พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13312/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจสั่งปล่อยตัวผู้กระทำผิดโดยมิชอบ แม้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ยินยอม ถือเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำความผิดและมีอำนาจสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำตัวผู้ถูกจับกุมส่งต่อพนักงานสอบสวน หรือสั่งปล่อยตัวผู้ถูกจับหากเห็นว่าเป็นการจับผิดตัวหรือผู้ถูกจับกุมไม่ได้กระทำความผิดหรือการกระทำยังไม่เป็นความผิด จำเลยทราบดีว่าคนต่างด้าวที่ถูกจับกุมเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยไม่มีอำนาจสั่งปล่อยได้ แต่กลับสั่งการในฐานะผู้บังคับบัญชาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปล่อยตัวผู้กระทำความผิดและรถของกลางโดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11902/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ต้องยื่นแก้ไขก่อนกำหนด หากไม่เป็นเหตุสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจ
การแก้ไขข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงที่เสนอต่อศาลแต่แรก ผู้คัดค้านต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นได้ก่อนนั้น หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (3) และ 180 คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน หากผู้คัดค้านจะยื่นคำร้องขอแก้ไขพินัยกรรมท้ายคำคัดค้าน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำคัดค้านจึงต้องยื่นก่อนวันสืบพยานในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 จึงล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าเพิ่งค้นพบพินัยกรรมฉบับใหม่ในเดือนมีนาคม 2552 หากผู้คัดค้านประสงค์จะเปลี่ยนพินัยกรรมตามคำคัดค้านเป็นพินัยกรรมฉบับใหม่ก็สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ขณะนั้น การที่ผู้คัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องภายหลังทราบผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของ ม. ตามพินัยกรรมท้ายคำคัดค้าน และมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่ามีเหตุสมควรและไม่ใช่กรณีขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านชอบแล้ว
แม้ผู้คัดค้านจะมีคำขอให้มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โดยมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ร่วมกับผู้ร้องก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าการแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
แม้ผู้คัดค้านจะมีคำขอให้มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โดยมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ร่วมกับผู้ร้องก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าการแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20896/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และการอนุญาตให้ทายาทเข้าเป็นคู่ความแทนในคดีแพ่ง
เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) สำหรับคดีส่วนแพ่งที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ป. เป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยผู้ตาย จึงอนุญาตให้ ป. เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14941/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้กับการโอนสิทธิเรียกร้อง: การชำระหนี้ที่ถูกต้องและการปฏิเสธการชำระหนี้ที่ไม่สมเหตุผล
การโอนสิทธิเรียกร้องจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้โอนมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือบุคคลที่สาม และไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวด้วยตนเอง จึงขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่ผู้รับโอนสิทธิ แต่ตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ได้โอนภาระการชำระหนี้ของตนที่มีต่อโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระแทน ส่วนการโอนกิจการและที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ให้แก่จำเลยที่ 1 ก็หาใช่สิทธิอันจะพึงเรียกร้องให้โจทก์ที่ 1 ต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอนกิจการและที่ดินในโครงการจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. จึงหามีสิทธิอันใดที่จะเรียกร้องให้โจทก์ที่ 1 ทำการค้ำประกันค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในกิจการที่รับโอนมาได้ กรณีตามบันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่เห็นได้ว่าเป็นการแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้เท่านั้น หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงหามีสิทธิปฏิเสธไม่ชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการรับผิดชำระหนี้ของผู้รับโอนสิทธิ
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 ในค่าก่อสร้างอาคารให้แก่โจทก์ ซึ่งขณะทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารให้แก่จำเลยที่ 2 และยังไม่ทราบจำนวนค่าวัสดุก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากโจทก์ จึงทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องไว้จำนวน 10,250,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากจำเลยที่ 2 ทั้งหมดตามสัญญาจ้างเผื่อไว้ โดยสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ข้อ 2 ระบุว่าหากเงินที่ได้รับโอนตามสิทธิเรียกร้องเกินกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ ให้โจทก์คืนส่วนที่เกินแก่จำเลยที่ 1 ในวันที่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องตามจำนวนค่าวัสดุก่อสร้างที่ซื้อไปจากโจทก์เท่านั้น แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ข้อ 3 จะมีข้อตกลงว่า หากเกิดความเสียหายใดๆ แก่ผู้รับโอนอันเนื่องมาจากการรับโอนสิทธิในการรับเงินรายนี้ ผู้โอนยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับโอนทั้งสิ้นก็ตาม ก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันยอมชำระหนี้แก่โจทก์แม้จะได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงผิดแผกแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมายและไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีหรือเป็นข้อตกลงที่ต้องห้ามตามกฎหมายจึงย่อมมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องก็สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยจำเลยที่ 2 ไม่อาจโต้แย้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องหย่าไม่ระงับแม้มีการยินยอมเรื่องชู้สาว หากไม่มีเจตนาที่จะกลับไปอยู่กินฉันสามีภริยา
แม้โทรสารที่โจทก์ส่งมายังจำเลยที่ 1 ข้อความบางตอนมีรายละเอียดเกี่ยวกับการหย่าว่าการหย่าครั้งนี้เป็นการหย่าที่ยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการฟ้องหย่าเรื่องชู้สาวระหว่างจำเลยทั้งสอง แต่กรณีที่จะเป็นการกระทำอันแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ให้อภัยการกระทำของจำเลยทั้งสองและทำให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปนั้นต้องได้ความว่าคู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกลับคืนสู่สถานะในทางครอบครัวดังเดิม คือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีเจตนากลับมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป การที่โจทก์ขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินต่าง ๆ ของโจทก์ออกจากบ้านที่เคยอยู่กินกับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะอยู่กินฉันสามีภริยาดังเดิมต่อไปอีก นอกจากนี้โจทก์ยังได้แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่า ตามพฤติการณ์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันดังเดิมต่อไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยอันจะเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ต่ำกว่า 50,000 บาท และการรับฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3 ตำบลบางเลน (บางยุง) อำเภอบางเลน (บางปลา) จังหวัดนครปฐม (เมืองนครชัยศรี) และเรียกค่าเสียหาย โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทคือ 16,100 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์และยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาต่อไป ดังนี้ เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฎีกา กับทั้งไม่ใช่กรณีที่จะรับรองให้ฎีกาได้ การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกา จึงไม่ชอบ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งต้องห้าม รวมทั้งศาลชั้นต้นรับรองให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริง ล้วนแต่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง ทำให้โจทก์เข้าใจผิดว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเห็นควรให้โอกาสแก่โจทก์ในการดำเนินการขอให้รับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสาม และให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19406/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องความผิดพยายามข่มขืนฯ ย่อมทำให้สิทธิในการฟ้องความผิดทำร้ายร่างกายที่เกี่ยวเนื่องกันระงับไปด้วย
ผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาพยายามข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย พฤติการณ์ของจำเลยที่ใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก็เพียงเพื่อให้ผู้เสียหายเกรงกลัวและยอมให้จำเลยข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก ประกอบมาตรา 80 ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในข้อหาพยายามข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้ายจึงย่อมมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกายระงับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18893/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: ต้องได้รับอนุญาตจากศาลหรือมีมติร่วมกัน หากฟ้องเอง ศาลต้องยกฟ้อง
ป.พ.พ. มาตรา 1726 บัญญัติว่า "ถ้าผู้จัดการมรดกมีหลายคน การทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นต้องถือเอาเสียงข้างมาก...ถ้าเสียงเท่ากัน เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด" ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามคำสั่งศาล การฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกประการหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์แต่ผู้เดียวไม่มีอำนาจยื่นฟ้องเพียงลำพัง แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นปฏิปักษ์และเสียหายต่อกองมรดกก็ตาม เพราะโจทก์สามารถยื่นคำร้องต่อศาลแสดงเหตุขัดข้องเพื่อขออนุญาตฟ้องหรือขอให้ศาลถอดถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ได้ นอกจากนี้โจทก์อาจใช้สิทธิความเป็นทายาทฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวเพื่อให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18281/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉี่ยวชนทางถนน: ความรับผิดทางอาญาแม้ข้อกล่าวหาไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
แม้ข้อเท็จจริงปรากฏในทางพิจารณาว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อโดยประมาทเฉี่ยวชนถูกไหล่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 1 ตกจากรถ แล้วรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมที่ 2 เสียหลักล้มลง แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเนื่องจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อโดยประมาทเฉี่ยวชนถูกโจทก์ร่วมที่ 1 แต่เมื่อผลคือโจทก์ร่วมที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นการแตกต่างกันในข้อที่มิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยได้