พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ ต้องพิสูจน์ขอความช่วยเหลือแต่ไม่ได้รับ
เหตุที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ให้มีความจำเป็นเพราะขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต แล้วผู้ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้รับ และผู้รับอยู่ในฐานะที่จะให้ได้โดยไม่เดือดร้อน แล้วผู้รับปฏิเสธที่จะให้นั้น การที่จำเลยจะขายที่ดินที่โจทก์ยกให้แต่ถูกโจทก์ห้ามปราม จำเลยจึงไปอยู่เสียที่อื่นจนโจทก์ต้องไปอาศัยอยู่กับน้องสาวนั้น จะฟังว่าโจทก์ได้ขอความช่วยเหลือจากจำเลยและจำเลยอยู่ในฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือโจทก์ได้โดยไม่เดือดร้อน แล้วจำเลยไม่ช่วยเหลือหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ: ถ้อยคำไม่สุภาพและการทอดทิ้งโดยไม่ได้รับการร้องขอไม่เข้าเหตุเพิกถอน
คำฟ้องโจทก์อ้างเหตุประการแรกว่า จำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "โจทก์ยกที่ดินให้แล้ว ยังจะเอาคืน เสือกโง่เอง อย่าหวังว่าจะได้สมบัติคืนเลย" ข้อความนี้ เป็นเพียงการกล่าวถ้อยคำไม่สุภาพเท่านั้น ไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์หรือทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงแต่อย่างใด ดังนั้นแม้หากจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการให้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้กล่าวข้อความตามคำฟ้องหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาความว่า หลังจากโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ตัดโค่นไม้ยางพาราเสียและรับเงินราคาค่าไม้ยางทั้งหมดและจงใจทอดทิ้งโจทก์เสีย ไม่ยอมส่งอาหารหรือปัจจัยสี่แก่โจทก์เลย โจทก์พักอาศัยอยู่คนเดียว จำเลยที่ 1 จงใจประพฤติเนรคุณโจทก์ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อาจได้รับอันตรายแก่ชีวิต ทั้งนี้จำเลยที่ 1 สามารถดูแลปรนนิบัติโจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 ละเลยทอดทิ้งเสียทั้งที่สามารถทำได้ ตามคำฟ้องของโจทก์และการนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า โจทก์เคยขอและจำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่เข้าเหตุที่โจทก์มีสิทธิถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาความว่า หลังจากโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ตัดโค่นไม้ยางพาราเสียและรับเงินราคาค่าไม้ยางทั้งหมดและจงใจทอดทิ้งโจทก์เสีย ไม่ยอมส่งอาหารหรือปัจจัยสี่แก่โจทก์เลย โจทก์พักอาศัยอยู่คนเดียว จำเลยที่ 1 จงใจประพฤติเนรคุณโจทก์ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อาจได้รับอันตรายแก่ชีวิต ทั้งนี้จำเลยที่ 1 สามารถดูแลปรนนิบัติโจทก์ได้แต่จำเลยที่ 1 ละเลยทอดทิ้งเสียทั้งที่สามารถทำได้ ตามคำฟ้องของโจทก์และการนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า โจทก์เคยขอและจำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่เข้าเหตุที่โจทก์มีสิทธิถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาเนื่องจากผู้รับให้ไม่ช่วยเหลือผู้ให้เมื่อยากไร้ และมีมูลเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 531
โจทก์กู้เงินจาก ร. โดยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้ ร. ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เป็นเงิน 70,000 บาท และรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืนมา ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างราคา 500,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาที่ดินพิพาทสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อ 3 ถึง 4 ปี ที่แล้วไม่น้อยกว่า 7 เท่า การที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ในการที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทน และการที่ ร. ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทไว้โดยไม่ได้จดทะเบียนจำนอง ไม่ใช่กรณีที่มีภาระเกี่ยวกับตัวที่ดินพิพาท การให้ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน จำเลยที่ 1 บอกปัดไม่ยอมให้เงินโจทก์ซื้อยารักษาตัวอันเป็นการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยที่ 1 ยังสามารถจะให้ได้ โจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยที่ 1 ได้แต่เพียงผู้เดียว
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้จากจำเลยที่ 1 ได้แต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่เลี้ยงดูและละเลยดูแลผู้ให้ การถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(3)
