คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 31

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การข่มขู่พยานในบริเวณศาลเป็นความผิดในตัว แม้ไม่มีข้อกำหนดศาลก่อน
ป.วิ.พ.มาตรา 30 เป็นเรื่องที่ศาลจะออกข้อกำหนดใดแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดี หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล แต่ความผิดมาตรา 31 (1) ฐานประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดในตัว ศาลไม่ต้องออกข้อกำหนดก่อน และการที่ผู้ถูกกล่าวหาพูดข่มขู่จะทำอันตรายต่อชีวิตผู้กล่าวหาก่อนที่ผู้กล่าวหาจะเข้าเบิกความเป็นพยานในคดีอาญา โดยข่มขู่ในบริเวณศาลก็ถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเพียงพอที่จะถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 31 (1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการไต่สวนละเมิดอำนาจศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานโดยชอบธรรม การสอบปากคำไม่เพียงพอ
การกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลโดยที่มิได้กระทำต่อหน้าศาลและผู้กล่าวหาให้การปฏิเสธ ศาลจำต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริงก่อน การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบปากคำ ด. และผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่า ด. ได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 ดังนี้ ถ้อยคำ ด. จึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การปลอมเอกสารคำสั่งศาลต้องเกิดขึ้นในบริเวณศาลจึงจะถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นในการปลอมเอกสารสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่การปลอมสำเนาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล แม้จะมุ่งหมายให้เกิดผลเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และบุคคลทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นคำสั่งของศาลที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่อาจนำลำพังความมุ่งหมายให้เกิดผลดังกล่าวมาถือเป็นข้อชี้ขาดว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1),33 จึงไม่อาจลงโทษผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ฐานละเมิดอำนาจศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลและละเลยการส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยละเมิดอำนาจศาล
การที่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล แต่มารับเงินค่าปรับจากจำเลยเองแทนศาลเช่นนี้ เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ และจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้โดยง่าย เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. ไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจฯ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อราชการและศาลชั้นต้น จึงไม่รอการลงโทษ
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. ไปกักขังที่สถานีตำรวจฯ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังดังกล่าวมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น แต่มิได้เอาหมายกักขังดังกล่าวไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหากรณี ป. ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลแล้วไม่นำชำระ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหารับเงินค่าปรับจากจำเลยแทนศาล เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลไม่ว่าจะทุจริตหรือไม่ เมื่อเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับ ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. จำเลยไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1)
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. จำเลยไปกักขังที่สถานีตำรวจ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้นแต่มิได้เอาหมายกักขังไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาใช้เอกสารปลอม - ละเมิดอำนาจศาล - ชาวบ้านลงชื่อโดยไม่รู้เห็น
หลังจากผู้ถูกกล่าวหาได้รับการชักชวนจาก ส. ให้นำหลักทรัพย์ที่เป็นโฉนดที่ดินไปใช้ขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ศาลแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาได้ไปขอออกหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินทั้งสองแปลงเพื่อนำไปใช้ในเรื่องการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แต่เอกสารทั้งหมดผู้ถูกกล่าวหาได้มอบให้ ส. ไป แม้จะปรากฏว่าในครั้งแรกผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหารายใดได้ ก็ไม่ปรากฏสาเหตุที่แน่ชัดว่าเนื่องมาจากหลักทรัพย์ของตนมีราคาต่ำเกินไปหรือไม่ อันอาจทำให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนรู้เห็นในการใช้หนังสือรับรองราคาประเมินปลอมในการขอให้ปล่อยชั่วคราวในครั้งต่อไป แต่กลับปรากฏว่าในการขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยครั้งเกิดเหตุนี้ มีชายคนหนึ่งเขียนรายละเอียดในเอกสารที่เป็นแบบพิมพ์และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงชื่อในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวและบัญชีทรัพย์ ผู้ถูกกล่าวหามีอาชีพทำนา อายุ 57 ปี เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาอาจจะไม่ได้ตรวจดูเอกสารให้ถี่ถ้วนก็ได้ จึงน่าเชื่อว่าก่อนมีการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวได้มีคนบอกให้ผู้ถูกกล่าวหาลงชื่อจริง ซึ่งการลงชื่อของผู้ถูกกล่าวหาก็คงหวังเพียงผลประโยชน์ตอบแทนในการที่นำหลักทรัพย์ของตนมาใช้ขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยผู้ถูกกล่าวหาไม่ทราบว่าหนังสือรับรองราคาประเมินเป็นเอกสารปลอมการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงขาดเจตนาในการใช้หนังสือรับรองราคาประเมินปลอมยื่นต่อศาลชั้นต้น จึงไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีเนื้อหาก้าวร้าว และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล
การที่ศาลจะอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 ต้องประกอบด้วยผู้ขอเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมและต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ก็ย่อมมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้โดยไม่จำต้องไต่สวนเรื่องอนาถา สำหรับเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ได้หรือไม่อาจตรวจดูได้จากคำฟ้องอุทธรณ์ที่ต้องยื่นมาพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งเป็นอำนาจตามบทบัญญัติมาตรา 18 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีข้อความก้าวร้าว ดูหมิ่น เสียดสีศาล ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้อุทธรณ์แก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์หรือให้ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ได้ โดยไม่จำต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ก่อน
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์และผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ซึ่งเป็นทนายโจทก์ร่วมกันนำคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยในคำฟ้องอุทธรณ์มีข้อความว่า ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงอันเป็นนวนิยายที่จำเลยที่ 1 ผูกเรื่องแต่งขึ้น เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชน การพิจารณาของศาลชั้นต้นโน้มเอียงเชื่อจำเลยทั้งหมดโดยไม่ได้พิจารณาตามเหตุผล ขาดทั้งวิจารณญาณขาดสามัญสำนึก ไม่เข้าใจในความละเอียดอ่อนของเรื่องครอบครัวพิจารณาคดีโดยขาดจริยธรรม บิดเบือนข้อเท็จจริงจากที่โจทก์นำสืบผู้หญิงทุกคนเมื่อแต่งงานแล้วต้องอยู่กินแบบผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้น ไม่มีใครต้องการให้สามีไปมีใหม่ ถามภริยาท่านผู้พิพากษาคนไหนดูก็ได้ว่าจะยอมหรือไม่และไปสู่ขอให้ด้วย เป็นข้อความที่ไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องอุทธรณ์แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองมีเจตนาที่จะก้าวร้าว ดูหมิ่น เสียดสีศาล ถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ย่อมเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความปฏิบัติหน้าที่หลังถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ถือละเมิดอำนาจศาล
คณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 แล้วย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44(4) ทันทีแม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความได้แต่การอุทธรณ์ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9738/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดด้วยความจำเป็นและการละเมิดอำนาจศาล ผู้กระทำต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์บังคับหรือเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นตาม ป.อ. มาตรา 67 แบ่งออกเป็น 2 ประการ ประการแรกเป็นความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับซึ่งการบังคับหรือบงการให้กระทำที่เป็นความผิดนั้นมาจากภายนอก ผู้ถูกบังคับมิได้คิดริเริ่มกระทำการนั้นขึ้นด้วยใจตนเอง แต่เป็นเพราะไม่มีทางที่จะทำอย่างอื่นใด อีกประการหนึ่งก็คือเป็นความจำเป็นซึ่งไม่มีการบังคับหรือบงการให้กระทำแต่มีภยันตรายที่จะต้องหลีกเลี่ยงและผู้กระทำเลือกหลีกเลี่ยงภยันตรายโดยวิธีกระทำการอันเป็นความผิดด้วยความคิดริเริ่มของตน แม้อาจทำอย่างอื่นได้ แต่การกระทำอย่างอื่นนั้นก็ยังทำความเสียหายแก่ผู้อื่นอยู่นั่นเอง ดังนั้น การกระทำด้วยความจำเป็นตาม ป.อ. มาตรา 67 อันเป็นมูลเหตุแห่งการยกเว้นโทษจึงไม่ใช่สิทธิ แต่เป็นการกระทำที่ไม่ใช่การกระทำโดยผู้กระทำมีจิตใจเป็นอิสระ แต่กระทำโดยถูกผู้อื่นหรือเหตุการณ์อื่นบังคับอีกชั้นหนึ่ง
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่โจทก์อ้างถึงในคดีสูญหายไปจากสำนวนความของศาล ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาได้นำเอกสารเหล่านั้นมามอบคืนศาลชั้นต้น โดยผู้ถูกกล่าวหาเมื่อได้รับเอกสารดังกล่าวคืนมาแล้วยังคงเก็บเอกสารดังกล่าวไว้อีก 2 ถึง 3 วัน โดยไม่นำมาส่งคืนศาล และการเก็บเอกสารเช่นว่านั้นก็มิได้รับอนุญาตจากศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาหาใช่เป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ การกระทำของผู้กล่าวหาจึงมิใช่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นอันจะทำให้ไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9301/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลต้องเกิดขึ้นในศาลชั้นต้นเท่านั้น การกระทำหลังมีคำพิพากษาไม่ถือเป็นละเมิดอำนาจศาล
จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เข้ามายอมรับว่าเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนผู้ตายแทนผู้อื่น เพื่อประโยชน์ที่บิดามารดาของผู้ตายจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้น อันถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยจะได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9จะลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลได้
of 9