คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทนายความปลอมและละเมิดอำนาจศาล ผู้สั่งการมีความผิดฐานใช้ผู้อื่นกระทำความผิด
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ใช้ชื่อของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เป็นทนายความ และให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความเป็นชื่อของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 แม้จะไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ได้กระทำเช่นนั้นในบริเวณศาลอันจะถือว่าเป็นตัวการ แต่ก็ถือเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 จึงมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.อ. มาตรา 17 และ 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: สิทธิทนายความ-เงินรางวัล: กฎหมายพิเศษ-ไม่ต้องใช้ ป.วิ.อ. มาตรา 173
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยการไต่สวนและไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับได้ ศาลจึงไม่จำต้องสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเรื่องทนายความและตั้งทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหาตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลชั้นต้นตั้งทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลดังเช่นคดีอาญาทั่วไป และคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมไม่ได้ออกระเบียบให้ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่าย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทนายความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390-7391/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและการละเมิดอำนาจศาล ศาลมีอำนาจพิจารณาและชี้ขาดโดยเฉพาะ
การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เป็นอำนาจของศาลที่จะทำไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่า มิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำต้องไต่สวน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลย่อมเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุมีจะเรียก ว. มาสอบถามและหากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจาก ว. โจทก์ร่วมชอบที่จะไปดำเนินคดีต่างหากก่อน ถือได้ว่าศาลชั้นต้นชี้ขาดในเรื่องการละเมิดอำนาจศาลแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายอันจะมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14822/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดอำนาจศาล: ผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์หากศาลไม่พบหลักฐานการละเมิด
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้น เป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลย่อมเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งหมดที่ปรากฏต่อศาลแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานของผู้ร้องฟังไม่ได้ว่ามีการละเมิดอำนาจศาลเกิดขึ้นอย่างใด จึงให้ยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ดังนั้น ผู้ร้องย่อมมิใช่ผู้เสียหายอันจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8912/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดอำนาจศาล: การออกข้อกำหนดโดยศาลต้องมีเหตุผลและชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) ประกอบ มาตรา 30 การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใดๆ ตามมาตรา 30 ได้จะต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 ประการ คือ ออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วประการหนึ่ง และออกข้อกำหนดใดๆ โดยสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรประการที่สอง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลหรือมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรทั้งสองประการตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) ตามภาพถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาเอกสารหมาย ผ.1 นั้นก็ไม่ใช่การออกข้อกำหนดตามมาตรา 30 ดังนี้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 จะนำเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงที่คัดลอกสำเนาจากเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงหมาย ร.35 และ ร.36 ไปให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เปิดเผยหรือไม่ ก็ไม่ทำให้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 30 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
อนึ่ง ปัญหาที่ว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) จะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลหรือไม่นั้น ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัย จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8005/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: คำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลที่มีลักษณะดูหมิ่นผู้พิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ยอมรับสมุดบันทึกและกระดาษบันทึกที่มีลายมือเขียนของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับพินัยกรรมเป็นการสั่งไปตามอำนาจหน้าที่ การที่โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้าน ระบุว่าศาลไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด คำสั่งหรือการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแผนขั้นตอนหรือวิธีการโดยไม่สุจริตเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนรังเกียจโจทก์ไม่พอใจโจทก์ ดังนี้เป็นการดูหมิ่นผู้พิพากษาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) แม้ต่อมาโจทก์จะยื่นคำแถลงขอถอนคำแถลงคัดค้าน ก็ไม่ทำให้คำแถลงคัดค้านหมดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7988/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนละเมิดอำนาจศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ผู้กล่าวหาร้องเรียนว่าผู้ถูกกล่าวหาอ้างตนเป็นทนายความและเรียกรับเงินจากผู้กล่าวหาประมาณ 7,000 บาท เพื่อจะนำไปให้พนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม เพื่อช่วยเหลือทางคดีแก่ ย. บุตรของผู้กล่าวหา กรณีดังกล่าวเป็นการกล่าวหาว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยที่มิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจำต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริงก่อน การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเดชอุดมสอบถามปากคำผู้กล่าวหาแล้วนำคำบอกเล่าดังกล่าวมารับฟังลงโทษผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่าผู้กล่าวหาได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 (เดิม) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบกับผู้ถูกกล่าวหาฎีกาโต้เถียงทำนองว่า ถ้อยคำของผู้กล่าวหาฟังไม่ได้ โดยอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหาในฐานะเสมียนทนายความเรียกเงินจากผู้กล่าวหาสืบเนื่องจาก ส. ทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหาไปเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีจากผู้กล่าวหา โดยไม่ได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล และไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาจะนำเงินไปให้ผู้พิพากษาเพื่อเป็นอามิสสินจ้างในการดำเนินคดี ดังนี้ ถ้อยคำของผู้กล่าวหาจึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นได้ไต่สวน ท. และ ข. ก็ตาม แต่ ท. และ ข. มิใช่ผู้กล่าวหาในคดีนี้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางกระบวนการยุติธรรม: การกระทำของทนายความ พี่ชายจำเลย และผู้ใหญ่บ้าน ที่มีผลต่อการพิจารณาคดี
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 รับผู้กล่าวหาทั้งสองไปศาลและพากลับจากศาลโดยทราบดีว่าผู้กล่าวหาทั้งสองไปศาลเพื่อเบิกความต่อศาลตามหมายเรียก โดยไม่ให้ผู้กล่าวหาทั้งสองเบิกความต่อศาลตามหมายเรียก จึงเป็นการร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และที่ 3 ขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล อันเข้าลักษณะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลซึ่งถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1)
ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ที่ว่า สถานที่ที่เกิดเหตุมิใช่บริเวณศาลเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งหยิบยกขึ้นมาว่ากล่าวในภายหลังซึ่งขัดแย้งกับคำรับสารภาพผิดของผู้ถูกกล่าวที่ 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ที่ว่า องค์คณะของผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีและพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะรายชื่อผู้พิพากษาในองค์คณะพิจารณาคดีและพิพากษาคดีเป็นรายชื่อผู้พิพากษาคนละองค์คณะกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง และถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4 ได้ร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 พี่ชายจำเลยและผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ทนายความของจำเลยกระทำการขัดขวางการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลด้วยการพาและบอกให้ผู้กล่าวหาทั้งสองซึ่งมาศาลในวันนัดตามหมายเรียกแล้วกลับบ้าน เพื่อมิให้ผู้กล่าวหาทั้งสองเบิกความเป็นพยานต่อศาล โดยมีเจตนาเพื่อจะช่วยให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นข้อเท็จจริงในสาระสำคัญที่มีลักษณะเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเรื่องมีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่ผู้ถูกกล่วหาที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 หรือไม่ ไปพร้อมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินในบริเวณศาล ถือเป็นประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
หลังจากที่ผู้กล่าวหาได้ตกลงว่าจ้างผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาบอกว่าจะติดต่อวิ่งเต้นคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ให้และได้ติดต่อแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้เบื้องบน 200,000 บาท ผู้กล่าวหาตกลงและนัดให้ไปรับมอบเงินที่บ้านของผู้กล่าวหา เมื่อผู้ถูกกล่าวหารับเงินดังกล่าวไปแล้ว ผลปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ผู้กล่าวหาจึงทวงเงินคืนหลายครั้งเคยมาติดตามทวงคืนในบริเวณศาล 3 ครั้ง แม้การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีจะมิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล แต่ได้มีการติดต่อทวงถามคืนเงินในบริเวณศาลและมีการมอบเงินคืนที่บริเวณโรงรถของศาลกระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ยื่นเอกสารปลอมประกันตัว ย่อมเป็นความผิด
ผู้ถูกกล่าวหายื่นคำร้องขอปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นโดยนำหนังสือมอบอำนาจและหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินซึ่งเป็นเอกสารปลอมมายื่นต่อศาลชั้นต้นประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราว เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาล เจ้าของหลักทรัพย์ ตลอดจนจำเลย ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 180
of 9