พบผลลัพธ์ทั้งหมด 360 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุบสภาฯ ทำให้ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะและให้เลือกตั้งใหม่ ระหว่างไต่สวนคำร้องได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปจึงเป็นกรณีที่ศาลฎีกาไม่สามารถสั่งให้ตามคำร้องได้ ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นคำฟ้องว่าให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้อง ถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นให้ถือว่าทิ้งฟ้อง ทั้งคำขอท้ายฟ้องมีข้อความด้วยว่า โจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว ดังนี้ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวในวันยื่นคำฟ้องแล้วไม่จำเป็นที่ศาลต้องส่งคำสั่งศาลให้โจทก์ทราบอีก และไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบด้วย เมื่อโจทก์ไม่แถลงให้ศาลทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งหมายไม่ได้ จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชั้นศาล & คำร้องต่อเนื่อง: ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณา แม้คำสั่งจำหน่ายคดีถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้อง ของ โจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์มิได้จงใจไม่นำส่งสำเนาฎีกาและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกาแล้วสั่งยกคำร้องนั้น หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าการยื่นคำร้อง ของ โจทก์ดังกล่าวเป็นการดำเนินคดีที่ต่อเนื่องกับคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกา ประกอบกับคดีมีหลักฐานพอที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่อีก ศาลฎีกาย่อมพิจารณาพิพากษาคดีไปได้ โจทก์ยื่นฎีกาแต่โจทก์ไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกามีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความศาลฎีกา คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกาที่ได้สั่งไปนั้นถึงที่สุด โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งไต่สวนและสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลฎีกาที่สั่งจำหน่ายคดีซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ทำให้ไม่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยฎีกา
การที่โจทก์ฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบทรัพย์มรดกของนางสาวผ.ให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์ฎีกาต่อไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์ ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ พ้นกำหนดโจทก์ไม่นำส่ง ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมาศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งแต่ศาลอุทธรณ์กลับพิจารณาและพิพากษาคดีไป โดยมิได้มีคำสั่งเรื่องโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243(2) จำเลยฎีกา ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาล, การฟ้องรวมกัน, ทิ้งฟ้อง, การคำนวณทุนทรัพย์, ศาลจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นได้รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจนกระทั่งจำเลยให้การและศาลนัดชี้สองสถานแล้ว จึงได้พบเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถฟ้องได้โดยลำพังตนเอง น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาล จึงได้กำหนดเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลเสียให้ถูกต้อง อันเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ไม่ใช่มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ก็เป็นการทิ้งฟ้อง ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132 และกรณีนี้ไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ตาม มาตรา 151 ในกรณีที่ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ หรือโจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องที่สามารถจะฟ้องคดีได้โดยลำพังตนเอง หากโจทก์ฟ้องรวมกันเป็นคดีเดียว ค่าขึ้นศาลต้องคำนวณตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีรวมทุนทรัพย์หลายคน ศาลคำนวณค่าขึ้นศาลรายบุคคลเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานแล้วจึงพบเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถฟ้องได้โดยลำพัง น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาลจึงกำหนดเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้อง เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) มิใช่คำสั่งตามมาตรา 18 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียได้
กรณีทิ้งฟ้องไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 151 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ดังนี้ จะต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง มิใช่เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 5 ว่าจำเลยยักย้ายทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 76,000,000 บาท ข้อ 6 ราคาทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ 8-15 รวมเป็นเงิน 52,180,000 บาท โจทก์ได้ตามข้อนี้คนละ 4,348,333.33 บาท รวมทั้งข้อ 5 ข้อ 6 โจทก์ 5 คนได้รวมกัน 97,741,666.66 บาทเห็นได้ชัดว่า โจทก์เรียกร้องมาคนละ 19,548,333.33 บาท ซึ่งโจทก์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ก) คนละ 200,000 บาท.
กรณีทิ้งฟ้องไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 151 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ดังนี้ จะต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง มิใช่เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 5 ว่าจำเลยยักย้ายทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 76,000,000 บาท ข้อ 6 ราคาทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ 8-15 รวมเป็นเงิน 52,180,000 บาท โจทก์ได้ตามข้อนี้คนละ 4,348,333.33 บาท รวมทั้งข้อ 5 ข้อ 6 โจทก์ 5 คนได้รวมกัน 97,741,666.66 บาทเห็นได้ชัดว่า โจทก์เรียกร้องมาคนละ 19,548,333.33 บาท ซึ่งโจทก์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ก) คนละ 200,000 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียก และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์มิได้นำส่งเองเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งเจ็ดและค่าป่วยการพิเศษเพื่อให้เจ้าพนักงานเดินหมายถ่ายภาพรายงานการเดินหมายส่งให้โจทก์ทราบ หากโจทก์นำส่งเอง โจทก์จะทราบผลทันทีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 6 ไม่ได้ จึงเป็นความผิดของโจทก์เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเมื่อโจทก์มิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามเวลาที่ศาลกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) แต่ตามมาตรา 132 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ โจทก์อ้างว่าได้ติดตามขอทราบผลการส่งหมายให้จำเลยที่ 6 หลายครั้ง แต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าสำนวนเสนอผู้พิพากษาทุกครั้ง และปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายไม่ได้ส่งภาพถ่ายรายงานการเดินหมายของจำเลยที่ 6 ให้โจทก์เช่นจำเลยคนอื่น ๆ ดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียก และผลกระทบต่อการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์มิได้นำส่งเองเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งเจ็ดและค่าป่วยการพิเศษเพื่อให้เจ้าพนักงานเดินหมายถ่ายภาพรายงานการเดินหมายส่งให้โจทก์ทราบ หากโจทก์นำส่งเอง โจทก์จะทราบผลทันทีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 6 ไม่ได้ จึงเป็นความผิดของโจทก์เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเมื่อโจทก์มิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามเวลาที่ศาลกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) แต่ตามมาตรา 132มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ โจทก์อ้างว่าได้ติดตามขอทราบผลการส่งหมายให้จำเลยที่ 6 หลายครั้ง แต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าสำนวนเสนอผู้พิพากษาทุกครั้ง และปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายไม่ได้ส่งภาพหถ่ายรายงานการเดินหมายของจำเลยที่ 6 ให้โจทก์เช่นจำเลยคนอื่น ๆดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและการนำส่งเอกสารฟ้องคดี ความผิดพลาดของโจทก์ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาล และดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี
โจทก์มิได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยเองตามคำสั่งศาลชั้นต้น เพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายและค่าป่วยการพิเศษเพื่อให้เจ้าพนักงานเดินหมายถ่าย ภาพรายงานการเดินหมายส่งให้โจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 6 ไม่ได้โจทก์ต้องแถลงต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ตามที่ศาลชั้นต้นสั่ง การที่โจทก์ไม่นำส่งเองจึงไม่ทราบผลทันทีที่ส่งไม่ได้เป็นความผิดของโจทก์เอง กรณีถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) แต่อำนาจจำหน่ายคดีตามมาตรา 132 เป็นดุลพินิจ ของศาล เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตามขอทราบผลการส่งหมายโดยขอดู สำนวนจากเจ้าหน้าที่ศาลหลายครั้ง แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าสำนวนเสนอผู้พิพากษาทุกครั้ง และเหตุที่เจ้าพนักงานเดินหมายไม่ได้ส่งภาพถ่ายรายงานการเดินหมายของจำเลยที่ 6 ให้โจทก์ก็เพราะมีเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานเดินหมายเอง จึงเป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6.