตั้งใช้ประโยชน์ในบ้านเช่าโดยผู้เช่านำไปติดตั้งไว้ เมื่อผู้เช่าย้ายไปอยู่ที่อื่น โดยไม่ได้ขนย้ายเอาเครื่องปรับอากาศนั้นไปด้วย เครื่องปรับอากาศนั้นย่อมตกอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมจะเรียกร้องเอาคืนจากเจ้าของบ้านหลังนั้นได้ เมื่อเจ้าของบ้านตายบ้านเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมใช้สิทธิเรียกเอาคืนจากจำเลยได้ การที่ทายาทของผู้ตายได้ตกลงตั้งสำนักงานจัดผลประโยชน์ในทรัพย์มรดกขึ้นเพื่อประโยชน์ในระหว่างทายาทด้วยกันเอง หามีผลลบล้างหน้าที่ของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์นั้นไม่
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรงหาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรงหาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์คืนจากผู้ครอบครองโดยไม่ชอบ และการโอนสิทธิเรียกร้องที่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์โอนไปด้วย
เจ้าของทรัพย์มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เครื่องปรับอากาศได้ถูกนำไปติดตั้งใช้ประโยชน์ในบ้านเช่าโดยผู้เช่านำไปติดตั้งไว้ เมื่อผู้เช่าย้ายไปอยู่ที่อื่น โดยไม่ได้ขนย้ายเอาเครื่องปรับอากาศนั้นไปด้วยเครื่องปรับอากาศนั้นย่อมตกอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมจะเรียกร้องเอาคืนจากเจ้าของบ้านหลังนั้นได้ เมื่อเจ้าของบ้านตายบ้านเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมใช้สิทธิเรียกเอาคืนจากจำเลยได้ การที่ทายาทของผู้ตายได้ตกลงตั้งสำนักงานจัดผลประโยชน์ในทรัพย์มรดกขึ้นเพื่อประโยชน์ในระหว่างทายาทด้วยกันเอง หามีผลลบล้างหน้าที่ของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์นั้นไม่
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรง หาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรง หาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดอายุความย่อมสะดุดหยุดอายุความ แม้จะขอเพิ่มทายาทอื่น
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง เป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม