คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 368

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 854 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญา, การผิดสัญญา, การชำระหนี้, ศาลลดเบี้ยปรับ, ความเสียหายที่แท้จริง
สัญญาสำหรับผู้ที่ขออนุญาตไปศึกษาวิชาโดยทุนส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ข้อ 1 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าจะตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาโดยเต็มสติปัญญา ในระหว่างศึกษาวิชาอยู่ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้เรียบร้อยไม่เกียจคร้านและจะไม่ทำการสมรสในต่างประเทศ ถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญาข้อนี้แล้ว ทางราชการก็ชอบที่จะเรียกกลับหรือสั่งปลดข้าพเจ้าได้... ทั้งข้าพเจ้าจะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ข้าพเจ้าในระหว่างศึกษาเพิ่มเติมให้แก่ทางราชการด้วยทั้งสิ้น" ส่วนข้อ 2 มีข้อความว่า "เมื่อเสร็จการศึกษาแล้ว ข้าพเจ้าจะกลับมารับราชการในกระทรวงกลาโหมต่อไป ถ้าข้าพเจ้ากลับมารับราชการได้ยังไม่ครบ 2 เท่า ของเวลาที่ไปศึกษา แต่ไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นอย่างน้อย หรือยังไม่ครบ 10 ปี เป็นอย่างมาก นับแต่กลับมารับราชการ... หากข้าพเจ้าประสงค์จะลาออกจากราชการก่อนกำหนดที่กล่าวแล้วข้าพเจ้ายอมใช้เงินเป็นจำนวน 3 เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ทางราชการได้จ่ายให้ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาอยู่นั้นจนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถาม" จากข้อสัญญาดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายตามสัญญาข้อ 1 นั้นจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติผิดสัญญา 3 ประการ คือ ไม่ตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาประพฤติตนไม่เรียบร้อยและเกียจคร้าน และทำการสมรสในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจจะเรียกจำเลยที่ 1 กลับหรือสั่งปลดจำเลยที่ 1 ได้ โดยที่จำเลยที่ 1ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการ ดังที่กล่าวมา และโจทก์มิได้เรียกจำเลยที่ 1 กลับประเทศไทย หรือปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการ กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์ขอลาออกจากราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ขยายเวลาเพื่อการศึกษาวิชา แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะไม่สำเร็จการศึกษา แต่ตามสัญญาใช้คำว่า เสร็จการศึกษา ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการตามที่ทำสัญญาไว้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้และลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ 2 เท่านั้น ส่วนข้อ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่กล่าวไว้ในข้อ 1 และโจทก์เรียกตัวจำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศหรือมีคำสั่งปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาข้อ 1 เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ แม้จะอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม เพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความกำหนดไว้ชัดเจน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 2จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญา
การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศโดยหน่วยงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 1 แห่งสัญญาดังกล่าวและทำเรื่องเสนอโจทก์ให้ออกคำสั่งอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการนั้น แม้จำเลยที่ 1 โดยบิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปจากโจทก์โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกให้ชำระเบี้ยปรับในส่วนที่เหลือเพราะพึงพอใจในเงินเบี้ยปรับนั้นแล้ว เป็นเรื่องที่หน่วยงานของโจทก์ตีความในสัญญาไม่ถูกต้องและถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการเป็นการยอมรับเอาเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ไว้แล้ว ดังจะเห็นได้จากสัญญาข้อ 2 ก็ได้กล่าวถึงการลาออกก่อนกำหนดเวลาที่จะกลับมาทำงานให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา แสดงว่าแม้โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจำเลยที่ 1 ก็ยังมีภาระที่จะต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ การชำระหนี้ในกรณีนี้คือการกลับมาปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้เลย จะถือว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับ ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคท้าย ไม่ได้ จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์
การกำหนดเบี้ยปรับคือข้อสัญญาที่คู่กรณีกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการที่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรและตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น แต่ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งมิใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาการจ้างเหมา ข้อพิพาทราคาทรายเพิ่มขึ้นหลังบอกเลิกสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยตามเจตนาสุจริตและหลักความยุติธรรม
ตามสัญญาข้อ19(3)กำหนดไว้ว่าจำเลยจะเรียกค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานได้ต่อเมื่อจำเลยต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าด. ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนแรกและส. ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนต่อมาต่างเป็นลูกจ้างของจำเลยเองจำเลยไม่ต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าควบคุมงานตามสัญญาข้อ19(3) ตามสัญญาข้อ20มีข้อความว่า"ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1)ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ3 (2)ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ (3)เรียกเอาค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ (4)เรียกค่าเสียหายอันพึงมีจากผู้รับจ้าง"ตามข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าการที่โจทก์ยอมให้จำเลยเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานซึ่งจำเลยว่าจ้างบุคคลอื่นให้ทำการต่อไปภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์นั้นแสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะให้โจทก์ต้องรับผิดสำหรับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ20(2)ต่อเมื่อจำเลยดำเนินการจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการเสียก่อนเพื่อจะได้ทราบว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นซึ่งโจทก์ต้องรับผิดนั้นมีจำนวนเท่าใดเพราะกรณีของโจทก์จำเลยในคดีนี้ค่าถมทรายราคาขึ้นลงไม่แน่นอนเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จำเลยได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดน. ก่อสร้างเขื่อนและถมทรายหลังเขื่อนต่อจากโจทก์ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวถมทรายได้บางส่วนแล้วจำเลยให้หยุดและจำเลยไม่ได้จ้างบุคคลอื่นทำการถมทรายต่อจนแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการจำเลยจึงยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาข้อ20(2)จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างในส่วนราคาทรายที่เพิ่มขึ้นจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มเมื่อสัญญาถูกบอกเลิก: ต้องดำเนินการจ้างบุคคลอื่นจนงานแล้วเสร็จ
