คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 368

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 854 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8219/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นัดหมายโอนที่ดิน: การพิจารณาเจตนาคู่สัญญาและความสำคัญของเวลาเริ่มต้นดำเนินการ
โจทก์มาถึงสำนักงานที่ดินล่าช้าไปจากเวลานัดโอนที่ดินเพียง 25 นาที โดยฝ่ายจำเลยก็ยังพร้อมอยู่ที่สำนักงานที่ดินและยังคงเหลือเวลาดำเนินการอีกหลายชั่วโมง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าคู่สัญญาในคดีนี้ถือเวลาที่แตกต่างกันดังกล่าวเป็นสาระสำคัญถึงขนาดทำให้อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาโดยไม่มีการผ่อนผันกันก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์: ราคา, หมายเหตุ, และเจตนาของคู่สัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้สัญญาพิพาทที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ร่วมกันจัดทำขึ้นจะระบุว่าเป็น "สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง" ก็ตาม แต่การซื้อขายนั้นราคาของทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาพิพาทเป็นแบบพิมพ์สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่โจทก์พิมพ์สำเร็จไว้แล้วเพื่อนำมากรอกข้อความตามที่ตกลงกันเท่านั้น ซึ่งนอกจากไม่ได้กรอกข้อความในช่องวันเดือนปีที่ทำสัญญาแล้ว ในช่องราคาที่ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทที่ ป. ผู้จดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เบิกความว่า ตกลงกันเป็นเงิน 200,000บาทนั้น ก็มิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ยิ่งกว่านั้นสัญญาพิพาทยังมีข้อความหมายเหตุไว้ท้ายสัญญาว่า "เพลงสุรพล สมบัติเจริญ ร้องไว้ขอให้เป็นสุรชัย สมบัติเจริญ ร้องแต่ถ้าหากว่าจะนำไปให้นักร้องอื่นร้อง ทางห้างจะมีการขอกันในกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษร" โดยมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ ซึ่งความหมายของข้อความตามหมายเหตุดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่า โจทก์ยังมิได้มีลิขสิทธิ์ในงานเพลงรวมทั้งเพลงพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายสัญญาพิพาทในฐานะเป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดเพราะหากมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามสัญญาพิพาท โจทก์ก็ย่อมได้สิทธิในงานเพลงนั้นทั้งหมด ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องไปตกลงขอใช้สิทธิในลิขสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 เป็นกรณีพิเศษกันอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7138/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้เดิมระงับ โจทก์ฟ้องซื้อขายจึงไม่มีผล
จำเลยได้ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาบางส่วน ส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นเวลา 48 เดือน ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าซื้อโดยบันทึกสัญญาไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่า ต้องการจะเปลี่ยนจากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อและคู่สัญญามีเจตนาตกลงเลิกสัญญาซื้อขายกัน แล้วสมัครใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อและจะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป สัญญาซื้อขายจึงสิ้นผลผูกพันโจทก์และจำเลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นอันระงับไป ด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ แต่คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาซื้อขายซึ่งระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่จากจำเลยได้ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ ตัดสิทธิโจทก์ที่จะทำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6211/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประสานงานเสนอขายที่ดินให้หน่วยงานรัฐมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินให้เสนอขายที่ดินแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์คลังพัสดุและได้มีการยื่นซองประกวดราคาแล้ว ต่อมาจำเลยได้ขอให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการขายที่ดินดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินให้โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท ในวันที่ทำการโอนขายที่ดินให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลังจากนั้นจำเลยได้ทำข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าใช้จ่ายแก่โจทก์เพิ่มเป็นเงินจำนวน 8,000,000 บาท ในที่สุดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้เสนอขาย แต่ในการจัดซื้อที่ดิน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องปฏิบัติไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ. ศ. 2497 และข้อบังคับที่ออกสืบเนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าว การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรอยู่ในฐานะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีโอกาสเหนือกว่าเอกชนรายอื่นในการเสนอขายที่ดินให้แก่รัฐวิสาหกิจด้วยกัน