พบผลลัพธ์ทั้งหมด 854 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดอกเบี้ยจากผู้รับจ้าง และการคำนวณภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา82จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มาตรา82/4วรรคหนึ่งก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้ สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากร โดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลยขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มแต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไปการที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิดอีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้วจึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วยจึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน87,200,000บาทรวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยอันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับจึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน82,200,000บาทจะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ3.3รวมอยู่ด้วยก็ตามแต่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79วรรคหนึ่งฐานะภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รบหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการและคำว่า"มูลค่า"นั้นมาตรา79วรรคสองให้หมายความถึงเงินทรัพย์สินค่าตอบแทนค่าบริการหรือประโยชน์ใดๆซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้วเงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ7จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ3.3มาหักออกที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา79ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรก ประมวลรัษฎากรมาตรา82/4บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ชื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระแต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวดโจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นเมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดจำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่15ตุลาคม2535จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรกโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่1ถึง4นับแต่วันที่16ตุลาคม2535เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากสัญญาจ้างก่อสร้าง และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ภาษีค้างชำระ
แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 82 จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้
สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากรโดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลย ขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไป การที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิด อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน 87,200,000 บาท รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยแต่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535อันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย
แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน 82,200,000 บาท จะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา79 วรรคหนึ่ง ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และคำว่า"มูลค่า" นั้น มาตรา 79 วรรคสอง ให้หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้ว เงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใด จึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ 3.3มาหักออก ที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับ ฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคแรก
ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวด โจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึง 4 นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ
สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากรโดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลย ขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไป การที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิด อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน 87,200,000 บาท รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยแต่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535อันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย
แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน 82,200,000 บาท จะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา79 วรรคหนึ่ง ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และคำว่า"มูลค่า" นั้น มาตรา 79 วรรคสอง ให้หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้ว เงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใด จึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ 3.3มาหักออก ที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับ ฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคแรก
ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวด โจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึง 4 นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาขนส่งทางอากาศ, การแข่งขันทางธุรกิจ, และการปิดอากรแสตมป์
โจทก์และจำเลยได้ร่วมดำเนินการขนส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศ ตามสัญญาให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวโดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการในประเทศไทย สัญญานี้ตกลงให้ค่าตอบแทนตามตาราง ก.ว่า จำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 60 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับให้แก่การขนส่งขาออก และต้องจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ 40 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับนั้น ทั้งจำเลยต้องดำเนินการจัดส่งสิ่งของที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าตอบแทน สัญญาฉบับนี้ ตาราง ก.เรื่องค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกำหนดไว้ว่า โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนอัตราร้อยละ 40 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับ (revenues billed) เป็นการตกลงให้โจทก์มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งตามยอดรายรับตามที่ได้มีการเรียกเก็บเงินโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะเก็บเงินได้น้อยกว่าใบรับหรือไม่ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามตัวเลขรายรับที่ได้ออกใบรับทุกรายการ แม้ตามสัญญาข้อ 10จะหมายถึงการเรียกเก็บเงินปลายทางซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ส่งของจะต้องรับผิดชอบการเรียกเก็บเงินแม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ไม่ได้หมายถึงการเรียกเก็บเงินต้นทางก็ตาม ก็ไม่มีเหตุผลที่จะแปลสัญญาดังกล่าวไปในทางที่ว่าการคำนวณส่วนแบ่งของรายรับตามตาราง ก.เฉพาะกรณีเรียกเก็บเงินต้นทางเท่านั้นที่จะต้องคำนวณจากรายรับที่จำเลยเรียกเก็บได้จริง แต่กรณีเรียกเก็บเงินปลายทาง จำเลยจะให้คำนวณจากรายรับที่ได้ออกใบรับแล้ว โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะเรียกเก็บเงินได้จริงหรือไม่ เพราะไม่มีข้อความใดในตาราง ก. ที่จะแสดงให้เห็นดังกล่าว