ตามสัญญา ข้อ 19 (3) กำหนดไว้ว่า จำเลยจะเรียกค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานได้ต่อเมื่อจำเลยต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ด.ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนแรกและ ส.ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนต่อมาต่างเป็นลูกจ้างของจำเลยเอง จำเลยไม่ต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่ง ฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าควบคุมงานตามสัญญาข้อ 19 (3)
ตามสัญญา ข้อ 20 มีข้อความว่า "ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3
(2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์
(3) เรียกเอาค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์
(4) เรียกค่าเสียหายอันพึงมีจากผู้รับจ้าง" ตามข้อสัญญาดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่โจทก์ยอมให้จำเลยเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานซึ่งจำเลยว่าจ้างบุคคลอื่นให้ทำการต่อไปภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์นั้น แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะให้โจทก์ต้องรับผิดสำหรับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 20 (2) ต่อเมื่อจำเลยดำเนินการจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการเสียก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นซึ่งโจทก์ต้องรับผิดนั้นมีจำนวนเท่าใดเพราะกรณีของโจทก์จำเลยในคดีนี้ค่าถมทรายราคาขึ้นลงไม่แน่นอน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จำเลยได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก่อสร้างเขื่อนและถมทรายหลังเขื่อนต่อจากโจทก์ ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวถมทรายได้บางส่วนแล้วจำเลยให้หยุดและจำเลยไม่ได้จ้างบุคคลอื่นทำการถมทรายต่อจนแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการ จำเลยจึงยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาข้อ 20 (2) จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างในส่วนราคาทรายที่เพิ่มขึ้นจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4365/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ หากไม่แจ้งสิทธิในการเรียกเก็บดอกเบี้ยสูงขึ้นย่อมไม่มีผล
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่าหากผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วผู้ขอกู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้น อัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควรโดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะให้สิทธิโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยโจทก์จะ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงที่ดินขัดต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลสั่งบังคับคดีได้
ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมิได้ระบุชัดแจ้งว่าห้ามจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงแต่ก็ระบุว่าโจทก์ยอมให้จำเลยในฐานะผู้เช่าเดิมใช้ที่ดินพิพาทต่อไปได้อีกจนถึงวันที่1มีนาคม2539ซึ่งหมายความว่าให้จำเลยเป็นผู้ใช้และส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์เมื่อครบกำหนดแต่จำเลยกลับนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงอันเป็นเหตุให้โจทก์รับภาระเพิ่มขึ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมจึงเป็นปฎิปักษ์ต่อการปฎิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4244/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสูงเกินส่วนในสัญญาซื้อขายและการค้ำประกัน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้
การทำสัญญาซื้อขายเตียงผ่าตัดพร้อมอุปกรณ์ที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกัน จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะผูกพันกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งของสัญญาซื้อขายเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิริบหลักประกันแล้ว จำเลยที่ 3 รับรองที่จะใช้เงินให้แก่โจทก์ทันที สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลบังคับได้ แต่ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นความรับผิดที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์ ค่าปรับดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงมีลักษณะเช่นเดียวกันกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 เมื่อเป็นเบี้ยปรับและจำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันนั้นสูงเกินส่วน ศาลฎีกาย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าตามเจตนาสุจริตและสิทธิของผู้รับโอนทรัพย์
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 368 คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28 ปี แสดงว่า คู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนด เมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิม มิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุด โจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย ตาม ป.พ.พ. 569 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าต้องพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาและปกติประเพณี การยึดทรัพย์จากการกระทำของผู้ให้เช่าไม่ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุด
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28ปี แสดงว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยสัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดโจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่ากรณีถูกยึดทรัพย์ ศาลตีความตามเจตนาของคู่สัญญาและปกติประเพณี
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28ปีแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยสัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดโจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่ากรณีที่พักอาศัยถูกยึดตามคำสั่งศาล สิทธิของผู้เช่าและผู้รับโอน
การที่หนังสือสัญญาเช่าข้อ11ระบุว่าถ้าผู้เช่าค้างชำระค่าเช่าก็ดีหรือประพฤติผิดสัญญาหรือไม่ปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายก็ดีหรือถ้าสถานที่เช่าหรือสิ่งของที่อยู่ในสถานที่เช่าถูกอายัดหรือยึดตามคำสั่งศาลก็ดีหรือผู้เช่าถูกฟ้องร้องเป็นคดีล้มละลายก็ดีหรือทำความตกลงหรือขอลดหนี้กับเจ้าหนี้ประการใดก็ดีผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะขับไล่ผู้เช่ากับบริวารและกลับเข้ายึดถือครอบครองสถานที่เช่าได้ทันทีโดยให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลงแล้วนั้นเมื่อข้อสัญญาดังกล่าวมิได้ระบุว่าสถานที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าหรือทั้งสองฝ่ายจึงต้องตีความสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยการเช่ารายนี้มีกำหนดเช่า28ปีแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดและย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่าสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดจึงต้องตีความว่าสถานที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลต้องเกิดจากการกระทำของผู้เช่าผู้ให้เช่าจึงจะมีสิทธิขับไล่ผู้เช่าหรือเลิกสัญญาเช่าได้ฉะนั้นเมื่ออาคารตึกแถวถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของนางก.ผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าสัญญาเช่าจึงไม่สิ้นสุดลงโจทก์ผู้รับโอนอาคารตึกแถวย่อมต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย
of 86