พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด, การพิจารณาใหม่, ขยายระยะเวลาอุทธรณ์, และอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดีของโจทก์เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 141 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 แต่โจทก์ได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยตามปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ทันทีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารคำเบิกความพยานโจทก์ รายงานกระบวนพิจารณารายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พร้อมเอกสารประกอบรายงาน คำสั่งให้พิจารณาใหม่เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขอ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ ชอบที่จะรับฎีกาโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
อุทธรณ์ในส่วนที่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งเป็นคำสั่งที่แยกได้ต่างหากจากคำสั่งระหว่างพิจารณาในการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจรับไว้ดำเนินการได้
ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ทันทีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารคำเบิกความพยานโจทก์ รายงานกระบวนพิจารณารายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พร้อมเอกสารประกอบรายงาน คำสั่งให้พิจารณาใหม่เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขอ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ ชอบที่จะรับฎีกาโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
อุทธรณ์ในส่วนที่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งเป็นคำสั่งที่แยกได้ต่างหากจากคำสั่งระหว่างพิจารณาในการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจรับไว้ดำเนินการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย กรณีเหตุพิเศษและคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดีอันเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(5), 246
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า ลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลชั้นต้นต้องพิพากษาให้จำเลย ล้มละลายตามมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่ คำสั่งในระหว่างพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารรวมทั้งคำเบิกความพยาน เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขออุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลในวันดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ชอบที่จะรับอุทธรณ์ไว้ดำเนินการต่อไป
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่า ลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลชั้นต้นต้องพิพากษาให้จำเลย ล้มละลายตามมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่ คำสั่งในระหว่างพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารรวมทั้งคำเบิกความพยาน เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขออุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลในวันดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ชอบที่จะรับอุทธรณ์ไว้ดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้อง, ตั๋วแลกเงิน,เลตเตอร์ออฟเครดิต,หน้าที่ตัวแทน,การปฏิบัติหน้าที่
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ เลตเตอร์ออฟเครดิต ++
++ ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำการเป็นตัวแทนของธนาคาร ซ. โจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินที่จ่ายทดรองไปคืนจากธนาคารนั้นตามหลักเรื่องตัวการตัวแทนขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้ ดังนี้ข้อเท็จจริงที่จำเลยอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยนำเลตเตอร์ออฟเครดิตและเอกสารต่าง ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้พร้อมทั้งตั๋วแลกเงินมามอบให้โจทก์เรียกเก็บค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแทนจำเลยและขอรับเงินค่าสินค้าไปจากโจทก์ก่อน โดยโจทก์ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินและไม่ได้หักส่วนลดเงินจำนวนที่นำเข้าบัญชีกระแสรายวันให้แก่จำเลยตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์หักเพียงค่าอากรแสตมป์และค่าไปรษณียากรเท่านั้น ดังนั้น ตั๋วแลกเงินจึงเป็นเพียงเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารตัวแทนผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีจึงเป็นเรื่องที่พิพาทกันเกี่ยวกับเงินค่าสินค้าจำนวนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งโจทก์ได้จ่ายทดรองให้แก่จำเลยไปก่อน แม้โจทก์เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินและโจทก์เป็นผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวก็ตาม ข้อความและการสลักหลังดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยผู้ส่งสินค้า โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามกฎหมาย
การที่โจทก์จ่ายเงินล่วงหน้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยไปก่อนและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่
โจทก์ได้แจ้งเหตุขัดข้องที่รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้เพื่อให้จำเลยดำเนินการแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแล้ว การกระทำของโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างร้ายแรง
++ ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำการเป็นตัวแทนของธนาคาร ซ. โจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินที่จ่ายทดรองไปคืนจากธนาคารนั้นตามหลักเรื่องตัวการตัวแทนขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้ ดังนี้ข้อเท็จจริงที่จำเลยอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยนำเลตเตอร์ออฟเครดิตและเอกสารต่าง ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้พร้อมทั้งตั๋วแลกเงินมามอบให้โจทก์เรียกเก็บค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแทนจำเลยและขอรับเงินค่าสินค้าไปจากโจทก์ก่อน โดยโจทก์ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินและไม่ได้หักส่วนลดเงินจำนวนที่นำเข้าบัญชีกระแสรายวันให้แก่จำเลยตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์หักเพียงค่าอากรแสตมป์และค่าไปรษณียากรเท่านั้น ดังนั้น ตั๋วแลกเงินจึงเป็นเพียงเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารตัวแทนผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีจึงเป็นเรื่องที่พิพาทกันเกี่ยวกับเงินค่าสินค้าจำนวนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งโจทก์ได้จ่ายทดรองให้แก่จำเลยไปก่อน แม้โจทก์เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินและโจทก์เป็นผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวก็ตาม ข้อความและการสลักหลังดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยผู้ส่งสินค้า โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามกฎหมาย
การที่โจทก์จ่ายเงินล่วงหน้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยไปก่อนและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่
โจทก์ได้แจ้งเหตุขัดข้องที่รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้เพื่อให้จำเลยดำเนินการแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแล้ว การกระทำของโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนและการสละประเด็นค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุ ดังนั้นโดยนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 206, 224 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่โจทก์ผิดนัดได้ แต่เมื่อมีคำท้ากันคู่ความมิได้กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไว้ด้วย จึงถือได้ว่าได้ตกลงกันสละประเด็นในส่วนนี้ไปแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยได้เฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายตามคำท้าเท่านั้น จะพิพากษาให้โจทก์รับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันฟ้องย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอและนอกคำท้า
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141(5), 167 บัญญัติให้ศาลสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคำพิพากษาทุกเรื่อง ฉะนั้นไม่ว่าคู่ความจะมีคำร้องขอเกี่ยวด้วยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ก็ตามศาลต้องวินิจฉัยอยู่แล้ว ที่ศาลพิพากษาตามยอม แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนจำเลยจึงไม่เกินคำขอหรือคำท้าที่คู่ความได้ตกลงท้ากันไว้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141(5), 167 บัญญัติให้ศาลสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคำพิพากษาทุกเรื่อง ฉะนั้นไม่ว่าคู่ความจะมีคำร้องขอเกี่ยวด้วยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ก็ตามศาลต้องวินิจฉัยอยู่แล้ว ที่ศาลพิพากษาตามยอม แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนจำเลยจึงไม่เกินคำขอหรือคำท้าที่คู่ความได้ตกลงท้ากันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายติดจำนอง: ศาลพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาเดิม แม้มีสัญญาซื้อขายใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลย ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาท ระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วม ถือไม่ได้ว่าจำเลยกล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินและบ้านพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาใน ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้จะซื้อจะชำระให้แก่โจทก์ร่วมผู้จะขายเป็นงวด ๆ ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน ส่วนราคาบ้านและที่ดินที่ยังคงต้องผ่อนชำระกับธนาคารอยู่นั้นจำเลยผู้จะซื้อจะเป็นผู้ผ่อนชำระกับธนาคารเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้จะขายเลย ในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำไว้ทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว และหากผู้จะขายผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะขายยอมคืนเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อชำระไว้ให้แก่ผู้จะซื้อ เมื่อกรณีที่สัญญากำหนดให้จำเลยเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้จำนองที่ดิน และบ้านพิพาทกับธนาคารแทนโจทก์ร่วม เป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยติดจำนองไปด้วย ดังนี้ การที่จำเลยมีภาระจะต้องผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารผู้รับจำนองจึงเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับธนาคาร ไม่เกี่ยวกับโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะรับว่าได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพียง 3 ครั้ง แล้วไม่ชำระ อีกเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและ บ้านพิพาทกับโจทก์ร่วม ส่วนการที่จำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร หากทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายอย่างใด โจทก์ร่วม มีสิทธิ ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย นั้นให้แก่โจทก์ร่วมได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแต่มิได้พิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ - การพิพากษาค่าฤชาธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง
คดีนี้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยทั้งสอง 6,000 บาท โดยไม่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 141(5) และ 167 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างจากการจัดทำโครงการบ้านจัดสรร และความถูกต้องของคำพิพากษาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
คดีนี้จำเลยที่2อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยทั้งสอง6,000บาทโดยไม่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141(5)และ167วรรคหนึ่งศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโมฆะ: เจตนาหลอกลวงในการเลิกภาระจำยอมเพื่อจำนองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยเคยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาจำเลยปิดกั้นไม่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินออกไปสู่ถนนสาธารณะและนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามเดิม เพราะการที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมนั้นเป็นการช่วยเหลือโจทก์ให้นำที่ดินไปจำนองแก่ธนาคารโดยไม่มีเจตนาที่จะยกเลิกภาระจำยอมกันอย่างแท้จริง แม้โจทก์จะไม่บรรยายฟ้องว่าทางภาระจำยอมกว้างยาวเท่าใด เครื่องสูบน้ำอยู่บริเวณใด ก็เป็นเพียงรายละเอียด เพราะที่ดินของจำเลยเคยจดทะเบียนตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์มาก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและวัตถุประสงค์ในการมีคูน้ำและอ่างเก็บน้ำโดยระบุว่าโจทก์จำเลยรู้ถึงวัตถุประสงค์นั้น จึงช่วยกันเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการขุดคูน้ำและทำอ่างเก็บน้ำ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นเรื่องการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในที่ดินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ไว้ด้วย จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องนั้นมีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้โจทก์เกิดสิทธิในการใช้น้ำในสถานที่ดังกล่าวโดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางบ้างหรือไม่ หากมีบัญญัติไว้ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาปรับบทแก่คดีของโจทก์ได้ ไม่จำเป็นที่ศาลจะพิพากษาให้สิทธิโจทก์เฉพาะบทกฎหมายที่โจทก์อ้างเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา141 (5) และมาตรา 142
โจทก์และจำเลยตกลงให้มีการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนน และสร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินของจำเลยตามที่ จ.แนะนำโดยประสงค์จะให้บุตรทุกคนที่ จ.แบ่งปันที่ดินให้ มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรมในที่ดินของตน โดยให้บุตรทุกคนที่ได้รับแบ่งปันที่ดินเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายตามส่วนที่ได้รับที่ดิน จำเลยก็ร่วมเฉลี่ยออกค่าจ้างด้วย จนการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนน และสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวแล้วเสร็จ แสดงว่าจำเลยรับรู้เจตนาของ จ.และยอมรับการกระทำของ จ.จึงมีผลเท่ากับโจทก์และจำเลยยอมรับกันโดยปริยายว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสิทธิใช้น้ำจากคูน้ำและอ่างเก็บน้ำตลอดระยะเวลาที่โจทก์และจำเลยทำเกษตรกรรมในที่ดินของตนตลอดไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิห้ามโจทก์ใช้น้ำดังกล่าว
การจดทะเบียนเลิกภาระจำยอมเป็นไปเพื่อช่วยเหลือโจทก์ให้สามารถนำที่ดินของโจทก์ไปจำนองแก่ธนาคารได้เท่านั้น จึงเชื่อได้ว่ามิใช่มีเจตนาจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมเนื่องจากจะให้ภาระจำยอมสิ้นไปหรือโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ให้มีภาระจำยอมอีกต่อไปเพราะภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การจดทะเบียนเลิกภาระจำยอมด้วยเจตนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยกันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ
ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและวัตถุประสงค์ในการมีคูน้ำและอ่างเก็บน้ำโดยระบุว่าโจทก์จำเลยรู้ถึงวัตถุประสงค์นั้น จึงช่วยกันเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการขุดคูน้ำและทำอ่างเก็บน้ำ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นเรื่องการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในที่ดินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ไว้ด้วย จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องนั้นมีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้โจทก์เกิดสิทธิในการใช้น้ำในสถานที่ดังกล่าวโดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางบ้างหรือไม่ หากมีบัญญัติไว้ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาปรับบทแก่คดีของโจทก์ได้ ไม่จำเป็นที่ศาลจะพิพากษาให้สิทธิโจทก์เฉพาะบทกฎหมายที่โจทก์อ้างเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา141 (5) และมาตรา 142
โจทก์และจำเลยตกลงให้มีการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนน และสร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินของจำเลยตามที่ จ.แนะนำโดยประสงค์จะให้บุตรทุกคนที่ จ.แบ่งปันที่ดินให้ มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรมในที่ดินของตน โดยให้บุตรทุกคนที่ได้รับแบ่งปันที่ดินเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายตามส่วนที่ได้รับที่ดิน จำเลยก็ร่วมเฉลี่ยออกค่าจ้างด้วย จนการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนน และสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวแล้วเสร็จ แสดงว่าจำเลยรับรู้เจตนาของ จ.และยอมรับการกระทำของ จ.จึงมีผลเท่ากับโจทก์และจำเลยยอมรับกันโดยปริยายว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสิทธิใช้น้ำจากคูน้ำและอ่างเก็บน้ำตลอดระยะเวลาที่โจทก์และจำเลยทำเกษตรกรรมในที่ดินของตนตลอดไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิห้ามโจทก์ใช้น้ำดังกล่าว
