พบผลลัพธ์ทั้งหมด 360 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความต้องทำตามแบบฟอร์มและลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความ มิฉะนั้นถือว่ายังไม่ได้แต่งตั้ง
การตั้งทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61นั้น ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความ และตามแบบพิมพ์ใบแต่งทนายความกำหนดให้ผู้ที่รับเป็นทนายความลงลายมือชื่อไว้ในคำรับเป็น ทนายความด้วย ดังนั้น หากทนายโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความแม้ในใบแต่งทนายความโจทก์ได้ระบุชื่อทนายโจทก์เป็นทนายความของโจทก์ และทนายโจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อโจทก์ไว้แล้ว ทั้งคำรับเป็นทนายความก็ปรากฏชื่อทนายโจทก์เป็นทนายความตามใบอนุญาตที่ระบุไว้ ก็จะถือว่าทนายโจทก์ได้รับเป็นทนายความของโจทก์โดยปริยายแล้วหาได้ไม่
ตามคำฟ้องระบุว่าผู้ยื่นฟ้องรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันยื่นฟ้องให้ทนายโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ทนายโจทก์มิได้ลงชื่อรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความภายในกำหนด ก็ต้องถือว่าทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว เมื่อทนายโจทก์ไม่ลงชื่อในคำรับเป็นทนายความภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความเสียได้
ตามคำฟ้องระบุว่าผู้ยื่นฟ้องรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันยื่นฟ้องให้ทนายโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ทนายโจทก์มิได้ลงชื่อรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความภายในกำหนด ก็ต้องถือว่าทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว เมื่อทนายโจทก์ไม่ลงชื่อในคำรับเป็นทนายความภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความต้องทำตามฟอร์มและลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความ หากไม่ครบถ้วนถือว่ายังไม่ได้แต่งตั้งโดยชอบ
การตั้งทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 61นั้น ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความ และตามแบบพิมพ์ใบแต่งทนายความกำหนดให้ผู้ที่รับเป็นทนายความลงลายมือชื่อไว้ในคำรับเป็นทนายความด้วย ดังนั้น หากทนายโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความแม้ในใบแต่งทนายความโจทก์ได้ระบุชื่อทนายโจทก์เป็นทนายความของโจทก์ และทนายโจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อโจทก์ไว้แล้ว ทั้งคำรับเป็นทนายความก็ปรากฏชื่อทนายโจทก์เป็นทนายความตามใบอนุญาตที่ระบุไว้ ก็จะถือว่าทนายโจทก์ได้รับเป็นทนายความของโจทก์โดยปริยายแล้วหาได้ไม่
ตามคำฟ้องระบุว่าผู้ยื่นฟ้องรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันยื่นฟ้องให้ทนายโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ทนายโจทก์มิได้ลงชื่อรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความภายในกำหนด ก็ต้องถือว่าทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว เมื่อทนายโจทก์ไม่ลงชื่อในคำรับเป็นทนายความภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความเสียได้.
ตามคำฟ้องระบุว่าผู้ยื่นฟ้องรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันยื่นฟ้องให้ทนายโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ทนายโจทก์มิได้ลงชื่อรับเป็นทนายความในใบแต่งทนายความภายในกำหนด ก็ต้องถือว่าทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว เมื่อทนายโจทก์ไม่ลงชื่อในคำรับเป็นทนายความภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความเสียได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีโดยศาลเนื่องจากความผิดพลาดในการจดวันนัดพิจารณา และการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันที่ 8 มิถุนายน 2527 มิใช่วันที่ 8 พฤษภาคม 2527 ตามที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2527 และมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยที่โจทก์จำเลยไม่ได้ขาดนัดพิจารณาเป็นคำสั่งที่เกิดจากการผิดหลงไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบโดยผิดหลงนั้นได้ ตามมาตรา27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดพลาดเนื่องจากวันนัดสืบพยานไม่ตรงกับที่ศาลจดไว้ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ตามมาตรา 27
โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันที่ 8 มิถุนายน 2527 มิใช่วันที่ 8 พฤษภาคม 2527 ตามที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2527 และมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยที่โจทก์จำเลยไม่ได้ขาดนัดพิจารณาเป็นคำสั่งที่เกิดจากการผิดหลงไม่มีผลบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบโดยผิดหลงนั้นได้ ตามมาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแรงงานก่อนมีคำพิพากษา ทำให้คำพิพากษาในส่วนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ 11 ถอนฟ้องไปแล้วก่อนที่จะมีคำพิพากษา ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้แก่โจทก์ที่ 11 ด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ ถือเป็นการทิ้งฟ้องตามกฎหมาย
การทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246
จำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายใน 10 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์จำเลยได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยหรือผู้แทนไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้.(ที่มา-เนติ)
จำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายใน 10 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์จำเลยได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยหรือผู้แทนไม่มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรวมคดีที่ขาดผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเพื่อให้ฟ้องใหม่
โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเดียวกันโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะ ส.ผู้ตายเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 บริษัท ค.และห้าง ส.ลูกหนี้ของโจทก์ด้วย เห็นได้ชัดว่า ส.กระทำการในนามของนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันผูกพันกันเฉพาะชื่อผู้ทำการแทนคือ ส.เท่านั้น หาทำให้กิจการของนิติบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าผูกพันกันด้วยไม่ โจทก์หลายคนฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยบางรายแต่ละข้อหาและมูลคดีส่วนใหญ่แตกต่างจากกันไป โจทก์ทั้งห้าจึงหามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีพอที่จะฟ้องร่วมกันมาเป็นคดีเดียวไม่
การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาลเมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องร่วมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์
การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาลเมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องร่วมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรวมคดีที่โจทก์ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเพื่อให้ฟ้องใหม่ได้
โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเดียวกันโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะ ส.ผู้ตายเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3บริษัท ค.และห้างส.ลูกหนี้ของโจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าส.กระทำการในนามของนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันผูกพันกันเฉพาะชื่อผู้ทำการแทนคือ ส.เท่านั้น หาทำให้กิจการของนิติบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าผูกพันกันด้วยไม่ โจทก์หลายคนฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยบางรายแต่ละข้อหาและมูลคดีส่วนใหญ่แตกต่างจากกันไป โจทก์ทั้งห้าจึงหามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีพอที่จะฟ้องร่วมกันมาเป็นคดีเดียวไม่
การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาลเมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องร่วมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์.
การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาลเมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องร่วมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรวมคดีไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลจำหน่ายคดีได้ แม้โจทก์อ้างตัวแทนเดียวกัน
โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเดียวกันโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะ ส. ผู้ตายเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 บริษัท ค.และห้าง ส.ลูกหนี้ของโจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าส. กระทำการในนามของนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ผูกพันกันเฉพาะชื่อ ผู้ทำการแทนคือ ส. เท่านั้น หาทำให้กิจการของนิติบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าผูกพันกันด้วยไม่ โจทก์ดังกล่าวฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยบางรายแต่ละข้อหาและมูลคดีส่วนใหญ่แตก ต่างจากกัน โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีพอที่จะฟ้องร่วมกันมาเป็นคดีเดียว การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามป.วิ.พ. มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาล เมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องรวมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้ เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์และไม่ดำเนินการภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย และสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน วันที่ 21 มกราคม 2528 หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ พนักงานเดินหมายไปส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้ทนายโจทก์เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2528 ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2528 จำเลยยื่นคำแถลงว่าได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ทนายโจทก์แล้วแต่ส่งให้ไม่ได้ขอให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ใหม่ ซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ทราบผลการส่งสำเนาอุทธรณ์นั้นแล้ว การที่จำเลยไม่แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 กรณีเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์