พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งงดไต่สวนมูลฟ้อง, ความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนทางวินัย, และการมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา
ในศาลชั้นต้นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องไว้แล้ว เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่อ้างได้ การไต่สวนมูลฟ้องต่อไปไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนย่อมมีอำนาจสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องได้ หาเกี่ยวกับอำนาจบังคับบัญชาไม่
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำลายหลักฐานเพื่อช่วยตนเอง ไม่ถือว่าช่วยผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 184
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อเจ้าพนักงานไปที่บ้านจำเลยทั้งสองเพื่อตรวจค้นจับกุม จำเลยที่ 1 รับห่อเฮโรอีนจากจำเลยที่ 2 แล้วโยนทิ้งในทันทีดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดหลักฐานเกี่ยวกับความผิดได้ที่ตนเป็นการกระทำด้วยเจตนาเพื่อช่วยตนเองแม้จำเลยที่ 2 อาจจะได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีความผิดฐานทำให้เสียหายทำลายพยานหลักฐานในการกระทำความผิดเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา184
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำลายหลักฐานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ไม่ถือว่าช่วยเหลือผู้อื่น
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อเจ้าพนักงานไปที่บ้านจำเลยทั้งสองเพื่อตรวจค้นจับกุม จำเลยที่ 1 รับห่อเฮโรอีนจากจำเลยที่ 2 แล้วโยนทิ้งในทันที ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดหลักฐานเกี่ยวกับความผิดได้ที่ตน เป็นการกระทำด้วยเจตนาเพื่อช่วยตนเอง แม้จำเลยที่ 2 อาจจะได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีความผิดฐานทำให้เสียหายทำลายพยานหลักฐานในการกระทำความผิด เพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องจำเลยในคดีอาญาและการลงโทษกรรมเดียวฐานความผิดหลายบท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232 ที่บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานนั้น หมายถึงห้ามโจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานของโจทก์เท่านั้น ฉะนั้นถึงแม้ร้อยเอกจุลจะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสามมาก่อนศาลก็ได้สั่งให้แยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ร้อยเอกจุลเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงอ้างร้อยเอกจุลเป็นพยานได้โดยขณะที่ร้อยเอกจุลเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ ร้อยเอกจุลมิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้กระทำผิด ได้ทราบแล้วว่านายเซ่งเป็นคนยิงนายชาญตาย แต่ไม่ทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200 ทั้งยังร่วมกันขนย้ายศพนายชาญผู้ตายไปทิ้งเพื่อปิดบังการตายอันเป็นความผิดตาม มาตรา 199 นอกจากนี้ยังร่วมกันโกยเลือดนายชาญไปทิ้งที่อื่นอันเป็นความผิดฐานทำลายพยานหลักฐานในการกระทำผิดตามมาตรา 184 เช่นนี้ แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามจะเป็นการกระทำหลายอย่าง แต่ก็ด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือเพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้กระทำผิด ได้ทราบแล้วว่านายเซ่งเป็นคนยิงนายชาญตาย แต่ไม่ทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200 ทั้งยังร่วมกันขนย้ายศพนายชาญผู้ตายไปทิ้งเพื่อปิดบังการตายอันเป็นความผิดตาม มาตรา 199 นอกจากนี้ยังร่วมกันโกยเลือดนายชาญไปทิ้งที่อื่นอันเป็นความผิดฐานทำลายพยานหลักฐานในการกระทำผิดตามมาตรา 184 เช่นนี้ แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามจะเป็นการกระทำหลายอย่าง แต่ก็ด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือเพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างพยานในคดีอาญา และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 232 ที่บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานนั้น