คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรศักดิ์ กาญจนวิทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวครอบครองยาเสพติดหลายชนิด และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ระบุว่า เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันจึงเป็นความผิดต่อกฎหมายและมีโทษบทมาตราเดียวกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กระทงความผิดแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 9 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีเยาวชนละเมิดลิขสิทธิ์: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจพิจารณา แม้เยาวชนกระทำผิดในพื้นที่ไม่มีศาลเยาวชน
ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ จำเลยมีภูมิลำเนาอันเป็นถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดลพบุรีและกระทำความผิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดดำเนินการคดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 58(3) ที่ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดีนั้นหมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7(1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ดังนั้น คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีละเมิดลิขสิทธิ์เยาวชน: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือศาลจังหวัด เมื่อไม่มีศาลเยาวชนในพื้นที่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ จำเลยมีภูมิลำเนาอันเป็นถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดลพบุรีและกระทำความผิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดดำเนินการ คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) ที่ว่า ในกรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ถ้าไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดี หมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 (1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
กรณีที่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี เท่านั้นแต่ให้บรรดาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวจะยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค โดยระบุเขตศาลและที่ตั้งศาลขึ้นตามมาตรา 6 แล้ว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคที่จัดตั้งขึ้นแล้วนั้นสามารถยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะรับหรือไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้เมื่อคดีนี้เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีและยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคใดขึ้นเลย จึงยังใช้บทบัญญัติในการยื่นฟ้องคดีตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังกล่าวแล้วไม่ได้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติเป็นบทเฉพาะกาลไว้ว่าในระหว่างที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตในท้องที่นั้นด้วย และในคดีอาญาโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นก็ได้ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนั้นไว้แล้วจะนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น หรือ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีและศาลดังกล่าวแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนี้ไว้และพิจารณาพิพากษา จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 47 ดังกล่าว และคดีนี้มิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดลพบุรีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเมื่อจำเลยทราบวันนัดแต่ไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร มิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษา แต่จำเลยไม่มาศาลเพียงแต่ทนายความของจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายความนำคำร้องมาขอเลื่อนการฟังคำพิพากษาโดยอ้างว่าจำเลยไปต่างประเทศ เป็นกรณีที่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร และสงสัยได้ว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายจับจำเลยมาเพื่อฟังคำพิพากษา และให้นัดฟังคำพิพากษาใหม่ และเมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้นหนึ่งเดือนนับแต่วันออกหมายจับและไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยไป จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายและถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาในวันดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม กรณีจึงไม่มีเหตุให้ไต่สวนเพื่อเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยทราบวันนัดแต่ไม่มาศาล และสงสัยว่าหลบหนี
ในวันนัดพิจารณาครั้งสุดท้ายวันที่ 15 มิถุนายน 2542ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมาศาล เมื่อเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 15 กรกฎาคม2542 ซึ่งเสมียนทนายได้ทราบวันนัดแล้ว การที่เสมียนทนายทราบวันนัดต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดนั้นด้วย เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล เพียงแต่ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมาขอเลื่อนโดยอ้างว่าจำเลยไปต่างประเทศ เป็นกรณีที่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร สงสัยได้ว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับและให้นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 สิงหาคม 2542 เมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้นหนึ่งเดือนแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบและถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 182 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้อง: การพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีรับขนสินค้า โดยมิได้อ้างฐานความรับผิดในฐานะตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของเรือที่รับขนสินค้าของโจทก์ และจำเลยที่ 2 ผิดสัญญารับขนสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ ไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญารับขนในฐานะเป็นตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนสินค้ากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ อันจะต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824 จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับขนทางทะเล: ความรับผิดของผู้รับขนและตัวแทน, การพิพากษาเกินคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของเรือที่รับขนสินค้าของโจทก์ และจำเลยที่ 2 ผิดสัญญารับขนสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 2ต้องรับผิดตามสัญญารับขนในฐานะเป็นตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนสินค้ากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ อันจะต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824 จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวนระหว่างเอกชน ย่อมไม่เป็นโมฆะ แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เดิมจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. เป็นการซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกไม้ยืนต้น จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเองและ ส. ผู้ขายตลอดมา ต่อมาจำเลยได้ยื่นขอสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท จำเลยได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าครอบครองที่ดินพิพาทจำนวน 19 ไร่ พนักงานเจ้าหน้าที่บอกว่ายื่นขอสิทธิทำกินได้ไม่เกินคนละ 15 ไร่ จำเลยจึงให้ ช. บุตรชายยื่นคำขอสิทธิทำกินอีก 1 แปลง จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา
ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลย ขณะที่โจทก์ทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ เมื่อโจทก์ชำระราคาแล้วได้มีการเปลี่ยนชื่อใน ภ.บ.ท. 5 จากจำเลยเป็น อ. การซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยทำรั้วล้อมรอบที่ดินพิพาทแล้ว แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่แล้วในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกนั้นให้แก่กัน ทั้งประกาศสำนักงานป่าไม้ที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอน แต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็เพิ่งประกาศใช้หลังจากสัญญาเป็นผลระหว่างคู่สัญญาไปแล้ว นอกจากนี้ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวกระทำโดยประกาศของทางราชการมิใช่โดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยทั้งสี่ จึงไม่ถูกต้องเพราะจำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้อุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินป่าสงวน: สัญญาไม่เป็นโมฆะหากทำโดยสมัครใจและก่อนมีข้อห้าม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14ที่ห้ามมิให้ยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมมีสิทธิขายการครอบครองและพืชผลที่ปลูกอยู่ในที่ดินและมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองพืชผลที่ปลูกให้แก่กัน ส่วนประกาศสำนักงานป่าไม้เขตที่ระบุว่า พื้นที่ สทก. ที่ได้รับอนุญาตห้ามจำหน่ายจ่ายโอนแต่ให้ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทได้ ก็มิใช่กฎหมาย สัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำหน่ายฝิ่นต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง หากคำฟ้องไม่ระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ ศาลต้องลงโทษตามวรรคสองของมาตรา 69
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสาม มีระวางโทษหนักกว่า มาตรา 69 วรรคสอง หากวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นฝิ่นซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่เกิน 100 กรัม การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ห่อ น้ำหนัก 2.80 กรัม ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้บรรยายว่าจำเลยมีฝิ่นดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด ศาลจึงไม่อาจลงโทษตามมาตรา 69 วรรคสามได้ เพราะจะเป็นการลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
of 20