ตามสัญญาข้อ 6 ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อปรากฏว่าการขนส่งในช่วงวันที่ 1กรกฎาคม 2533 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2534 ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2 บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้น การที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัท พ.และบริษัท อ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้น แม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตาม แต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วย จึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริการของจำเลย แม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลย ต้องห้ามตามสัญญาข้อ 6 แล้ว
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร เรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ 7 (ข) ว่า มอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และระบุในข้อ 7 (ค) ว่า มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกัน คิดตามรายตัวบุคคลคนละ 30 บาท ใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตาม แต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการ กล่าวคือ ส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียว มิใช่ต่างตนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดี ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30 บาท ถูกต้องตาม ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ข) แล้ว
ตามสัญญาข้อ 6 ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อปรากฏว่าการขนส่งในช่วงวันที่ 1กรกฎาคม 2533 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2534 ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2 บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้น การที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัท พ.และบริษัท อ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้น แม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตาม แต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วย จึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริการของจำเลย แม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลย ต้องห้ามตามสัญญาข้อ 6 แล้ว
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร เรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ 7 (ข) ว่า มอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และระบุในข้อ 7 (ค) ว่า มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกัน คิดตามรายตัวบุคคลคนละ 30 บาท ใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตาม แต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการ กล่าวคือ ส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียว มิใช่ต่างตนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดี ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30 บาท ถูกต้องตาม ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ข) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาขนส่งทางอากาศ การประพฤติผิดสัญญา และการหักลบหนี้
โจทก์และจำเลยได้ร่วมดำเนินการขนส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศตามสัญญาให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวโดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการในประเทศไทยสัญญานี้ตกลงให้ค่าตอบแทนตามตารางก.ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนร้อยละ60ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับให้แก่การขนส่งขาออกและต้องจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับนั้นทั้งจำเลยต้องดำเนินการจัดส่งสิ่งของที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าตอบแทนสัญญาฉบับนี้ตารางก. เรื่องค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกำหนดไว้ว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนอัตราร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับ(revenuesbilled)เป็นการตกลงให้โจทก์มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งตามยอดรายรับตามที่ได้มีการเรียกเก็บเงินโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะเก็บเงินได้น้อยกว่าใบรับหรือไม่จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามตัวเลขรายรับที่ได้ออกใบรับทุกรายการแม้ตามสัญญาข้อ10จะหมายถึงการเรียกเก็บเงินปลายทางซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ส่งของจะต้องรับผิดชอบการเรียกเก็บเงินแม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ไม่ได้หมายถึงการเรียกเก็บเงินต้นทางก็ตามก็ไม่มีเหตุผลที่จะแปลสัญญาดังกล่าวไปในทางที่ว่าการคำนวณส่วนแบ่งของรายรับตามตารางก.เฉพาะกรณีเรียกเก็บเงินต้นทางเท่านั้นที่จะต้องคำนวณจากรายรับที่จำเลยเรียกเก็บได้จริงแต่กรณีเรียกเก็บเงินปลายทางจำเลยจะให้คำนวณจากรายรับที่ได้ออกใบรับแล้วโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะเรียกเก็บเงินได้จริงหรือไม่เพราะไม่มีข้อความใดในตารางก.ที่จะแสดงให้เห็นดังกล่าว ตามสัญญาข้อ6ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเมื่อปรากฎว่าการขนส่งในช่วงวันที่1กรกฎาคม2533ถึงวันที่31กรกฎาคม2534ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นการที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัทพ.และบริษัทอ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้นแม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตามแต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วยจึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริษัทของจำเลยแม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยต้องห้ามตามสัญญาข้อ6แล้ว ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรเรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ7(ข)ว่ามอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวค่าอากรแสตมป์30บาทและระบุในข้อ7(ค)ว่ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลคนละ30บาทใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตามแต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการกล่าวคือส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียวมิใช่ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดีใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30บาทถูกต้องตามประมวลรัษฎากรข้อ7แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ปลูกสร้างเอง
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุในโจทก์ฟ้องร้องเป็นคดีเกิดจากการที่โจทก์ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ผ่านถนนของจำเลยโดยไม่จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและเปิดถนนให้โจทก์ใช้ประโยชน์ตามเดิมดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์ไม่ว่าโจทก์จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตามเมื่อโจทก์ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้นเพราะบุคคลอื่นที่สร้างบ้านหรืออาคารในที่ดินที่ซื้อไปจากโจทก์ก็ต้องขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งก็ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ถนนของจำเลยเช่นกันจึงต้องตีความว่าการที่โจทก์ขายที่ดินให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้นย่อมถือเสมือนว่าโจทก์จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินเพราะหากโจทก์ไม่ขายที่ดินแล้วบุคคลอื่นก็ไม่มีสิทธิจะเข้าไปปลูกสร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวได้และโจทก์ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดินถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา แม้ผู้ขายมิได้เป็นผู้ก่อสร้างเอง
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา แม้ไม่ได้สร้างเอง
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหายเมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิมดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตามเมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้นและการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้นย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องและโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดินถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: ค่าตอบแทนการใช้ถนนและประโยชน์ที่ได้รับ
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 368
สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การได้รับประโยชน์จากที่ดินที่ขาย ถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดี และฟ้องข้ามปีขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ ป.พ.พ.บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535 ใช้บังคับ ดังนั้น คดีนี้จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.ที่มีการตรวจชำระใหม่
สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก่จำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าว่าความมีบัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 193/12 ว่า "อายุความให้เริ่มนับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..." และมาตรา 602 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" โดยการที่ทำในคดีนี้คือการที่โจทก์เป็นทนายความว่าความแก้ต่างแก่จำเลยในศาลชั้นต้นและจำเลยจะต้องใช้สินจ้างแก่โจทก์เมื่อรับมอบการที่ทำ กรณีตามสัญญานี้ก็คือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว แสดงว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว
ส่วนที่สัญญาจ้างว่าความระบุไว้ว่าจำเลยตกลงจะได้ทำการขายที่ดินโดยเร็วโดยตั้งราคาไว้เป็นเงิน 3,500,000 บาท ซึ่งจำเลยผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความให้โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท หากขายได้ราคาต่ำกว่าข้างต้น จำเลยตกลงจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเงินที่ขายที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมด แต่ไม่ว่าจะขายที่ดินได้เท่าใด ค่าจ้างว่าความจะไม่ต่ำกว่า 280,000 บาท นั้น เป็นแต่เพียงการกำหนดจำนวนค่าจ้างว่าความว่าควรจะเป็นเท่าใดเท่านั้น โดยถือเอาจำนวนราคาขายที่ดินที่พิพาทในคดีที่ว่าจ้างเป็นตัวกำหนด แต่หากกำหนดไม่ได้ก็ต้องถือว่าค่าจ้างว่าความมีจำนวน 280,000 บาทเท่านั้น โดยมิได้มีกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ในสัญญาจ้างว่าความแต่อย่างใดดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ทำการตามสัญญาจ้างว่าความเสร็จสิ้น คือ ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันที ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความจากจำเลยจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความ
สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก่จำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าว่าความมีบัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 193/12 ว่า "อายุความให้เริ่มนับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..." และมาตรา 602 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" โดยการที่ทำในคดีนี้คือการที่โจทก์เป็นทนายความว่าความแก้ต่างแก่จำเลยในศาลชั้นต้นและจำเลยจะต้องใช้สินจ้างแก่โจทก์เมื่อรับมอบการที่ทำ กรณีตามสัญญานี้ก็คือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว แสดงว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว
ส่วนที่สัญญาจ้างว่าความระบุไว้ว่าจำเลยตกลงจะได้ทำการขายที่ดินโดยเร็วโดยตั้งราคาไว้เป็นเงิน 3,500,000 บาท ซึ่งจำเลยผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความให้โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท หากขายได้ราคาต่ำกว่าข้างต้น จำเลยตกลงจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเงินที่ขายที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมด แต่ไม่ว่าจะขายที่ดินได้เท่าใด ค่าจ้างว่าความจะไม่ต่ำกว่า 280,000 บาท นั้น เป็นแต่เพียงการกำหนดจำนวนค่าจ้างว่าความว่าควรจะเป็นเท่าใดเท่านั้น โดยถือเอาจำนวนราคาขายที่ดินที่พิพาทในคดีที่ว่าจ้างเป็นตัวกำหนด แต่หากกำหนดไม่ได้ก็ต้องถือว่าค่าจ้างว่าความมีจำนวน 280,000 บาทเท่านั้น โดยมิได้มีกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ในสัญญาจ้างว่าความแต่อย่างใดดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ทำการตามสัญญาจ้างว่าความเสร็จสิ้น คือ ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันที ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความจากจำเลยจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความ