คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย พันธุมะโอภาส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13113/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชำระเงินค่าเวนคืนที่ผิดพลาด หากจ่ายเงินเข้าบัญชีที่ไม่ตรงกับชื่อผู้รับเงินในเช็ค
ที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ก. ถูกเวนคืนทางกรุงเทพมหานครจ่ายเงินค่าเวนคืนโดยจ่ายเช็คธนาคาร ก. ให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ก. เช็คระบุผู้รับเงินไว้คือโจทก์ที่ 1 กับ ก. และขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่สั่งจ่ายระบุชื่อ แม้ระหว่างชื่อของบุคคลทั้งสองมีเพียงเครื่องหมาย " , " คั่นไว้ก็ตาม ก็มีความหมายว่าธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่บุคคลทั้งสองมิใช่หมายถึงจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียว อีกทั้งเช็คมีการขีดคร่อมระบุคำว่า "A/C PAYEE ONLY" ธนาคารต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงินซึ่งมีชื่อในเช็คเท่านั้น การที่ธนาคารจำเลยที่ 1 นำเงินที่เรียกเก็บตามเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ที่ 1 หรือ ม. ย่อมเป็นความเข้าใจของธนาคารจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียวว่าสามารถกระทำได้ ทั้งๆ ที่บัญชีมีชื่อไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในเช็ค อีกทั้งธนาคารจำเลยที่ 1 ยอมให้ ม. ผู้ไม่มีสิทธิรับเงินตามเช็คเบิกถอนเงินออกไปเพียงผู้เดียว ธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามการค้าปรกติของธนาคารย่อมไม่เป็นการกระทำที่สุจริตหรือปราศจากความประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด ธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ก. ฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กล่าวในคำฟ้องว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีมูลหนี้จากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องทั้งหมดแล้วเห็นว่า เป็นการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดตามมูลหนี้ตั๋วเงิน มีอายุความ 10 ปี จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12662/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาตและเหตุผลที่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต่างพิพากษายกฟ้องโจทก์ แม้เหตุที่ยกฟ้องจะต่างกันโดยศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์อาศัยข้อเท็จจริง ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกฟ้องโดยข้อกฎหมายก็ตาม ก็ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 โจทก์ฎีกาโดยไม่ปรากฏว่ามีผู้อนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11034/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมโมฆะเมื่อพยานลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นเหตุการณ์ทำพินัยกรรม แม้พยานจะสอบถามเจตนาภายหลังก็ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ประเด็นเดียวว่า พินัยกรรมตามฟ้องปลอมหรือไม่ แต่ในคำฟ้องนอกจากจะอ้างว่าพินัยกรรมตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอมแล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องมาด้วยว่า บุคคลที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมต่างมิได้รู้เห็นขณะที่ ส. ลงลายมือชื่อในพินัยกรรม พินัยกรรมจึงตกเป็นโมฆะทั้งฉบับข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวถือเป็นการยกเอาแบบของพินัยกรรมมาเป็นข้อต่อสู้ เพื่อให้พินัยกรรมไม่มีผลใช้บังคับด้วย แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
พยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง ย่อมไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคแรก และทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไปในทันที แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมจะมาสอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง ก็ไม่มีผลทำให้การลงลายมือชื่อในพินัยกรรมที่ไม่ชอบหรือพินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับกลายเป็นการลงลายมือชื่อที่ชอบทำให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11034/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะภาพพินัยกรรม: การลงลายมือชื่อพยานโดยไม่เห็นเหตุการณ์ทำพินัยกรรม
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า พินัยกรรมปลอมหรือไม่โดยมิได้กำหนดประเด็นว่า พินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ปัญหาเรื่องแบบของพินัยกรรมเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และโจทก์ก็บรรยายฟ้องมาด้วยว่า พยานในพินัยกรรมไม่รู้เห็นขณะทำพินัยกรรมอันเป็นการยกเรื่องแบบพินัยกรรมมาเป็นข้อต่อสู้ด้วย เมื่อมีข้อเท็จจริงดังกล่าวในการดำเนินกระบวนการพิจารณา ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคแรก บัญญัติกำหนดแบบของพินัยกรรมแบบธรรมดาไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมแบบที่เป็นหนังสือนั้นต้องมีพยานอย่างน้อยสองคนและพยานจะต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่พยานไม่ว่าคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนในพินัยกรรมลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยไม่เห็นเหตุการณ์ขณะทำพินัยกรรม แต่มาลงลายมือชื่อในภายหลัง ก็ย่อมไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวและทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไปในทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 แม้ต่อมาภายหลังพยานในพินัยกรรมมาสอบถามผู้ทำพินัยกรรมและได้ความว่าผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรมจริง ก็ไม่มีผลทำให้พินัยกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับกลายเป็นพินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10912/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การเพิกถอนขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด หากพ้นกำหนดสิทธิขาด
คำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งประกาศแจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 2 ทราบ การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าการขายทอดตลาดฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในบังคับมาตรา 296 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวและเสนอบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน รายงานต่อศาลเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 ว่า ได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและจ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีไปแล้ว การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงตามมาตรา 296 วรรคสี่ (2) การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 13 ธันวาคม 2550 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเกิน 250 มิลลิลิตร ถือเป็นมีไว้เพื่อจำหน่ายตามกฎหมายยาเสพติด
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่า ยาแก้ไออันเป็นตำรับยาแผนปัจจุบันที่มีโคเดอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอันถือเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวน 7 ขวด ของกลาง มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร และตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 (3) บัญญัติว่า ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 คือ ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มาเป็นส่วนผสมของตำรับยาแล้ว ไม่ว่ายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จะมีจำนวนเท่าใด ย่อมต้องถือว่าตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ทั้งสิ้น การที่จะพิจารณาว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวนมากน้อยเพียงใดที่จะต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) จึงต้องถือตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 นั้นเองว่า เกิน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูล หรือไม่ ดังนี้ เมื่อยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมของกลางอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร เกิน 250 มิลลิลิตร จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีครอบครองยาแก้ไอ (โคเดอีน) เกิน 250 มิลลิลิตร สันนิษฐานว่ามีไว้จำหน่าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2545 มาตรา 7 (3) บัญญัติว่า ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 คือ ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า เมื่อนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มาเป็นส่วนผสมของตำรับยาแล้วไม่ว่ายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จะมีจำนวนเท่าใด ย่อมต้องถือว่าตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เป็นส่วนผสมอยู่ดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ทั้งสิ้น เช่นนี้การที่จะพิจารณาว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 จำนวนมากน้อยเพียงใดที่จะต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 181) ฯ จึงต้องถือเอาตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 นั้นเองว่า เกินจำนวน 250 มิลลิลิตร หรือ 30 เม็ด หรือ 30 แคปซูลหรือไม่ โดยเฉพาะการที่ได้กำหนดหน่วยเป็นเม็ดหรือแคปซูลด้วยยิ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นการกำหนดตามจำนวนของยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หาใช่ถือเอาตามจำนวนของโคเดอีนที่เป็นส่วนผสมอยู่ไม่ ดังนั้น เมื่อยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสมของกลาง อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 มีปริมาตร 3,500 มิลลิลิตร เกินจำนวน 250 มิลลิลิตร จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9071/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากเด็กและประเด็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีอาญา
ขณะที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำเด็กชาย ศ. ซึ่งมีอายุ 12 ปี และให้ชี้ภาพถ่ายซึ่งกระทำเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 นั้น ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ และมาตรา 133 ตรี ซึ่งเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 20)ฯ และต่อมาเฉพาะมาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง กับมาตรา 133 ตรี แก้ไขโดยมาตรา 5 และ 6 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 26)ฯ ยังมิได้ใช้บังคับ ดังนี้การถามปากคำเด็กชาย ศ. และชี้ภาพถ่ายคนร้าย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ของพนักงานสอบสวนโดยมิได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำจึงเป็นไปโดยชอบ ส่วนการชี้ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ก็เป็นเพียงการชี้ภาพถ่ายในลักษณะของการสอบสวนเพิ่มเติม มิใช่เป็นการชี้ตัวผู้ต้องหาแต่อย่างใด และแม้พนักงานสอบสวนมิได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ทั้งไม่เข้าเหตุจำเป็นเร่งด่วนตาม 133 ทวิ วรรคท้าย ก็ตาม คงมีผลเพียงทำให้คำให้การและการชี้ภาพถ่ายในชั้นสอบสวนของเด็กชาย ศ. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ จึงถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8611/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและหมิ่นประมาทจากเหตุทะเลาะวิวาท ศาลฎีกาพิพากษาว่าผิดจริง
การที่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยเห็นโจทก์ร่วมหยิบเอาเศษสร้อยคอทองคำของจำเลยไปและไปและได้แจ้งความแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีโจทก์ร่วมในข้อหาลักทรัพย์ซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ โดยจำเลยรู้ดีว่ามิได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น แต่กลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนดังกล่าวว่าได้มีการกระทำผิดข้อหาลักทรัพย์อันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่าได้มีความผิดข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น เพื่อให้โจทก์ร่วมได้รับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137, 174 วรรคสอง ประกอบมาตรา 173 นอกจากนี้ จำเลยยังมีเจตนายังมีเจตนาแจ้งความเพื่อให้โจทก์ร่วมถูกดูหมิ่นเกลียดชังและเสียชื่อเสียง จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8611/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท: การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ และการใส่ร้ายทำให้เสียชื่อเสียง
จำเลยรู้ว่ามิได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้นแต่กลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์อันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่าได้มีความผิดข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้นเพื่อให้โจทก์ร่วมได้รับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 มาตรา 174 วรรคสอง ประกอบมาตรา 173 จำเลยยังมีเจตนาแจ้งความเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ร่วมอันเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมต่อบุคคลที่สามเพื่อให้โจทก์ร่วมถูกดูหมิ่น เกลียดชังและเสียชื่อเสียง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอีกด้วย
of 11