คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พันธุมะโอภาส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน/หวยหุ้น) เป็นกรรมต่างกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษทั้งสองฐานได้
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) ซึ่งถือเอาผลของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ และจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ซึ่งถือเอาเลขท้าย 2 ตัว ระหว่างจุดทศนิยมของดัชนีหุ้นเวลาเปิดและปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย งวดประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ เมื่อข้อหาความผิด ตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริง ย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ซึ่งการที่จำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) โดยถือผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ และจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ซึ่งถือเอาเลขท้าย 2 ตัว ระหว่างจุดทศนิยมของดัชนีหุ้นเวลาเปิดและปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบเป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้แม้จำเลยจะเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) และการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ในคราวเดียวกัน และเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยตามที่ปรากฏในคำฟ้องจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งจะต้องลงโทษจำเลยเพียงแต่กระทงเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าต้องพิจารณาเหตุผลของการแยกกันอยู่ การบอกให้จำเลยย้ายออกไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
โจทก์กับจำเลยทะเลาะกันรุนแรงถึงขนาดโจทก์ตบตีจำเลยและโจทก์บอกให้จำเลยย้ายออกไปจากบ้านพักที่แฟลตตำรวจไปอยู่ที่บ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์และจำเลย โดยโจทก์โทรศัพท์แจ้งบิดาจำเลยให้มารับจำเลยไป จำเลยได้พาบุตรสาวของโจทก์และจำเลยไปอยู่ด้วย แม้โจทก์และจำเลยจะไม่ได้ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี การกระทำของจำเลยยังไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งร้างโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) อันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายออกจากบ้านพักโดยได้รับคำบอกให้ย้าย ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้างเพื่อฟ้องหย่าได้
จำเลยซึ่งเป็นภริยาย้ายออกจากบ้านพักของโจทก์ซึ่งเป็นแฟลตตำรวจไปอยู่บ้านที่อำเภอน้ำปาดเนื่องจากโจทก์บอกให้ย้ายไป โดยโจทก์โทรศัพท์แจ้งบิดาจำเลยให้มารับจำเลยไป ทั้งบ้านที่อำเภอน้ำปาดก็เป็นที่ดินของโจทก์และจำเลยอันเป็นสินสมรสร่วมกัน การกระทำของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งร้างโจทก์ โจทก์จึงอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเข้าร่วมเป็นโจทก์: กรรมการบริษัทต้องกระทำการในนามบริษัท ไม่ใช่ส่วนตัว
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยออกเช็คให้แก่บริษัท ส. โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นและในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ผู้เสียหายในคดีนี้คือบริษัท ส. ไม่ใช่นาย ส. แม้นาย ส. จะเป็นกรรมการของบริษัท ส. แต่การกระทำการแทนบริษัทจะต้องลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท จึงจะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ เมื่อปรากฏตามคำร้องของนาย ส. ว่าเป็นการยื่นคำร้องในฐานะส่วนตัว ดังนั้นนาย ส. จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้นาย ส. เข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาต่อมา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การพิพากษายกฟ้องเนื่องจากขาดเขตอำนาจศาล เป็นเหตุต้องห้ามมิให้ฎีกา
แม้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้อง และต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก็ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง โดยอาศัยบุริมสิทธิและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองโดยปลอดจำนองมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องตามจำนวนภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้อง เป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง ซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 289 ก็ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิของผู้รับจำนองในการรับชำระหนี้จากการบังคับคดีทรัพย์สินจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 288 และ 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย" ส่วนมาตรา 289 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าบุคคลใดชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นได้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก็ดีหรืออาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิก็ดี บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์..." และ ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่" เมื่อพิเคราะห์ตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดแล้ว การที่ผู้ร้องขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองโดยปลอดจำนองมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องตามจำนวนภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้อง ถือได้ว่าเป็นการที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง ซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ก็ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา
of 11