หมายถึงห้ามโจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานของโจทก์เท่านั้น ฉะนั้นถึ้งแม้ร้อยเอกจุลจะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสามมาก่อน ศาลก็ได้สั่งให้แยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ร้อยเอกจุลเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงอ้างร้อยเอกจุลเป็นพยานได้ โดยขณะที่ร้อยเอกจุลเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ ร้อยเอกจุลมิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้กระทำผิด ได้ทราบแล้วว่านายเซ่งเป็นคนยิงนายชาญตาย แต่ไม่ทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 200 ทั้งยังร่วมกันขนย้ายศพนายชาญผู้ตายไปทิ้งเพื่อปิดบังการตายอันเป็นความผิดตามมาตรา 199 นอกจากนี้ยังร่วมกันโกยเลือดนายชาญไปทิ้งที่อื่นอันเป็นความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาานในการกระทำผิดตาม มาตรา 184 เช่นนี้ แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามจะเป็นการกระทำหลายอย่าง แต่ก็ด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือ เพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้กระทำผิด ได้ทราบแล้วว่านายเซ่งเป็นคนยิงนายชาญตาย แต่ไม่ทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 200 ทั้งยังร่วมกันขนย้ายศพนายชาญผู้ตายไปทิ้งเพื่อปิดบังการตายอันเป็นความผิดตามมาตรา 199 นอกจากนี้ยังร่วมกันโกยเลือดนายชาญไปทิ้งที่อื่นอันเป็นความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาานในการกระทำผิดตาม มาตรา 184 เช่นนี้ แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามจะเป็นการกระทำหลายอย่าง แต่ก็ด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือ เพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา มาตรา 142: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง
ฮ. ใช้ปืนยิงป.และ ว.ตายจ่าสิบตำรวจ ส. ได้รับแจ้งความแล้วไปยังที่เกิดเหตุในระหว่างทางพบจำเลยที่ 1, 2 และ ฮ. จึงถามจำเลยที่ 1 ว่าปืนที่ ฮ. ใช้ยิง ป. และ ว. นั้นอยู่กับใคร จำเลยที่ 1 ว่าอยู่กับจำเลยที่ 3 จ่าสิบตำรวจ ส. บอกจำเลยที่ 1ให้เก็บปืนไว้ด้วยเมื่อจ่าสิบตำรวจ ส. มอบตัว ฮ. ที่สถานีตำรวจ แล้วกลับไปที่เกิดเหตุเพื่อยึดปืนเป็นของกลาง ถามจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ว่าเมื่อได้รับปืนจากจำเลยที่ 2 แล้วได้เอาไปวางไว้ที่กล่องเบียร์แล้วหายไป จ่าสิบตำรวจ ส. จึงไม่ได้ปืนนั้นมาเป็นของกลาง ดังนี้ บุตรของ ป. กับ ว.และมารดาของว. ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การช่วยเหลือจำเลยหลบหนีคดีข่มขืน และทำลายหลักฐานเพื่อ妨礙การสอบสวน
นายชุ่มบุกรุกเข้าไปในโรงนาและพยายามข่มขืนนางส้มเจียน ๆ ใช้ปืนขู่ ปืนเกิดลั่นถูกนายชุ่ม มีรอยเลือดหยดที่ในโรงนาและที่ปากประตู จำเลยมีเจตนาช่วยเหลือนายชุ่มไม่ให้ต้องได้รับโทษ ได้เอาฟางที่เปื้อนเลือดไปเผาไฟเสีย จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 184
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ ช่วยเหลือผู้ต้องสงสัย ปกปิดความจริงเกี่ยวกับอาวุธปืน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน(ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) ร่วมกันละเว้นไม่นำปืน(ของกลาง)มีทะเบียนของผู้อื่นที่ตกอยู่กับคนร้ายซึ่งถูกเจ้าทรัพย์กับพวกยิงตาย ส่งพนักงานสอบสวนตามหน้าที่ โดยทุจริต ก็เป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แล้ว ส่วนที่ยังร่วมกันกล่าวหาว่าเจ้าของปืนกระทำผิดส่งปืนนั้นให้คนร้าย ให้เจ้าของปืนหาเงินมามอบให้จำเลยและจำเลยยังได้ขูดลบเลขทะเบียนปืนเดิมออก ตอกเลขใหม่โดยว่าเพื่อจะช่วยมิให้พนักงานสอบสวนรู้ว่าปืนของกลางเป็นของเจ้าของปืน โดยความจริงจำเลยก็รู้อยู่ว่าเจ้าของปืนมิได้กระทำผิดในเรื่องคนร้ายเอาอาวุธปืนไปเลยนั้น การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เพื่อช่วยเจ้าของปืนมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลงด้วยจึงคงเป็นผิดตามมาตรา 148 และมาตรา 265 อีกเท่านั้น และไม่เป็นผิดตามมาตรา 184 และมาตรา 200