พบผลลัพธ์ทั้งหมด 854 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: การตีความเฉพาะเจาะจงกรณีบาดเจ็บทางร่างกายและการคุ้มครองกรณีเสียชีวิต
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุข้อยกเว้นที่การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครองว่า "2. ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไปนี้... ง. ขณะที่ผู้เอาประกันภัยเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท" ดังนี้ ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดดังกล่าวต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า ย่อมหมายถึงเฉพาะความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางกายที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เสียชีวิตเพราะตามกรมธรรม์มีข้อตกลงคุ้มครอง 6 ข้อ ข้อ 1. เสียชีวิตข้อ 2. สูญเสียอวัยวะและสายตา ข้อ 3. ทุพพลภาพถาวร ข้อ 4. และข้อ 5. ทุพพลภาพชั่วคราว...ข้อ 6. ค่ารักษาพยาบาล... และกรณีผู้เอาประกันภัยถูกฆาตกรรมหรือถูกลอบทำร้ายร่างกายจำนวนเงินเอาประกันภัยข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็น 250,000 บาท ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงกรณีเสียชีวิตหรือถูกฆาตกรรมกรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้เช่าซื้อ: การแปลงหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และมีข้อตกลงด้วยว่า แม้จำเลยที่ 1 ตกลงแปลงหนี้ด้วยประการใด ๆ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังคงยอมรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่แปลงด้วย ตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันมีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยอมรับเป็นผู้ค้ำประกันเฉพาะกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงแปลงหนี้ใหม่เท่านั้น ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาดังกล่าวยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนยอดเงิน114,619 บาท บันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวมิใช่เป็นสัญญาที่เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ แต่เป็นเพียงบันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดใช้ค่าเสียหายในจำนวนยอดเงิน 114,619 บาท เท่านั้น ย่อมไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยินยอมค้ำประกันในหนี้จำนวนดังกล่าว เพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้เช่นว่านี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: การแปลงหนี้และการรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ทำบันทึกรับสภาพหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และมีข้อตกลงด้วยว่า แม้จำเลยที่ 1ตกลงแปลงหนี้ด้วยประการใด ๆ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังคงยอมรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่แปลงด้วยตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันมีความหมายเพียงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยอมรับเป็นผู้ค้ำประกันเฉพาะกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงแปลงหนี้ใหม่เท่านั้น ดังนั้นแม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาดังกล่าวยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนยอดเงิน114,619 บาท บันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวมิใช่เป็นสัญญาที่เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้แต่เป็นเพียงบันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดใช้ค่าเสียหายในจำนวนยอดเงิน 114,619 บาท เท่านั้นย่อมไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยินยอมค้ำประกันในหนี้จำนวนดังกล่าว เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ เช่นว่านี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันสัญญาซื้อขาย: การบังคับชำระหนี้จากหลักประกันต้องพิจารณาหนี้สินของลูกหนี้ก่อน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดกับโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน2535 เป็นต้นไป แต่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหาย ขาดผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำดื่มดังกล่าว แต่ที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว คิดตามระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ถึงวันเลิกสัญญาวันที่ 15 มกราคม 2536 รวม260 วัน ปรากฏว่าในเดือนเมษายน 2535 จำเลยที่ 1 ก็เริ่มผิดสัญญา โดยรับน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้และหลังจากนั้นก็ผิดสัญญาตลอดมาโจทก์ก็มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังคงไม่ปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้เวลาผ่านไปนานเท่าไรโจทก์ก็ยิ่งขาดประโยชน์มากขึ้น หากโจทก์รีบบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 และจัดหาวิธีการจำหน่ายทางอื่นแล้วก็น่าจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความเสียหายดังกล่าวได้ แต่โจทก์กลับปล่อยเวลาล่วงเลยต่อไป และต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2535 ถึงโจทก์ แจ้งถึงปัญหาต่าง ๆที่ทำให้จำเลยที่ 1 ขาดทุนและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ยังปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีการปิดประกาศแจ้งหนังสือบอกเลิกสัญญาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ทราบ พฤติการณ์ที่โจทก์ปล่อยให้ความเสียหายพอกพูนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลายาวนานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรจะกระทำได้ จึงไม่สมควรได้รับค่าเสียหายดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานถึง 260 วัน ตามที่โจทก์เรียกร้อง ตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่พิพาทระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2จำนวน 2 ฉบับ จำนวนเงินรวม 658,500 บาท มอบไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา และในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาหรือเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนหลักประกันตามข้อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่คู่สัญญามีความมุ่งหมายให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำที่อาจริบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 และ 378 และการที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องวางหลักประกันซึ่งกำหนดได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนเนื่องจากจำเลยที่ 1 มีหนี้ที่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยต้องชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแก่โจทก์ และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็ต้องชำระค่าเสียหายซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในสัญญาด้วยเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีหลักประกันเพื่อความมั่นใจในการบังคับชำระหนี้เงินจากจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1ไม่ชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดหรือค่าเสียหายตามสัญญาได้โดยง่าย โดยสามารถบังคับจากหลักประกันนั้นได้ การจะพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากหลักประกันตามสัญญาได้เพียงใด จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่เป็นข้อสำคัญเสียก่อน หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์แล้ว จึงพิจารณาต่อไปถึงการบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน กรณีที่สัญญา การเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดและหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2ระบุให้โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเท่านั้น หาใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดอันทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เกินไปกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ เมื่อศาลได้วินิจฉัยมาแล้วว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียง220,735 บาท กับดอกเบี้ยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามความรับผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระผูกพันตามสัญญาสัมปทานทำไม้, การสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน, และขอบเขตความรับผิดของผู้รับสัมปทาน