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยประพฤติเนรคุณกล่าวคือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 เป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมให้อาหารเลี้ยงดูโจทก์อย่างที่เคยปฏิบัติ โดยจำเลยนำอาหารไปวางไว้ห่างจากที่โจทก์นั่งอยู่แล้วก็หนีไป ไม่รออยู่ดูแลว่าโจทก์จะได้รับประทานหรือไม่ บางครั้งกว่าโจทก์จะคลำไปถูกอาหารที่จำเลยนำมาวางไว้ก็ปรากฏว่าสุนัขกินอาหารหมดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับประทานอาหาร บางวันโจทก์ต้องเรียกชาวบ้านข้างเคียงขออาหารมารับประทานเพื่อยังชีพ นอกจากนี้จำเลยไม่สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ ปล่อยให้โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานต่าง ๆ ในเวลาเจ็บป่วยการเข้าห้องส้วมห้องน้ำและการหลับนอน ดังนี้ เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวหาจำเลยว่าไม่ได้เอาใจใส่ในการให้อาหารโจทก์รับประทานและมิได้สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ มิใช่กรณีตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ.มาตรา 531 (3) ที่บัญญัติว่า ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนการให้ตามมาตรา 531 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากเหตุเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 531(3) ต้องเป็นการปฏิเสธการเลี้ยงดู ไม่ใช่การละเลยการดูแล
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยประพฤติเนรคุณกล่าวคือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 เป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมให้อาหารเลี้ยงดูโจทก์อย่างที่เคยปฏิบัติ โดยจำเลยนำอาหารไปวาง ไว้ห่างจากที่โจทก์นั่งอยู่แล้วก็หนีไป ไม่รออยู่ดูแลว่าโจทก์จะ ได้รับประทานหรือไม่ บางครั้งกว่าโจทก์จะคลำไปถูกอาหาร ที่จำเลยนำมาวางไว้ก็ปรากฏว่าสุนัขกินอาหารหมดแล้วโจทก์จึงไม่ได้รับประทานอาหาร บางวันโจทก์ต้องเรียกชาวบ้านข้างเคียงขออาหารมารับประทานเพื่อยังชีพ นอกจากนี้จำเลยไม่สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ ปล่อยให้โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานต่าง ๆในเวลาเจ็บป่วยการเข้าห้องส้วมห้องน้ำและการหลับนอน ดังนี้เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวหาจำเลยว่าไม่ได้เอาใจใส่ในการให้อาหารโจทก์รับประทานและมิได้สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์มิใช่กรณีตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3) ที่บัญญัติว่า ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนการให้ตามมาตรา 531(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาท และไม่เลี้ยงดูบิดา
เมื่อ 16 ปีก่อน โจทก์ได้ยกที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาโจทก์มีฐานะยากจนไม่มีที่อยู่อาศัยจำเลยมีฐานดีพอจะเลี้ยงดูโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ไปขอที่ดินเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย จำเลยพูดว่ากูไม่ให้มึงหรอกให้มึงไปขอทานลูกคนอื่น ต่อไปภายข้างหน้าเลิกนับถือเป็นพ่อลูกกันและไล่ให้โจทก์ออกจากบ้านการที่จำเลยกล่าวว่าให้มึงไปขอทานลูกคนอื่นต่อไปภายข้างหน้าเลิกนับถือเป็นพ่อลูกกันไม่เพียงแต่เป็นถ้อยคำที่ไม่สุภาพเท่านั้น แต่เป็นถ้อยคำที่รุนแรงซึ่งบุตรไม่พึงกล่าวต่อบิดา ทั้งจำเลยยังไล่โจทก์ออกจากบ้านอีกด้วยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง นอกจากนี้การที่โจทก์ไปขอปลูกบ้านอยู่ในที่ดินจำเลย จำเลยกลับว่ากูไม่ให้มึงหรอกและเลิกนับถือโจทก์เป็นบิดาจึงเป็นการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้อีกด้วย ดังนี้ โจทก์ย่อมถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยผู้รับประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)(3) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรไม่เลี้ยงดูผู้ให้ แม้ผู้ให้ไม่ยากไร้และบุตรมีภาระอื่น
โจทก์ชราภาพมากแล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อย มีบุตรหลายคนช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูไม่เดือดร้อน ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ ทั้งจำเลยเองก็เป็นลูกจ้างอยู่ที่กรุงเทพมหานครได้เงินเดือนเพียง 600 บาท มีบุตร 1 คน ต้องเลี้ยงดู ที่ดินที่ได้รับการยกให้จำเลยก็มอบให้ ก. ทำกิน โดย ก. นำข้าวที่ได้แบ่งไปเลี้ยงดูโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะเป็นบุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์แต่มิได้อยู่เลี้ยงดูโดยไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ปล่อยให้พี่น้องคนอื่นเลี้ยงดูแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณอันจะเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากผู้รับไม่ให้ความช่วยเหลือผู้ให้ยากไร้ และประเด็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยแจ้งตำรวจให้จับ ฮ.