พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15638/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการรับสภาพหนี้หลังขาดอายุความ กรณีฟ้องขอพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องนำสืบเพียงการรับโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องและการเป็นหนี้ค้างชำระของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 5 และ ส. ลูกหนี้ที่ตายหลังจากผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้มาเท่านั้น มิได้นำสืบถึงมูลหนี้เดิมเพื่อให้รับฟังได้ว่าฝ่ายลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้เดิมในหนี้ประเภทใด และผิดนัดผิดสัญญาต่อเจ้าหนี้เดิมเมื่อใดหรือชำระหนี้ครั้งสุดท้ายก่อนผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อใด ซึ่งแม้หากนับอายุความตั้งแต่ขณะนั้นตามแต่กรณีจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ แต่ฝ่ายลูกหนี้ยื่นคำคัดค้านโต้แย้งว่า มูลหนี้เดิมเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกันและจำนอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ อายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฝ่ายลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้แก่ธนาคารเจ้าหนี้เดิมตั้งแต่ปี 2537 และโต้แย้งด้วยว่า การที่ฝ่ายลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งก็คือทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้และบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เมื่อปี 2548 และปี 2549 เป็นการรับสภาพความรับผิดหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว อายุความมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตาม มาตรา 193/35 หนี้ตามคำร้องของผู้ร้องขาดอายุความแล้ว ดังนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่ฝ่ายลูกหนี้คัดค้านดังกล่าว คดีของผู้ร้องย่อมขาดอายุความตามที่ฝ่ายลูกหนี้คัดค้าน เมื่อผู้ร้องมิได้นำสืบว่า เจ้าหนี้เดิมและผู้ร้องอาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากฝ่ายลูกหนี้ตั้งแต่เมื่อใดหรือมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพื่อแสดงให้เห็นว่าคดีของผู้ร้องไม่ขาดอายุความจึงต้องฟังว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความ ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 เด็ดขาด กับพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ลูกหนี้ที่ตายตาม พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 และมาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทค้ำประกัน – การจำหน่ายคดีเมื่อทายาทถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6 และยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตตามคำร้อง แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 6 ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ว่าให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา พอแปลได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว และแม้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาในคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน อย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทิ้งอุทธรณ์ไปแล้ว คดีตามอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้จึงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 6 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ ส. ทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของ ส. ฟ้องกองมรดกเพื่อบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งโจทก์จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 6 หรือทายาทคนใดของ ส. ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737 โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 6 ให้รับผิดในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 6 จะถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่เมื่อไม่มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 82 และศาลมิได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามมาตรา 84 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. หรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. แทนจำเลยที่ 6 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) (3) ได้ จำเลยที่ 6 จึงยังคงมีอำนาจต่อสู้คดีนี้ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6 จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 6 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ ส. ทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของ ส. ฟ้องกองมรดกเพื่อบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งโจทก์จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 6 หรือทายาทคนใดของ ส. ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737 โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 6 ให้รับผิดในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 6 จะถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่เมื่อไม่มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 82 และศาลมิได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามมาตรา 84 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. หรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. แทนจำเลยที่ 6 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) (3) ได้ จำเลยที่ 6 จึงยังคงมีอำนาจต่อสู้คดีนี้ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
ลูกหนี้ที่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา อันเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เป็นกรณีที่โจทก์อาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ถ้าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายแล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9189/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกกรณีหนี้สินไม่ล้นพ้นตัว แม้มีเหตุให้สันนิษฐานได้แต่ทรัพย์มรดกเพียงพอชำระหนี้
เจ้าหนี้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้แก่รถบรรทุกและเงินฝากธนาคารชำระหนี้แล้ว เมื่อหักกลบกับหนี้ ตามฟ้องแล้วจะเหลือหนี้ค้างชำระเพียงจำนวนเล็กน้อยประมาณ 10,000 บาท อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นลูกหนี้ บุคคลอื่นอีก รูปคดีจึงยังไม่พอฟังว่าลูกหนี้ที่ตายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้จัดการทรัพย์มรดก ของผู้ตายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของผู้ตาย: ทายาทรับผิดเฉพาะในทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด.ยอมรับสภาพหนี้ของ ด.ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด.เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด.ก่อขึ้นเอง หาก ด.ยังคงมีชีวิตอยู่ด.อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด.จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด.โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.ให้ล้มละลายไม่ได้ แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทผู้จัดการมรดกในหนี้สินของเจ้ามรดก และการฟ้องล้มละลาย
ตามหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเพียงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ หากจะมีผลผูกพันจากการรับสภาพหนี้ กองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยที่ 4 ยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ของทายาทผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และจำกัดความรับผิดเฉพาะทรัพย์มรดก
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ยอมรับสภาพหนี้ของ ด. ต่อโจทก์ มีผลผูกพันกองมรดกของ ด. เท่านั้นที่จะต้องรับผิดในหนี้สินตามที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่อาจถือได้ถึงขนาดว่าจำเลยยอมเข้าผูกพันตนเป็นลูกหนี้แทนในลักษณะแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
แม้จำเลยจะเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแต่ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดก ประกอบกับหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่ ด. ก่อขึ้นเอง หาก ด. ยังคงมีชีวิตอยู่ ด. อาจถูกฟ้องขอให้ล้มละลายได้ ด. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายล้มละลายต่อโจทก์และเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของ ด. ไม่ใช่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ด. โจทก์จึงนำหนี้ตามฟ้องมาฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ด. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีบุคคลถึงแก่ความตาย: สภาพการเป็นคู่ความและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยถึงแก่ความตายก่อนโจทก์ฟ้อง จึงไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย ไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว: คู่ความไม่มีสภาพตามกฎหมาย ศาลจำหน่ายคดี
จำเลยถึงแก่ความตายก่อนโจทก์ฟ้องคดี แสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย ไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลได้ แต่เมื่อศาลรับฟ้องไว้แล้วจึงต้องจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอก
ผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจาก อ. ผู้จัดการมรดกของ ส. ในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จัดการทรัพย์มรดก ของ ส.โดยขณะรับโอนผู้คัดค้านที่1ทราบว่าส. มีหนี้สินบุคคล หลายราย และ ส. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาท แสดงว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ทราบถึงสภาพการมีหนี้สินพ้นตัวของกองมรดกของ ส. เป็นการรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนผู้คัดค้าน ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งรับโอนและรับจำนองที่ดินพิพาทภายหลังจากมี การฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลายดังนั้น แม้ทำโดยสุจริต มีค่าตอบแทนและเป็นบุคคลภายนอกก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483