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักทั้ง 5 แปลง ข้อ 17 วรรคหนึ่งระบุว่า "ตลอดระยะเวลาสัมปทานนี้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ปลูกต้นไม้ บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับสัมปทาน ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด รวมทั้งชนิดของต้นไม้ที่กำหนดให้ปลูกด้วย" ดังนั้น ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุดลง จำเลยจึงต้องมีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าว แม้ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้ของจำเลย โจทก์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิด สิ้นสุดลงทั้งแปลง คำสั่งดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สิทธิที่จำเลยจะทำไม้ได้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่จำเลยยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่จำเลยได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลง
ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทาน โจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทาน สัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทาน และบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่าหากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วย ความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธีการป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับสัมปทานยินยอมยกหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิด ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอนหอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์
ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทาน โจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทาน สัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทาน และบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่าหากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วย ความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธีการป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับสัมปทานยินยอมยกหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิด ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอนหอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาประมูลป่าไม้: หน้าที่บำรุงรักษาหลังสิ้นสุดสัญญา & การส่งมอบอุปกรณ์ดับไฟ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักทั้ง 5 แปลง ข้อ 17 วรรคหนึ่งระบุว่า"ตลอดระยะเวลาสัมปทานนี้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ปลูกต้นไม้บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานด้วนค่าใช้จ่ายของผู้รับสัมปทาน ทั้งนี้ตามวิธีการที่กรมป่าไม้ทั้งหมด รวมทั้งชนิดของต้นไม้ที่กำหนดให้ปลูกด้วย" ดังนั้น ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุดลง จำเลยจึงต้องมีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าว แม้ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้ของจำเลย โจทก์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดสิ้นสุดลงทั้งแปลง คำสั่งดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สิทธิที่จำเลยจะทำไม้ได้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่ จำเลย ยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่จำเลยได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลง ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานโจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลงและกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทานสัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมี หน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่า หากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วยความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธี การป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับ สัมปทานยินยอมยกหกดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้ เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอน หอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าวจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันค่าแรงล่วงหน้า: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาภายในระยะเวลาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ตามที่บริษัท ย. มีความประสงค์จะทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้ซึ่งในการนี้บริษัท ย. จะต้องมีหนังสือรับรองของธนาคารค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 4,400,000 บาท โดยหนังสือฉบับนี้จำเลยที่ 1 ขอรับเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ย. ต่อโจทก์สำหรับการทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้คราวนี้ไว้ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,400,000 บาทจากข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันแสดงเจตนายินยอมที่จะเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าแรงจ่ายล่วงหน้าจำนวน 4,400,000 บาท ตามข้อกำหนดในสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. ตามสัญญาจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยที่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ได้จ่ายเงินค่าแรงล่วงหน้าจำนวน4,400,000 บาท ให้แก่บริษัท ย. ไปแล้ว ที่หนังสือค้ำประกันระบุไว้ตามสัญญาข้อ 3 ว่าหนังสือค้ำประกันฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป และสิ้นสุดวันที่ 15 ตุลาคม 2535หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่รับผิดชอบใด ๆทั้งสิ้น หมายความว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันมีเจตนาจะให้หนังสือค้ำประกันมีผลผูกพันและใช้บังคับกันได้ตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป กล่าวคือ หากเกิดกรณีที่บริษัท ย. จะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินจำนวน 4,400,000 บาทที่ได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รับผิดชดใช้ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามหนังสือค้ำประกันฉบับนี้นับแต่วันดังกล่าว กรณีมิใช่ว่าการรับเงินจำนวน 4,400,000 บาทของบริษัท ย. จากโจทก์จะต้องกระทำขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วยไม่ แต่ขณะเดียวกันหากเหตุแห่งการที่บริษัท ย.จะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 1 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันก็หาจำต้องรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันด้วยไม่ หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงิน 4,400,000 บาท ที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย.และเมื่อบริษัทย. มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ย. โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัท ย. มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า บริษัท ย. แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่ามิได้กระทำผิดสัญญาเท่านั้น ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไว้จึงต้องฟังตามข้อนำสืบของโจทก์ว่า บริษัท ย. เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย. ไปจากจำเลยผู้ค้ำประกันของบริษัท ย. ไปตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ คืนเงินมัดจำ
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทโดยเข้าใจว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 615 แม้จำเลยจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารพิพาทพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 ให้โจทก์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่โดยที่อาคารดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 615 ตามกฎหมายด้วย เมื่อตีความสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวของโจทก์และจำเลยโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะเข้าทำสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อทั้งหมดได้ ต้องถือว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทกับจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกเลิกโมฆียะกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดระหว่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ คืนเงินมัดจำ
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทโดยเข้าใจว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 615 แม้จำเลยจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารพิพาทพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 ให้โจทก์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่โดยที่อาคารดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 615 ตามกฎหมายด้วย เมื่อตีความสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวของโจทก์และจำเลยโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะเข้าทำสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อทั้งหมดได้ ต้องถือว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทกับจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกเลิกโมฆียะกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดระหว่างกันได้