และช. เป็นเรื่องจำเลยลองแกล้งแจ้งความเพื่อให้โจทก์ อายไม่กล้าใช้ใครไปเก็บมะม่วงอีกและให้ตำรวจจับโจทก์ในฐานะจ้างวานใช้ด้วยนั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น โดยโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์ใช้ให้ ฮ. ไปเก็บมะม่วง จำเลยแจ้งความให้ตำรวจจับโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างในฟ้องดังฎีกาของโจทก์ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้โจทก์จะชรามากแล้ว แต่โจทก์มีเงินฝากธนาคารออมสินมีรายได้จากการให้เช่านาเนื้อที่ 7 ไร่ปีละประมาณ700-1,500 บาท มีรายได้จากการขายมะพร้าววันละ 30-40 บาท รวมเป็นรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 บาทเศษ. ฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่ตกเป็นผู้ยากไร้ถึงขนาดที่ไม่มีสิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีพโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน การให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3)
แม้โจทก์จะชรามากแล้ว แต่โจทก์มีเงินฝากธนาคารออมสินมีรายได้จากการให้เช่านาเนื้อที่ 7 ไร่ปีละประมาณ700-1,500 บาท มีรายได้จากการขายมะพร้าววันละ 30-40 บาท รวมเป็นรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 บาทเศษ. ฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่ตกเป็นผู้ยากไร้ถึงขนาดที่ไม่มีสิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีพโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน การให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอถอนคืนการให้เนื่องจากผู้รับไม่เลี้ยงดูและประพฤติเนรคุณ ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องและฐานะผู้ยากไร้ของผู้ฟ้อง
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยแจ้งตำรวจให้จับ ฮ. และ ช. เป็นเรื่องจำเลยลองแกล้งแจ้งความเพื่อให้โจทก์อายไม่กล้าใช้ใครไปเก็บมะม่วงอีก และให้ตำรวจจับโจทก์ในฐานะจ้างวานใช้ด้วยนั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น โดยโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า โจทก์ใช้ให้ ฮ. ไปเก็บมะม่วง จำเลยแจ้งความให้ตำรวจจับโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างในฟ้องดังฎีกาของโจทก์ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้โจทก์จะชรามากแล้ว แต่โจทก์มีเงินฝากธนาคารออมสินมีรายได้จากการให้เช่านาเนื้อที่ 7 ไร่ปีละประมาณ 700 - 1,500 บาทมีรายได้จากการขายมะพร้าววันละ 30 - 40 บาท รวมเป็นรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 บาทเศษ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่ตกเป็นผู้ยากไร้ถึงขนาดที่ไม่มีสิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีพโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3)
แม้โจทก์จะชรามากแล้ว แต่โจทก์มีเงินฝากธนาคารออมสินมีรายได้จากการให้เช่านาเนื้อที่ 7 ไร่ปีละประมาณ 700 - 1,500 บาทมีรายได้จากการขายมะพร้าววันละ 30 - 40 บาท รวมเป็นรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 บาทเศษ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะที่ตกเป็นผู้ยากไร้ถึงขนาดที่ไม่มีสิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีพโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3637/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกปัดการเลี้ยงดู และการยกทรัพย์สินให้บุตรเขย-บุตร แล้วขอคืนบางส่วน ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องข้อหาใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นศาล
โจทก์ยกที่ดิน 30 ไร่ให้แก่จำเลยทั้งสอง และจำเลยทั้งสองได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์มาประมาณ 20 ปี โจทก์ออกจากบ้านจำเลยทั้งสองไปโดยมิใช่ความผิดของจำเลยทั้งสองและขอแบ่งที่ดิน 6 ไร่ เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่งที่ดินดังกล่าวให้โจทก์จึงมิใช่กรณีที่จำเลยทั้งสองบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้
ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยทั้งสองแจ้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านให้จับโจทก์โดยกล่าวหาว่าโจทก์ลักผ้าซิ่นไหม ซึ่งตามประเพณีอีสานถือว่าหมิ่นประมาทโจทก์นั้น ฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวถึงความข้อนี้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยทั้งสองแจ้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านให้จับโจทก์โดยกล่าวหาว่าโจทก์ลักผ้าซิ่นไหม ซึ่งตามประเพณีอีสานถือว่าหมิ่นประมาทโจทก์นั้น ฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวถึงความข้อนี้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249