ได้ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินดังกล่าวให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จึงมีความหมายยิ่งกว่าการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงธุรกิจ เมื่อโจทก์และ ศ. ซึ่งเป็นประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต่างเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการบริหารและยุติธรรมของวุฒิสภาด้วยกันโดยโจทก์ได้รับเลือกจาก ศ. ให้เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ดังนั้นสายสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ศ. จึงผูกพันลึกซึ้งยิ่งกว่าการรู้จักกันโดยปกติธรรมดาทั่วไป อาจทำให้เอกชนรายอื่นที่ต้องเสนอราคาแข่งขันกับจำเลย ตกเป็นผู้เสียเปรียบจำเลย ทั้งยังกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐที่อาจต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อที่ดินในราคาที่ขาดการแข่งขันตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพที่ดินนั้น ถือได้ว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์กรของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารราชการในองค์กรของรัฐ จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินตามที่จำเลยจะให้เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้ของสัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์: การติดตั้งระบบสายสัญญาณเป็นหน้าที่ของจำเลย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสัญญา
โจทก์ส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขาย จำเลยรับสิ่งของไว้แล้วแต่ยังไม่ตั้งคณะกรรมการตรวจรับเพราะยังไม่สามารถทดสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เนื่องจากยังไม่มีการติดตั้งระบบสัญญาณและระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อยซึ่งถ้าพิจารณาเฉพาะข้อความตามสัญญาซื้อขายแล้วจะเห็นว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบในการส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งให้แล้วเสร็จจนกว่าจะใช้งานได้รวมถึงการติดตั้งระบบสายสัญญาณและระบบไฟฟ้าจนกว่าจะทดลองเครื่องคอมพิวเตอร์จนใช้งานได้ด้วย แต่ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือจ้างโจทก์ให้ติดตั้งระบบสายสัญญาณและสายไฟฟ้าสำหรับติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เห็นเจตนารมณ์ที่แท้จริงของคู่สัญญาได้ว่า ตามสัญญาซื้อขายนั้นมีความหมายเพียงโจทก์จะต้องส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วนำมาติดตั้งคือการมาตั้งเครื่องและเชื่อมโยงต่อเครื่องเข้ากับระบบสายสัญญาณและสายไฟฟ้าที่ฝ่ายจำเลยจะต้องทำเตรียมไว้ให้พร้อม ซึ่งโจทก์และจำเลยเคยทำสัญญาซื้อขายให้ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะเช่นเดียวกับสัญญาในคดีนี้ โดยจำเลยต้องว่าจ้างโจทก์ให้ติดตั้งระบบสัญญาณและระบบไฟฟ้า เมื่อโจทก์ส่งมอบแล้วติดตั้งให้ทดลองล่าช้าจำเลยก็มิได้ปรับโจทก์แต่ประการใดจึงทำให้เห็นเจตนารมณ์ของคู่สัญญาได้ชัดเจนขึ้นว่ามีการทำสัญญาซื้อขายโดยไม่ได้รวมถึงการติดตั้งระบบสัญญาณและระบบไฟฟ้าเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในกำหนดสัญญาจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงมิอาจหักค่าปรับตามสัญญาซื้อขาย
แม้จำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะปรับได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยปรับได้บางส่วน โจทก์ไม่อุทธรณ์ประเด็นนี้จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่อาจฎีกาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884-5885/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, หักกลบลบหนี้, เบี้ยปรับสูงเกินไป, การบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดในสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายระบุว่าในวันทำสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1ได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 มาวางไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา หลักประกันนี้โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญา ดังนั้น หนังสือค้ำประกันจึงเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางไว้เผื่อความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดชำระเงินตามจำนวนในหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ด้วยนั้นไม่ถูกต้อง
สัญญาซื้อขายมีข้อตกลงที่ยินยอมให้โจทก์ปรับจำเลยที่ 1เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่โจทก์ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา และในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ต้องถูกปรับเป็นรายวันนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและคงปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยได้กรณีมิใช่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจะไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับ
ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระราคายางแอสฟัลต์ให้แก่จำเลยที่ 1 กับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระค่าปรับและค่าเสียหายให้แก่โจทก์เกิดจากสัญญาซื้อขายรายเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้นที่โจทก์ขอหักราคายางแอสฟัลต์ที่ส่งมอบบางส่วนออกจากค่าปรับและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด จึงไม่ใช่เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 วรรคหนึ่งแต่เพื่อความสะดวกแก่การบังคับตามคำพิพากษา จึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืม, หักกลบลบหนี้รายได้, ดอกเบี้ยทบต้น, การคิดดอกเบี้ยถูกต้อง, ค่าทนายความ
จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์และโจทก์ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้บริหารหน่วยงานขายประกันชีวิตของโจทก์แก่ผู้ขอเอาประกันชีวิต โดยจำเลยได้รับเงินเดือนและแบ่งปันผลประโยชน์จากเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตจากลูกค้าที่จำเลยขายได้ เหลือรายได้สุทธิโจทก์ต้องจ่ายให้จำเลยโดยหักกลบลบหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ค้างชำระ ดังนี้ เมื่อคำให้การจำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมจนถึงวันที่ 16 มกราคม2537 เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยทบต้นถึงวันฟ้อง แสดงว่าหนี้เงินที่ค้างชำระคิดถึงวันที่ 16 มกราคม 2537 แต่เงินรายได้ของจำเลยเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2539 เมื่อโจทก์รับว่าจำเลยจะต้องนำเงินรายได้ของจำเลยหักกลบลบหนี้ที่จำเลยค้างชำระให้โจทก์ก่อนเช่นนี้จำเลยย่อมมีสิทธินำเงินรายได้ดังกล่าวหักกลบลบหนี้ที่ค้างชำระตามฟ้องได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกให้ชำระต้นเงินกู้ค้างชำระเท่านั้น ส่วนหนี้ค้างชำระอื่น ๆ เช่น การเบิกเงิน เป็นต้น เป็นยอดหนี้ค้างชำระภายหลังที่โจทก์คิดยอดหนี้เงินกู้ตามฟ้องแล้วเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวมาด้วย โจทก์จะนำยอดหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยขอให้นำมาหักกลบลบหนี้กับยอดหนี้ตามฟ้องไม่ได้
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 5 จะกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการเรียกร้องทวงถามในกรณีที่จำเลยผิดสัญญา แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการทวงถามไปอย่างไร ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ชอบแล้ว
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 167และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติให้ศาลต้องสั่ง ที่หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 3 วรรคสองและข้อ 5 ระบุให้ผู้กู้ยืมต้องรับผิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินคดีและการบังคับการชำระหนี้ด้วยนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการตกลงให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินค่าทนายความตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาเช่าซื้อ: ศาลวินิจฉัยดอกเบี้ยค่าเสียหายอ้างอิงอัตราตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ที่ว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัดนั้นเงินที่ผิดนัดค้างชำระ หมายถึงหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา แต่ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาไม่ใช่หนี้เงินตามที่สัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ระบุไว้จึงบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลกับผู้ขับขี่
โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ไว้กับจำเลย ตามกรมธรรม์ประกันภัยโจทก์ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลต่อการเสียชีวิตของบุคคลผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยมิได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ไว้ แม้จะเป็นการประกันชีวิตแบบหนึ่ง แต่ก็มิใช่กรณีที่ผู้ตายเอาประกันชีวิตตนเองไว้ จึงแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าประสงค์ที่จะให้ค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ตกได้แก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยโดยตรง หาใช่เป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้ตายไม่ โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ในขณะเกิดเหตุจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางตามสัญญาซื้อขาย การปิดกั้นทางเข้าออกถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยซื้อที่ดินจาก ท. เพื่อใช้ทำเป็นถนนเชื่อมหมู่บ้านจัดสรรในโครงการของจำเลย และได้ทำบันทึกต่อท้ายสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่า ยินยอมให้ ท. และที่ดินแปลงที่โจทก์ซื้อจาก ท. ใช้ทางได้ คำว่า "ให้ใช้ทาง" ย่อมหมายถึงการให้ใช้ทางได้เป็นปกติวิสัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งหากจำเลยทำทางขึ้นกว้างยาวเท่าใด คู่สัญญาก็ย่อมมีสิทธิใช้ได้ตามที่จำเลยทำขึ้น การที่จำเลยปิดกั้นทางเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ให้เหลือเพียง 1 เมตร เพื่อมิให้โจทก์นำรถยนต์เข้าไปสู่ที่ดินของตนได้ ย่อมเป็นการทำให้สิทธิการใช้ทางตามปกติวิสัยของโจทก์ลดน้อยลง ไม่สะดวกในการใช้ทางที่ทำขึ้นตามปกติวิสัยทั่ว ๆ ไป จึงเป็นการผิดสัญญา
of 86