การจดทะเบียนเลิกภาระจำยอมเป็นไปเพื่อช่วยเหลือโจทก์ให้สามารถนำที่ดินของโจทก์ไปจำนองแก่ธนาคารได้เท่านั้น จึงเชื่อได้ว่ามิใช่มีเจตนาจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมเนื่องจากจะให้ภาระจำยอมสิ้นไปหรือโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ให้มีภาระจำยอมอีกต่อไปเพราะภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การจดทะเบียนเลิกภาระจำยอมด้วยเจตนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยกันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ
ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยปริยาย-สัญญาต่างตอบแทน-เจตนาหลอกลวง-การจดทะเบียนเลิกภารจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยเคยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำและทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาจำเลยปิดกั้นไม่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดิน ขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินออกไปสู่ถนนสาธารณะและนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามเดิม เพราะการที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมนั้นเป็นการช่วยเหลือโจทก์ให้นำที่ดินไปจำนองแก่ธนาคารโดยไม่มีเจตนาที่จะยกเลิกภารจำยอมกันอย่างแท้จริงแม้โจทก์จะไม่บรรยายฟ้องว่าทางภารจำยอมกว้างยาวเท่าใดเครื่องสูบน้ำอยู่บริเวณใด ก็เป็นเพียงรายละเอียด เพราะที่ดินของจำเลยเคยจดทะเบียนตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์มาก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและวัตถุประสงค์ในการมีคูน้ำและอ่างเก็บน้ำโดยระบุว่าโจทก์จำเลยรู้ถึงวัตถุประสงค์นั้น จึงช่วยกันเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการขุดคูน้ำและทำอ่างเก็บน้ำ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นเรื่องการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในที่ดินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ไว้ด้วย จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องนั้นมีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้โจทก์เกิดสิทธิในการใช้น้ำในสถานที่ดังกล่าวโดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางบ้างหรือไม่ หากมีบัญญัติไว้ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาปรับบทแก่คดีของโจทก์ได้ ไม่จำเป็นที่ศาลจะพิพากษาให้สิทธิโจทก์เฉพาะบทกฎหมายที่โจทก์อ้างเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 142 โจทก์และจำเลยตกลงให้มีการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนนและสร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินของจำเลยตามที่ จ. แนะนำโดยประสงค์จะให้บุตรทุกคนที่ จ. แบ่งปันที่ดินให้ มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรมในที่ดินของตน โดยให้บุตรทุกคนที่ได้รับแบ่งปันที่ดินเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายตามส่วนที่ได้รับที่ดินจำเลยก็ร่วมเฉลี่ยออกค่าจ้างด้วย จนการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนนและสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวแล้วเสร็จ แสดงว่าจำเลยรับรู้เจตนาของ จ. และยอมรับการกระทำของ จ. จึงมีผลเท่ากับโจทก์และจำเลยยอมรับกันโดยปริยายว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสิทธิใช้น้ำจากคูน้ำและอ่างเก็บน้ำตลอดระยะเวลาที่โจทก์และจำเลยทำเกษตรกรรมในที่ดินของตนตลอดไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิห้ามโจทก์ใช้น้ำดังกล่าว การจดทะเบียนเลิกภารจำยอมเป็นไปเพื่อช่วยเหลือโจทก์ให้สามารถนำที่ดินของโจทก์ไปจำนองแก่ธนาคารได้เท่านั้นจึงเชื่อได้ว่า มิใช่มีเจตนาจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมเนื่องจากจะให้ภารจำยอมสิ้นไปหรือโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ให้มีภารจำยอมอีกต่อไปเพราะภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การจดทะเบียนเลิกภารจำยอมด้วยเจตนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยกันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก กรณีศาลล่างวินิจฉัยแล้ว และประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม
ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสามเป็นค่าเสียหายที่แต่ละคนได้รับแม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา แต่จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องต้องถือตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน โจทก์ที่ 3 เรียกค่าเสียหาย 30,000 บาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสามสูงเกินไปนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ส. คนขับรถลูกจ้างโจทก์ที่ 1 ขับรถโดยประมาท โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้องแย้งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งมีจำนวนเพียง 22,500 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของ ส. จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายตามฟ้องแย้ง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบว่า คนขับรถของโจทก์ที่ 1 ประมาทอย่างไรที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยในผล พิพากษายืนเช่นนี้ แม้ศาลล่างทั้งสองจะมิได้พิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แต่ก็พอแปลจากคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ว่า ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2ในข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก.