คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 368

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 854 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการให้ที่ดินตามบันทึกข้อตกลงมีผลผูกพัน แม้ไม่มีวันเดือนปี และลายมือชื่อผู้ให้ที่ดิน
ช. ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่19ไร่26ตารางวาแต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง4ไร่ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบแม้ช. จะไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตามแต่ช. ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้นหรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึกแต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ช. จดทะเบียนการให้ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้วทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไปบันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของช. แต่อย่างใดไม่แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้นช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง4ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้นที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้วย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง4ไร่ด้านหน้าติดคอลงภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: บันทึกแบ่งที่ดินหลังจดทะเบียนใช้ได้ ยึดเจตนาการแบ่งตามที่ตกลง
ช.ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 19 ไร่ 26 ตารางวา แต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญ กว้างประมาณ10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบ แม้ ช.จะไม่ได้พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตาม แต่ ช.ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้น หรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึก แต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ ช.จดทะเบียนการให้ ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้ว ทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไป บันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของ ช.แต่อย่างใดไม่ แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้ แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้น ช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง 4 ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้น ที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้ว ย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ 10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ทราบ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิก
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ให้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยยินยอมให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ จำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้และให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการคิดดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ แต่ข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อน เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละเท่าใดแล้วจึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี ตามข้อสัญญาเดิม โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยการประกาศหนังสือพิมพ์ระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่พร้อมดอกเบี้ยให้นำมาชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2535ซึ่งโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 16ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดที่โจทก์ทวงถาม สัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้เทศบาลเพื่อจัดตั้งสถานีขนส่ง แม้มีการยกเลิกสถานีขนส่งแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของเทศบาล
โจทก์มีหนังสือถึงเทศบาลเมืองอุบลราชธานีจำเลยแจ้งว่าโจทก์ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยใช้เป็นสถานีขนส่ง โดยมีข้อความระบุว่า"...ที่ดินดังกล่าวนี้ข้าพเจ้ายินดีและตกลงยกให้เทศบาลเมืองอุบลฯ จำนวนเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เพื่อให้จัดทำเป็นสถานีขนส่งทางบก...ผู้ยกให้และผู้รับจะได้ทำการโอนทางทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็วหลังจากกรมขนส่งอนุญาตแล้ว..."ซึ่งต่อมาจำเลยได้ว่าจ้างให้โจทก์ก่อสร้างอาคารสถานีขนส่งลงในที่พิพาทและโจทก์ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกำหนดให้สถานที่ที่โจทก์ก่อสร้างดังกล่าวเป็นสถานีขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นโจทก์ก็ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่จำเลย ดังนี้ถือว่าจำเลยได้ดำเนินการตามขั้นตอนเรื่องการจัดตั้งสถานีขนส่งเรียบร้อยทุกขั้นตอนแล้ว ส่วนการที่ภายหลังต่อมากระทรวงคมนาคมประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็นเรื่องที่ทางราชการเห็นว่าสภาพและสภาวะปัจจุบันไม่เหมาะสมที่จะใช้ที่พิพาทเป็นสถานีขนส่งอีกต่อไป ซึ่งไม่มีผลย้อนหลังให้ที่พิพาทซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนโอนเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยไปแล้วกลับคืนไปยังโจทก์อีก คำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อจัดตั้งสถานีขนส่ง และผลของการยกเลิกสถานีขนส่งต่อกรรมสิทธิ์
โจทก์มีหนังสือถึงเทศบาลเมืองอุบลราชธานีจำเลยแจ้งว่าโจทก์ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยใช้เป็นสถานีขนส่งโดยมีข้อความระบุว่า"ที่ดินดังกล่าวนี้ข้าพเจ้ายินดีและตกลงยกให้เทศบาลเมืองอุบลฯจำนวนเนื้อที่ประมาณ5ไร่เพื่อให้จัดทำเป็นสถานีขนส่งทางบกผู้ยกให้และผู้รับจะได้ทำการโอนทางทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็วหลังจากกรมขนส่งอนุญาตแล้ว"ซึ่งต่อมาจำเลยได้ว่าจ้างให้โจทก์ก่อสร้างอาคารสถานีขนส่งลงในที่พิพาทและโจทก์ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกำหนดให้สถานที่ที่โจทก์ก่อสร้างดังกล่าวเป็นสถานีขนส่งจังหวัดอุบลราชธานีหลังจากนั้นโจทก์ก็ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่จำเลยดังนี้ถือว่าจำเลยได้ดำเนินการตามขั้นตอนเรื่องการจัดตั้งสถานีขนส่งเรียบร้อยทุกขั้นตอนแล้วส่วนการที่ภายหลังต่อมากระทรวงคมนาคมประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานีนั้นเป็นเรื่องที่ทางราชการเห็นว่าสภาพและสภาวะปัจจุบันไม่เหมาะสมที่จะใช้ที่พิพาทเป็นสถานีขนส่งอีกต่อไปซึ่งไม่มีผลย้อนหลังให้ที่พิพาทซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนโอนเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยไปแล้วกลับคืนไปยังโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้จัดตั้งสถานีขนส่งและผลของการยกเลิกสถานีขนส่งต่อสิทธิในที่ดิน
โจทก์มีหนังสือถึงเทศบาลเมืองอุบลราชธานีจำเลยแจ้งว่าโจทก์ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยใช้เป็นสถานีขนส่งโดยมีข้อความระบุว่า"ที่ดินดังกล่าวนี้ข้าพเจ้ายินดีและตกลงยกให้เทศบาลเมืองอุบลฯจำนวนเนื้อที่ประมาณ5ไร่เพื่อให้จัดทำเป็นสถานีขนส่งทางบกผู้ยกให้และผู้รับจะได้ทำการโอนทางทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็วหลังจากกรมขนส่งอนุญาตแล้ว"ซึ่งต่อมาจำเลยได้ว่าจ้างให้โจทก์ก่อสร้างอาคารสถานีขนส่งลงในที่พิพาทและโจทก์ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกำหนดให้สถานที่ที่โจทก์ก่อสร้างดังกล่าวเป็นสถานีขนส่งจังหวัดอุบลราชธานีหลังจากนั้นโจทก์ก็ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่จำเลยดังนี้ถือว่าจำเลยได้ดำเนินการตามขั้นตอนเรื่องการจัดตั้งสถานีขนส่งเรียบร้อยทุกขั้นตอนแล้วส่วนการที่ภายหลังต่อมากระทรวงคมนาคมประกาศยกเลิกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานีนั้นเป็นเรื่องที่ทางราชการเห็นว่าสภาพและสภาวะปัจจุบันไม่เหมาะสมที่จะใช้ที่พิพาทเป็นสถานีขนส่งอีกต่อไปซึ่งไม่มีผลย้อนหลังให้ที่พิพาทซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนโอนเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยไปแล้วกลับคืนไปยังโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน การผูกพันตามประกาศ และการเรียกร้องหนี้
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง. ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศเป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้วการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้และขอให้โจทก์นำเอกสารต่างๆพร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้นถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั่งหนึ่งก่อนดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วแม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้ สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ2ว่าบริษัทง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล"ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณีๆไปและในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้เช่นได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้วหรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสนอแม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ประกาศของจำเลยข้อ2นี้จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด ตามประกาศของจำเลยข้อ3มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ยกับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปีภายในระยะเวลาไม่เกิน10ปีจะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ10ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินจนกว่าจะครบจำนวนดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆตามประกาศดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับละ500,000บาทปีละ4ฉบับมีกำหนดเวลา10ปีโดยไม่มีดอกเบี้ยสำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน4ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่10มิถุนายน2530แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้และให้โจทก์นำเอกสารต่างๆไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยโจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่างๆไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่24กุมภาพันธ์2532จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์2532จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้4ฉบับแรกฉบับละ500,000บาทโดยไม่มีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่1มีนาคม2532เป็นต้นไปและทุกวันที่1มีนาคมของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอซื้อ/แลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน: สัญญาผูกพันเมื่อตอบรับ แม้มีข้อจำกัดในประกาศ
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศ เป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้ และขอให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ พร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้น ถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้
สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ 2 ว่า...บริษัท ง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล..." ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณี ๆ ไป และในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้ เช่น ได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้ว หรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์ มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสมอ แม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ ประกาศของจำเลย ข้อ 2 นี้ จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด
ตามประกาศของจำเลย ข้อ 3 มีใจความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ย กับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี จะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ 10 ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน จนกว่าจะครบจำนวน ดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามประกาศดังกล่าวดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ 500,000 บาท ปีละ 4 ฉบับมีกำหนดเวลา 10 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย สำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน2530 แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้ และให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ ไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลย โจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ 4 ฉบับแรก ฉบับละ 500,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2532 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาลาศึกษาต่อ-เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดค่าเสียหายตามสมควร
ตามสัญญาลาไปศึกษาต่อมีข้อตกลงว่าเมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจะกลับมารับราชการต่อไปหากลาออกก่อนกำหนดยอมใช้เงินเป็นจำนวน3เท่าหมายความว่าไม่ว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการต่อไปเมื่อจำเลยลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการจึงเป็นการผิดสัญญาแม้โจทก์จะอนุมัติให้จำเลยลาออกจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับการที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างลาไปศึกษาต่อถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมรับให้ชำระเบี้ยปรับจำนวน1เท่าจำเลยที่1จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์คือกลับมาปฎิบัติงานให้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่1ยังไม่ได้ชำระหนี้ข้อนี้เลยจะถือว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยสงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคท้ายไม่ได้ การกำหนดเบี้ยปรับเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกบัญญัติให้ศาลมีอำนาจลดลงได้เป็นจำนวนพอสมควรหากเห็นว่าเกินส่วนโดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายมิใช่แต่ทางทรัพย์สินเท่านั้นและเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญา, การผิดสัญญา, การลดเบี้ยปรับ, ศาลใช้ดุลพินิจ
สัญญาสำหรับผู้ที่ขออนุญาตไปศึกษาวิชาโดยทุนส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ข้อ1มีข้อความว่า"ข้าพเจ้าจะตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาโดยเต็มสติปัญญาในระหว่างศึกษาวิชาอยู่ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้เรียบร้องไม่เกียจคร้านและจะไม่ทำการสมรสในต่างประเทศถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญาข้อนี้แล้วทางราชการก็ชอบที่จะเรียกกลับหรือสั่งปลดข้าพเจ้าได้ทั้งข้าพเจ้าจะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ข้าพเจ้าในระหว่างศึกษาเพิ่มเติมให้แก่ทางราชการด้วยทั้งสิ้น"ส่วนข้อ2มีข้อความว่า"เมื่อเสร็จการศึกษาแล้วข้าพเจ้าจะกลับมารับราชการในกระทรวงกลาโหมต่อไปถ้าข้าพเจ้ากลับมารับราชการได้ยังไม่ครบ2เท่าของเวลาที่ไปศึกษาแต่ไม่น้อยกว่า3ปีเป็นอย่างน้อยหรือยังไม่ครบ10ปีเป็นอย่างมากนับแต่กลับมารับราชการหากข้าพเจ้าประสงค์จะลาออกจากราชการก่อนกำหนดที่กล่าวแล้วแล้วข้าพเจ้ายอมใช้เงินเป็นจำนวน3เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ทางราชการได้จ่ายให้ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาอยู่นั้นจนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถาม"จากข้อสัญญาดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่1จะต้องคืนเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายตามสัญญาข้อ1นั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติผิดสัญญา3ประการคือไม่ตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาประพฤติตนไม่เรียบร้อยและเกียจคร้านและทำการสมรสในต่างประเทศซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจจะเรียกจำเลยที่1กลับหรือสั่งปลดจำเลยที่1ได้โดยที่จำเลยที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใดๆจากโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน3ประการดังที่กล่าวมาและโจทก์มิได้เรียกจำเลยที่1กลับประเทศไทยหรือปลดจำเลยที่1ออกจากราชการกลับปรากฏว่าจำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ขอลาออกจากราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ขยายเวลาเพื่อการศึกษาวิชาแม้ว่าจำเลยที่1จะไม่สำเร็จการศึกษาแต่ตามสัญญาใช้คำว่าเสร็จการศึกษาดังนั้นไม่ว่าจำเลยที่1จะสำเร็จการศึกษาหรือไม่จำเลยที่1ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการตามที่ทำสัญญาไว้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ2เมื่อจำเลยที่1ไม่กลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้และลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการตามที่สัญญาไว้ย่อมถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาข้อ2ดังกล่าวข้างต้นแล้ว สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ2เท่านั้นส่วนข้อ1เป็นเรื่องที่จำเลยที่1จะคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่จำเลยที่1ในกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่กล่าวไว้ในข้อ1และโจทก์เรียกตัวจำเลยที่1กลับจากต่างประเทศหรือมีคำสั่งปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเพราะเหตุที่จำเลยที่1ปฏิบัติผิดสัญญาข้อ1เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับแม้จะอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตามเพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความกำหนดไว้ชัดเจนดังนั้นเมื่อจำเลยที่1ทำผิดสัญญาข้อ2จำเลยที่1จึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญา การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่1ไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศโดยหน่วยงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาข้อ1แห่งสัญญาดังกล่าวและทำเรื่องเสนอโจทก์ให้ออกคำสั่งอนุมัติให้จำเลยที่1ลาออกจากราชการนั้นแม้จำเลยที่1โดยบิดาจำเลยที่1เป็นผู้ชำระแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเบี้ยปรับจำนวน1เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่1ได้รับไปจากโจทก์โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกให้ชำระเบี้ยปรับในส่วนที่เหลือเพราะพึงพอใจในเงินเบี้ยปรับนั้นแล้วเป็นเรื่องที่หน่วยงานของโจทก์ตีความในสัญญาไม่ถูกต้องและถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่1ลาออกจากราชการเป็นการยอมรับเอาเบี้ยปรับจำนวน1เท่าไว้แล้วดังจะเห็นได้จากสัญญาข้อ2ก็ได้กล่าวถึงการลาออกก่อนกำหนดเวลาที่จะกลับมาทำงานให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาแสดงว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่1ลาออกจำเลยที่1ก็ยังมีภาระที่จะต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์การชำระหนี้ในกรณีนี้คือการกลับมาปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่1มิได้ชำระหนี้เลยจะถือว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคท้ายไม่ได้จำเลยที่1ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ การกำหนดเบี้ยปรับคือข้อสัญญาที่คู่กรณีกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการที่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคหนึ่งเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้นแต่ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วยซึ่งมิใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้นดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้
of 86