คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พันธุมะโอภาส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ถือครองโดยไม่ทราบข้อเท็จจริง กรณีถูกหลอกใช้เอกสารปลอม
คดีนี้ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้ในการเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่ออ่านฟ้องทั้งหมดแล้ว จำเลยถูกผู้อื่นแอบอ้างและใช้เอกสารปลอมในการจดทะเบียนรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยจำเลยไม่มีเจตนารับโอนเป็นของตน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เพียงพอโดยไม่จำต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง กรณีเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายขึ้นปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความแล้วมีคำวินิจฉัยชี้ขาดไป เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่า มีผู้แอบอ้างและใช้เอกสารปลอมขอกู้ยืมเงินจากโจทก์แล้วนำเงินของโจทก์ไปซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งซื้อมาด้วยเงินของโจทก์มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทั้งจำเลยก็มิได้กล่าวอ้างความเป็นเจ้าของหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท จึงชอบด้วยความเป็นธรรมที่โจทก์จะเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้เสมือนเป็นการติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนแทนเงินที่โจทก์ต้องสูญเสียไป เพื่อเยียวยาความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำอันมิชอบ โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่ไม่อาจเรียกให้จำเลยชดใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยประกันภัยตามฟ้องได้เพราะจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการครอบครองทรัพย์สินหลังการขายทอดตลาด แม้ใช้มาตรา 309 ตรีได้
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด แม้โจทก์จะสามารถดำเนินการบังคับขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยการยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิของโจทก์ในการที่จะใช้สิทธิทางศาลโดยการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่อยู่ในทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยละเมิด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกคำบังคับตามมาตรา 309 ตรี และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, ค่าเช่าค้างชำระ, การบอกเลิกสัญญา, การขับไล่, ค่าภาษีโรงเรือน, การรับผิดร่วมกัน
สัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนให้แก่ทางราชการแทนโจทก์ ซึ่งกำหนดให้ชำระทุกปีตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีดังกล่าวตามกำหนดย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญาของโจทก์ โดยหาจำต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีในส่วนดังกล่าวให้แก่ทางราชการก่อนนำคดีมาฟ้องหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดค่าภาษีโรงเรือนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลจากจำเลยที่นำไปสู่การตรวจค้นและยึดของกลาง ไม่ถือเป็นข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
หลังจากจับกุมจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 1 ยอมรับว่ารับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามี และจำเลยทั้งสองพักอาศัยอยู่ที่ห้องพักในอพาร์ตเมนต์ ทั้งได้ให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่ที่ห้องพักดังกล่าวพร้อมกับพาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 2 ที่อพาร์ตเมนต์และตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนมาเป็นของกลางอีก 4,000 เม็ด แต่ของกลางดังกล่าวถูกซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋ากางเกงที่แขวนอยู่และที่ตู้เสื้อผ้าภายในห้องนอนของจำเลยทั้งสองเอง ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจต้องติดตามไปจับกุมจำเลยที่ 2 กับตรวจค้นที่ห้องพักของจำเลยทั้งสองและตรวจพบของกลางได้โดยไม่ยาก ดังนี้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามชิงทรัพย์ด้วยอาวุธปืน: การกระทำไม่สำเร็จเพราะเจตนาแค่ค้นหาสินค้า
จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ขู่เข็ญผู้เสียหายว่าอย่าส่งเสียงและให้ส่งของมีค่าให้ เมื่อผู้เสียหายส่งกระเป๋าสะพายให้และพูดว่า จะเอาอะไรก็เอาไปขอบัตรประจำตัวประชาชนไว้ จำเลยค้นกระเป๋าสะพายแล้วเห็นว่าไม่มีของมีค่าจึงส่งกระเป๋าสะพายคืนให้ และคลำที่คอผู้เสียหายเพื่อหาสร้อยคอ ผู้เสียหายบอกจำเลยว่าไม่มีของมีค่าติดตัวมา จำเลยจึงปล่อยตัวผู้เสียหายแล้วเดินหนีไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ประสงค์จะแย่งเอากระเป๋าสะพายของผู้เสียหายไปเป็นของตน เพียงแต่ต้องการค้นหาของมีค่าในกระเป๋าสะพายเท่านั้น มิฉะนั้นเมื่อจำเลยได้กระเป๋าสะพายแล้วก็ต้องหลบหนีไปทันทีโดยไม่ต้องเปิดดูและคืนกระเป๋าสะพายให้ผู้เสียหาย ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้ของมีค่าตรงตามเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการชิงทรัพย์สำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่, การผ่อนชำระหนี้, และความรับผิดของลูกหนี้ร่วม/ผู้ค้ำประกัน
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เพียงกำหนดเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้และระยะการชำระหนี้ใหม่เท่านั้น ส่วนข้อตกลงอื่นๆ ยังคงเป็นไปตามสัญญาเดิมและไม่มีข้อตกลงใดแสดงว่าโจทก์กับจำเลยมีเจตนาให้หนี้กู้ยืมตามสัญญาเดิมระงับแล้วมาบังคับกันใหม่ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่
เมื่อสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ข้อ 4 ให้นำเงื่อนไขและข้อตกลงตามสัญญากู้มาใช้บังคับ และเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและหนังสือกู้เงิน ข้อ 2 วรรคสาม ตกลงให้โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร และโดยมิพักต้องชี้แจงให้ผู้กู้ทราบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ได้ก่อนครบกำหนดเวลาตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โจทก์นำคดีมาฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิของโจทก์เองโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ จำเลยที่ 1 คงรับผิดชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 จะมิได้ให้การต่อสู้ใว้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
เมื่อสัญญาค้ำประกันการกู้เงิน ข้อ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 ยอมผูกพันรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ และข้อ 3 มีข้อตกลงว่า "ธนาคารยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยจะแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบหรือไม่ให้ทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป และยังผูกพันรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมอยู่ตลอดไป" แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินตกลงยกเว้นบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.
ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 มีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งอยู่ร่วมในการสอบสวนด้วยเป็นผู้ตอบคำถามพนักงานอัยการ นักสังคมสงเคราะห์แทนผู้เสียหายที่ 1 ดังฎีกาของจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยรวม 8 ปี 12 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12123/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไม่ถือเป็นการพรากตัว หากเด็กมาบ้านจำเลยโดยสมัครใจ
ผู้เสียหายทั้งสองเป็นญาติกับจำเลย บ้านของผู้เสียหายที่ 1 และบ้านของจำเลยอยู่ติดกัน ผู้เสียหายที่ 2 พักอยู่อาศัยกับผู้เสียหายที่ 1 ได้ไปที่บ้านจำเลยเป็นประจำเพื่อให้บุตรของจำเลยสอนการบ้าน การที่จำเลยฉวยโอกาสที่ผู้เสียหายที่ 2 มาที่บ้านจำเลยเพื่อให้ ธ. สอนการบ้านตามปกติ ในวันเกิดเหตุ เมื่อ ธ. สอนการบ้านเสร็จแล้วจำเลยบอกให้ ธ. ออกจากบ้าน จากนั้นจำเลยได้เรียกให้ผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปในห้องแล้วพยามยามกระทำชำเราและกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปจากบิดามารดา อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9203/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับโอนทรัพย์มรดกจากคำพิพากษาคดีอาญา - ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาท
ก. และ ส. เป็นทายาทของ ป. ผู้ตาย ได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหายักยอกทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินเดียวกับที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายนำมาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยโอนให้แก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทายาทอื่นต่อไป เมื่อความปรากฏแก่ศาลว่า ในคดีอาญาศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า การที่จำเลยที่ 2 (จำเลยคดีนี้) มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาท น่าเชื่อว่าเป็นเพียงผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมโอนหรือแบ่งทรัพย์มรดกโดยอ้างว่าเป็นของตน จึงมีเจตนาทุจริต เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เช่นนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 และแม้โจทก์และจำเลยจะเป็นจำเลยในคดีอาญาด้วยกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทของผู้ตาย ทั้งโจทก์ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกด้วย คำพิพากษาคดีอาญาจึงย่อมผูกพันโจทก์และจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาถึงที่สุดโดยฟังว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาทแทนทายาทอื่น ดังนี้ จำเลยจึงต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์พิพาทคืนแก่โจทก์ผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันทายาทอื่นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7892/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษในชั้นอุทธรณ์ และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่เพื่อประโยชน์แก่จำเลย
แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ขอให้ลดโทษและโจทก์อุทธรณ์เพียงข้อกฎหมายว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานนั้นสูงเกินไป ก็มีอำนาจกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี อันเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยตามความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ซึ่งจะเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 แต่อย่างใด
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 11